วิธีหยุดอารมณ์ร้าย

วิธีหยุดอารมณ์ร้าย ช่วยใจเป็นสุข

วิธีหยุดอารมณ์ร้าย ช่วยใจเป็นสุข กรณี #หนุ่มแว่น

จากกรณีของหนุ่มแว่นใจร้อน ด่ากราดคนไทย ระหว่างที่กำลังหงุดหงิด ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ หลังเจ้าตัวมีคู่กรณีเกี่ยวพันธ์กับการขับรถปาดหน้า ประเด็นนี้เป็นที่ร้อนเเรงในออนไลน์เป็นอย่างมาก ชาวเน็ตถึงกับไม่พอใจ ขุดคุ้ยประวัติหนุ่มแว่นมาประจานในโลกออนไลน์กันอย่างเมามัน สรุปว่าใครกันแน่นะที่ควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ ชาวเน็ตหรือหนุ่มแว่น

โอเคแหละให้มันเป็นเรื่องของกฎหมายและสังคมต่อไป  แล้วเราจะเรียนรู้ประเด็นนี้ได้อย่างไร จะควบคุมอารมณ์และจัดการความรู้สึกตัวเองได้มากแค่ไหน เรามีวิธีง่ายๆ มาแนะนำค่ะ

อารมณ์ 6 ประเภท ที่ทุกคนต้องมี

คู่มือสำรวจใจ ย่อยศาสตร์จิตวิทยาเหตุใดการทำความเข้าใจภาวะอารมณ์ต่าง ๆหรือความฉลาดทางอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ จากข้อมูลการสำรวจของธนาคารโลกและ
องค์การอนามัยโลกได้ประเมินว่า ในปี พ.ศ. 2563 โรคทางจิตเวช โดยเฉพาะโรคซึมเศร้าจะมีอัตราการป่วยของประชากรสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก และคาดว่าจะมีประชากรร้อยละ 10 ของโลกมีปัญหาสุขภาพจิต

ศาสตราจารย์แดชเชอร์ เคลท์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นที่ปรึกษาในการสร้างภาพยนตร์เรื่องนี้ อธิบายว่า แนวคิดอารมณ์หลักทั้ง 5 ในภาพยนตร์ดัดแปลงมาจากทฤษฎีอารมณ์พื้นฐาน (Basic Emotions) ทั้ง 6 ประเภท ได้แก่ อารมณ์สุขใจ เศร้าใจ โกรธ กลัว รังเกียจ และประหลาดใจ ของ พอล เอกแมน ศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงระดับโลกและติดอันดับ 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลทางความคิด จากการจัดอันดับของนิตยสาร ไทม์ เมื่อปี ค.ศ. 2009

นายแพทย์ธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวชเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว ประจำสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ อธิบายลักษณะอารมณ์ทั้ง 5 และพฤติกรรมที่สังเกตได้ ดังนี้

1. สุขใจ (Joy) เป็นอารมณ์บวก เกิดจากความรู้สึกพึงพอใจที่ได้ทำตามสิ่งที่ต้องการ เช่น ได้กินอาหารที่ชอบได้ไปช็อปปิ้งซื้อสินค้าที่ชอบ หรือมีความรัก โดยมีปฏิกิริยาที่แสดงออกทางกาย คือ ยิ้มหน้าบาน รู้สึกสดชื่นมีพลัง กระโดดโลดเต้น

2. เศร้าใจ (Sadness) เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกผิดหวังกับตนเอง ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรม เช่น หดหู่รู้สึกไร้ค่าสิ้นหวัง โดยมีปฏิกิริยาทางกาย เช่น หมดเรี่ยวแรง อ่อนล้า ไม่อยากกินอาหาร ร้องไห้ เป็นต้น

3. โกรธ (Anger) เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกขัดใจไม่ได้ดั่งใจ ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรม เช่น พูดจาหยาบคาย ทำร้ายร่างกาย ทำลายข้าวของ โดยมีปฏิกิริยาทางกาย คือ หน้าแดง หายใจติดขัด เสียงดัง

4. กลัว (Fear) เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกว่าตนเองถูกคุกคามหรือสู้ไม่ได้ ซึ่งแสดงออกด้วยการถอยหนีไม่มองหน้า หลีกเลี่ยงการมีปฏิสัมพันธ์ เป็นต้น โดยมีปฏิกิริยาทางร่างกาย คือ ตัวเกร็ง มือเย็น ใจสั่น

5. รังเกียจ (Disgust) เป็นอารมณ์ที่เกิดจากความรู้สึกอึดอัดใจ แต่ไม่ได้รู้สึกถูกคุกคาม เช่น การไม่ชอบกินผักเขียว ซึ่งแสดงออกเป็นพฤติกรรม เช่น เบือนหน้าหนี
ไม่มองหน้า ไม่พูดถึง รู้สึกพะอืดพะอม มวนท้อง

คุณหมอธันวรุจน์อธิบายสรุปว่า อารมณ์ทั้ง 5 มีทั้งบวกและลบ สามารถก่อให้เกิดความเครียดได้ การเข้าใจและจัดการอารมณ์ให้อยู่ในสภาวะปกติจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพราะช่วยให้เราเข้าใจตนเองและผู้อื่น ทำให้ใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

วิธีหยุดอารมณ์ร้าย
Man meditating yoga at sunset mountains Travel Lifestyle relaxation emotional concept adventure summer vacations outdoor harmony with nature

How – to จัดการอารมณ์ร้าย ช่วยหายเครียด

คุณหมอธันวรุจน์แนะนำขั้นตอนในการรับมืออารมณ์ทั้ง 5 สำหรับคนทุกวัย ดังนี้

1. หมั่นสังเกตอารมณ์ตัวเอง หรือมีสตินั่นเองโดยการตั้งคำถามว่า อารมณ์นี้เกิดจากอะไร (รู้ที่มา)ทำให้ร่างกายตอบสนองอย่างไร (รู้ที่ไป) รวมทั้งดูผลกระทบที่ตามมาของอารมณ์ที่แสดงออกเป็นพฤติกรรม

  • ในเด็ก พ่อแม่หรือครูควรให้เวลาซักถามพูดคุยถึงอารมณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหา โดยการตั้งคำถามอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้เด็กรู้จักอารมณ์ต่าง ๆ และมองเห็นหนทางแก้ไข ซึ่งเป็นผลดีกว่าการออกคำสั่ง
  • ในผู้ใหญ่ ควรสังเกตตัวเองด้วยใจเป็นกลางไม่อิงอัตตาส่วนตัว หรือฟังเสียงสะท้อนจากคนรอบข้าง เช่น มีคนรอบข้างถึง 5 – 6 คนบอกเราว่าเราเป็นคนขี้โมโห ก็ต้องฟังแล้วนำมาทบทวน

2. ลดอารมณ์ที่มากเกินไปด้วยการผ่อนคลายร่างกาย เช่น ใช้เทคนิคหายใจเข้า – ออกลึก ๆ หรือการเกร็ง – คลายกล้ามเนื้อ (Relaxation) สลับกัน

3. แก้ไขปัญหา เมื่อสำรวจพบสาเหตุที่ทำให้เกิดอารมณ์ต่าง ๆ แล้ว ต้องหาทางแก้ไข

4. ปล่อยวางอย่างมีสติ ในกรณีที่ไม่อาจแก้ไขปัญหานั้นได้ จำเป็นต้องเรียนรู้ที่จะปล่อยวางและก้าวต่อไป ไม่จมอยู่กับอารมณ์นั้น ๆ เป็นเวลานาน

คุณหมอธันวรุจน์ย้ำว่า การเติบโตและมีความฉลาดทางอารมณ์จำเป็นต้องหมั่นสำรวจตนเอง ละวางอัตตา และฝึกทักษะในการรู้จักอารมณ์ตนเอง มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง หากฝึกบ่อย ๆ ก็ยิ่งช่วยให้รู้จักยืดหยุ่นลดความขัดแย้ง รวมถึงแก้ปัญหาเชิงมนุษยสัมพันธ์ได้ที่สำคัญ วิธีนี้ใช้ได้ทุกระดับ ทั้งในหน่วยย่อยระดับตัวบุคคล ถัดมาเป็นครอบครัว และในหน่วยใหญ่ เช่นระดับองค์กร และสังคม

อ้างอิง : นิตยสาร ชีวจิต ปี 2558 ฉบับที่ 411 ชื่อคอลัมน์ : trendy health

 

สุขภาพจิตดี ชีวิตมีสุข

รับมืออย่างไรไม่ให้ เสียสุขภาพจิต เมื่อต้องอยู่ใกล้กับคนคิดลบ

16 สเต็ป วิธีคิดเพื่อ สุขภาพจิต ดีสไตล์ บ.ก.ชีวจิต

เรียนรู้เรื่องอารมณ์ที่มีผลกับร่างกาย และควรรู้ไว้ว่าอารมณ์ใดทำให้เกิดโรคใด?

เลิกทำซะเถอะ! พฤติกรรมที่ส่งผลร้ายต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.