ไข้หวัด หวัด โรคไข้หวัด

3 เวลาดีกินสมุนไพรต้านหวัด

หลังเป็นไข้หวัด

ทีนี้มีคนถามส้มเรื่องอาการไอช่วงระหว่างและหลังเป็นไข้หวัดมาด้วย โดยรวมแล้วการไอแบ่งง่ายๆ ได้ว่า ไอแบบมีเสมหะและไอแห้งแบบไม่มีเสมหะ

การแพทย์แผนจีนบอกไว้ว่า ถ้าอยากหายจากอาการไอแบบมีเสมหะ ต้องกำจัดเสมหะให้เหลือน้อยที่สุดก่อน เพื่อไม่ให้มีตัวกระตุ้นการไอ

อาหารที่ช่วยละลายเสมหะ เช่น น้ำมะนาว ผิวเปลือกส้มแห้ง ลูกกระวาน เป็นต้น หลังจากที่เสมหะน้อยลงจนเหลือแต่อาการไอแห้งๆ จึงค่อยกินอาหารที่ช่วยลดอาการไอ เช่น เม็ดเอพริคอต แปะก๊วย

น้ำมะนาว ไข้หวัด

แต่ถ้าจะให้ช่วยกำจัดอาการไอและเสมหะแบบทันที ท่าทางคงต้องใช้ยาสมุนไพรจีนแล้วค่ะ ได้แก่ สูตรลดเสมหะและสูตรหยุดไอ ซึ่งส่วนใหญ่คนไข้ของส้มจะถามหาสูตรหยุดไอ เพราะมักทรมานตอนที่มีอาการไอหลังจากหายหวัดแล้ว

คนจีนเรียกอาการแบบนี้ว่า ไอร้อยวัน ส่วนแพทย์แผนปัจจุบัเรียกว่า หลอดลมไวต่อการกระตุ้น หรือ Hyperreactive airway disease คือ มีลักษณะไอแห้งๆ ไม่ค่อยมีเสมหะ หรือถ้ามีเสมหะก็น้อยมาก และมักจะไม่ไอตลอดเวลา แต่ไอเป็นช่วงๆ เมื่อเจอสิ่งกระตุ้น เช่น สัมผัสกับลมเย็น ฝุ่นละออง

เมื่อไอมากๆ คนไข้จะเหนื่อย บางคนอาจต้องตื่นมาไอก็มีซึ่งรบกวนการนอนหลับ ทำให้รู้สึกเพลียระหว่างวัน สร้างความรำคาญ เพราะไม่หายสักที อย่างไรก็ตาม ควรให้คุณหมอแผนจีนตรวจและจ่ายยาเพื่อความปลอดภัย

แต่ส้มว่าช่วงนี้ควรทำร่างกายให้อบอุ่นและหมั่นดื่มน้ำขิงเพื่อป้องกันไข้หวัดไว้ ดีกว่าปล่อยให้ป่วยแล้วมาแก้แน่นอนค่ะ

 

รำกระบองป้องกันหวัด ท่าเตะตรงเท้าเหยียด

อาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิต กล่าวว่าการออกกำลังกายเพื่อให้โกร๊ธฮอร์โมนหลั่ง จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและป้องกันโรคได้ ดังนั้นในช่วงก่อน ระหว่างหรือหลังเป็นหวัด มารำกระบองกันค่ะ

รไกระบอง ไข้หวัด

1. ยืนให้ขาซ้าย (หรือขาที่จะเตะ) อยู่ด้านหน้า

2. คว่ำมือกำกระบอง โดยที่แขนเหยียดตรง ยกกระบองขึ้นไปที่ระดับสูงสุดเท่าที่จะสามารถเตะได้ถึง (ขณะเตะให้รักษาระดับความสูงของกระบองให้คงที่ตลอดเวลาไม่ลดกระบองลงมาหาเท้า)

3. เตะขาซ้ายขึ้นตรง ๆ ให้สูงถึงระดับความสูงของกระบองที่ยกไว้ ขณะเตะให้ขาซ้ายเหยียดตรง ไม่งอเข่าปลายเท้าซ้ายเหยียดตรงอยู่ตลอดเวลา ไม่สะบัดปลายเท้าแขนเหยียดตรง เมื่อเตะเสร็จแล้วสลับขาขวาให้มาอยู่ด้านหลัง

4. เตะขาขวาขึ้นตรง ๆ ให้สูงถึงระดับความสูงของกระบองที่ยกไว้ ขณะเตะให้ขาขวาเหยียดตรง ไม่งอเข่าปลายเท้าขวาเหยียดตรงอยู่ตลอดเวลา ไม่สะบัดปลายเท้าแขนเหยียดตรง เมื่อเตะเสร็จแล้วสลับขาซ้ายให้มาอยู่ด้านหลัง

5. เตะสลับขาซ้ายและขาขวา (ตามที่อธิบายในข้อ 3 และข้อ 4) อย่างต่อเนื่องกันให้ครบ 30 - 50 ครั้ง

 

จาก คอลัมน์แผนจีนปรับสมดุล นิตยสารชีวจิต ฉบับ 343 (16 กุมภาพันธ์ 2556)


บทความน่าสนใจอื่นๆ

6 เทคนิคกดจุดด้วยตัวเองพิชิต ภูมิแพ้

3 สเต็ป เช็กความรุนแรงป่วยเป็น ไข้

4 วิธีกินฟ้าทะลายโจร แบบถูกต้อง ได้ผลไว ไม่ต้องง้อยาแผนปัจจุบัน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.