รวมวิธีรับมือ 5 มะเร็งผู้หญิง อ่านจบ ทำตามได้จริง

รวมวิธีรับมือ 5 มะเร็งผู้หญิง อ่านจบ ทำตามได้จริง

รับมือ 5 มะเร็งผู้หญิง อย่างเป็นขั้นตอน

โรคมะเร็ง เป็นหนึ่งในสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทยจำนวนมาก และกลุ่มมะเร็งที่พบบ่อยมากก็คือ มะเร็งผู้หญิง วันนี้เราจึงรวบรวบมะเร็งผู้หญิง 5 ชนิด พร้อมแนะวิธีรับมืออย่างครบถ้วน ลองมาดูกันค่ะ

อันดับ 1 มะเร็งเต้านม

เป็นชนิดของโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 1 ในผู้หญิงไทย โดยความเสี่ยงต่อโรคจะเพิ่มขึ้นตามอายุโดยเฉพาะผู้หญิงที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ พันธุกรรม การกลายพันธุ์ของยีน BRCA การสัมผัสกับเอสโตรเจนเป็นเวลานาน และการใช้ชีวิตในแบบที่ทำลายสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการปล่อยให้น้ำหนักเกิน ขาดการออกกำลังกาย หรือการ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

อ่าน : ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม

อ่าน : แนวทางการรักษา

อ่าน : หลังผ่าตัดมะเร็งเต้านม ควรทำท่าบริหารตามนี้ 

อ่าน : ข้อเท็จจริงของโรคมะเร็งเต้านม

มะเร็งเต้านม เต้านม มะเร็ง โรคในผู้หญิง หน้าอก มะเร็งผู้หญิง

อันดับ 2 มะเร็งปากมดลูก

เป็นมะเร็งที่พบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 ของผู้หญิง โดยเกิดได้กับผู้หญิงทุกคนที่ผ่านการมีเพศสัมพันธ์ เนื่องจากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ซึ่งเป็นไวรัสที่ติดต่อผ่านการสัมผัสทั้งจากการมีเพศสัมพันธ์และไม่ใช่เพศสัมพันธ์ ส่วนปัจจัยอื่นที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกมากขึ้น ได้แก่ ช่วงอายุระหว่าง 40-50 ปี มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ มีบุตรหลายคน สูบบุหรี่ รวมถึงการมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี

อ่าน : รู้จักเชื้อเอชพีวี ติดได้แม้ไม่มีเพศสัมพันธ์

อ่าน : อาการเมื่อติดเชื้อเอชพีวี พร้อมวิธีรับมือ

อ่าน : ประสบการณ์เอาชนะมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก ระยะเริ่มต้น, โรคมะเร็งปากมดลูก, มะเร็ง, ตรวจภายใน, รักษามะเร็งปากมดลูก มะเร็งผู้หญิง

อันดับ 3 มะเร็งลำไส้ใหญ่

เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 3 ของผู้หญิง โดยปัจจุบันแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดโรค แต่พบว่าปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งชนิดนี้ ได้แก่ อายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเคยถูกตรวจพบว่ามีติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่มาก่อน มีประวัติเป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ขาดการออกกำลังกาย น้ำหนักเกิน และที่สำคัญคือเป็นผู้ที่ชื่นชอบอาหารไขมันสูงและไม่ค่อยรับประทานผัก ผลไม้

อ่าน : เมื่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทั้งๆ ที่ชอบกินผัก

อ่าน : เทคนิคกินอาหารสู้มะเร็งลำไส้ใหญ่

อ่าน : รับมือมะเร็งลำไส้ใหญ่จนหายขาด

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งลำไส้ ท้องผูก ท้องเสีย มะเร็งผู้หญิง

อันดับ 4 มะเร็งปอด

มะเร็งปอดเป็นโรคมะเร็งที่ผู้หญิงเป็นมากในอันดับที่ 4 โดยไม่เพียงเป็นโรคที่พบได้บ่อย แต่ยังเป็นโรคที่มีความรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูงมากคือกว่าร้อยละ 60 ของผู้ป่วยตรวจพบโรคเมื่อเซลล์มะเร็งลุกลามเข้าสู่ระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะที่มีอัตราการอยู่รอดห้าปีไม่ถึงร้อยละ 5

เราทราบกันดีว่าสาเหตุหลักของโรคมะเร็งปอดเกิดจากการสูบบุหรี่ แต่ผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลยก็มีความเสี่ยงเช่นกัน โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สูบบุหรี่แต่สัมผัสควันบุหรี่ (second-hand smoking) และผู้ที่เคยรับสารพิษจากการสูดดมเมื่ออายุน้อยๆ ซึ่งอาการของโรคจะปรากฎเมื่อมะเร็งเข้าสู่ระยะที่ 3-4 โดยผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเหนื่อยหอบ หายใจผิดปกติ ติดเชื้อในปอดบ่อยๆ เจ็บหน้าอก เสียงแหบ น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ หากมะเร็งเกิดที่หลอดลมก็จะมีอาการไอเรื้อรัง บางรายอาจไอมีเลือดปน

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รูมาตอยด์ โรคข้อ ข้อเข่า ข้อต่อ โรคปอด ปอด โรคมะเร็งปอด มะเร็งผู้หญิง

การป้องกันตัวเองจากมะเร็งปอด

หากคุณมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปอด เช่น เป็นผู้ที่สูบบุหรี่หรือมีประวัติสูบบุหรี่ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป เลิกสูบมาไม่เกิน 15 ปี มีบุคคลในครอบครัวสูบบุหรี่ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ได้รับมลภาวะและสารพิษต่างๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรเข้ารับการตรวจคัดกรองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dose computerized tomography หรือ low-dose CT) ซึ่งใช้ปริมาณรังสีน้อยแต่ให้ภาพที่มีความละเอียดสูงเช่นเดียวกับการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ การตรวจจึงมีความปลอดภัยและแม่นยำ

การรักษา

สิ่งสำคัญของการรักษามะเร็งปอด คือ การพิจารณาตำแหน่ง ขนาด และระยะของเซลล์มะเร็ง รวมถึงสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย

  1. การผ่าตัด
  • มีเป้าหมายเพื่อผ่าเอาก้อนมะเร็งที่ปอดและต่อมน้ำเหลืองที่ช่องอกออกให้หมด ซึ่งบางครั้งก้อนเนื้อนั้นอาจไม่ใช่เซลล์มะเร็งทั้งหมดก็ได้
  • โดยทั่วไปไม่ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดเซลล์เล็กซึ่งมักมีการแพร่กระจายตัวของเซลล์มะเร็งอย่างรวดเร็ว
  • วิธีนี้ใช้ในการรักษามะเร็งปอดชนิดไม่ใช่เซลล์เล็ก ในระยะที่ 1, 2 และ 3A
  1. การฉายรังสี (radiotherapy)
  • เป็นการใช้พลังงานรังสีที่มีความเข้มข้นฉายไปยังตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น
  • วิธีนี้ใช้ไม่ได้ผลกับระยะมะเร็งที่มีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนต่างๆ แล้ว
  • การฉายรังสีใช้เวลาไม่นานและไม่ทำให้เจ็บปวด แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กลืนลำบาก อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ฉายรังสี
  1. การให้ยาเคมีบำบัด (chemotherapy) เป็นการใช้ยากำจัดและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่มีอยู่ทั่วร่างกาย โดยทั่วไปยาเคมีบำบัดที่ใช้กับมะเร็งปอดเป็นรูปแบบยาฉีดเข้าเส้นเลือด
  1. การรักษาแบบเฉพาะเจาะจง (targeted therapy)
  • เป็นการรักษาโดยการใช้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ส่งผลต่อเซลล์ปกติ
  • ให้ประสิทธิผลในการรักษาและไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงเหมือนเช่นยาเคมีบำบัด
  1. การรักษาด้วยการผสมผสาน โดยทั่วไปการรักษามะเร็งจะใช้มากกว่าหนึ่งวิธีขึ้นไป ผู้ป่วยควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับการรักษาและผลข้างเคียงของแต่ละวิธี เพื่อให้ความร่วมมือในการรักษาให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด

ดูแลตนเองหลังการรักษา

  • หากยังสูบบุหรี่อยู่ ควรหยุดทันที
  • เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีอาการดีขึ้น ควรออกกำลังกายด้วยการเดินอย่างน้อยวันละ 15-30 นาที เพื่อส่งเสริมการทำงานของปอดและหัวใจให้ดีขึ้น
  • พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำและป้องกันการเกิดมะเร็งที่อวัยวะอื่น

อ่าน : วิธีผ่าตัดแบบใหม่เพื่อผู้ป่วยมะเร็งปอด

อันดับ 5 มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

เป็นโรคมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 5 ของผู้หญิงไทย โดยสาเหตุของการเกิดโรคยังไม่แน่ชัด แต่เนื่องจากมะเร็งชนิดนี้ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศหญิง ดังนั้นผู้หญิงที่มีบุตรน้อยหรือไม่มีบุตร มีประจำเดือนต่อเนื่องแม้จะถึงวัยที่ควรหมดประจำเดือนแล้ว มีภาวะฮอร์โมนผันผวน เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมถึงผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน มีน้ำหนักตัวมากเกินไป อาจมีความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้มากขึ้น

อ่าน : รู้จักมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก ปัจจัยเสี่ยง อาการ และวิธีรักษาและดูแลตนเอง

โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก, มะเร็งผู้หญิง

อ้างอิง : โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์  , นิตยสารชีวจิต


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ชวนส่องสาเหตุ ทำไมอายุน้อยก็ตายเพราะ มะเร็งตับ ได้

มะเร็งผิวหนัง สังเกตตัวเองอย่างไร

มะเร็งเต้านม เช็คด้วยตัวเองง่าย ๆ หรือด้วยโปรแกรม Mammogram

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.