การร้องไห้

การร้องไห้ ไม่ได้แย่อย่างที่คิด หนึ่งในวิธีระบายความเครียดชั้นดี

การร้องไห้ ไม่ได้แย่อย่างที่คิด หนึ่งในวิธีระบายความเครียดชั้นดี

การร้องไห้ ไม่ได้แปลว่าเรานั้นจะเป็นคนอ่อนแอเสมอไป การร้องไห้มีได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กๆที่เขายังไม่สามารถสื่อสารให้เราเข้าใจได้ ก็ใช้การร้องไห้ออกมาในเวลาที่ หิว ไม่สบายตัว เจ็บ หรืออาการใดๆก็ตาม  แต่พอโตมาคนที่ร้องไห้กลับถูกมองว่าเป็นคนอ่อนแอ เป็นคนขี้แพ้ ยอมแพ้อะไรง่ายๆ ทั้งที่ความจริงแล้วการร้องไห้ออกมานั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ บ้างก็ร้องเพราะความเสียใจจริงๆ บ้างก็ร้องเพราะความดีใจ ตื้นตันใจ หรือบางคนก็ขำจนน้ำตาไหลก็มี ไม่เพียงแค่นี้การร้องไห้เสียน้ำตา ยังมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด ลองมาดูกันว่า “น้ำตา” มีประโยชน์อะไรบ้าง

การร้องไห้ ไม่ได้แย่อย่างที่คิด หนึ่งในวิธีระบายความเครียดชั้นดี

ช่วยลดความเครียด

การที่เราเสียน้ำตาออกมานั้น จะช่วยทำให้ร่างกายได้ปลดปล่อยสารพิษ และปรับฮอร์โมนให้มีความสมดุลมากขึ้น ซึ่งช่วยบรรเทาความเครียด และคลายความกดดันได้เป็นอย่างดี สังเกตหรือไม่ว่าหลังจากที่เราร้องไห้เสียน้ำตาไปแล้ว เรามักจะรู้สึกเหมือนได้ระบาย ได้ปลดปล่อยออกมา รู้สึกคลายเครียดได้มากยิ่งขึ้น

ช่วยทำให้ใจเย็นขึ้น

การร้องไห้ จะช่วยลดความร้อนในสมอง เพราะว่าเวลาที่เราร้องไห้ ร่างกายของเราจะหายใจเร็วขึ้น และเต็มปอดมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้เราเย็นลงอย่างเห็นได้ชัด

ปรับความสมดุลของอารมณ์

ร่างกายของคนเราเวลาที่ได้รับความรู้สึกต่างๆมากเกินไป ก็จะทำให้ร่างกายแสดงอาการต่างๆออกมา เช่นการที่เราเสียใจมากๆ เราก็มักจะเสียใจจนร้องไห้น้ำตาไหล ซึ่งความจริงแล้วการแสดงความรู้สึกออกมา ถือเป็นเรื่องดี เพราะจะทำให้ร่างกายได้ปลดปล่อยออกมา ไม่รู้สึกเก็บกด กดดัน อึดอัด และยังช่วยปรับให้อารมณ์ของเรามีความสมดุลมากขึ้น ลดภาวะอารมณ์แปรปรวน หรืออาการหงุดหงิดง่าย

การร้องไห้ ไม่ได้แย่อย่างที่คิด หนึ่งในวิธีระบายความเครียดชั้นดี

 

ช่วยขับฝุ่นละอองและสารพิษ

ไม่ได้ร้องไห้ แค่ฝุ่นมันเข้าตา เวลาที่มีฝุ่นละออง สารพิษ หรือสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา ร่างกายจะสั่งให้หลั่งน้ำตาออกมาเพื่อขับสิ่งสกปรกเหล่านั้นออกไป โดยในน้ำตาของเราจะมีสารที่ชื่อว่า   ” ไลโซไซม์ ” ที่สามารถกำจัดเชื้อโรค และแบคทีเรียได้ ถึง 90 % ช่วยลดอาการละคายเคืองที่ดวงตาได้เป็นอย่างดี

ให้ความชุ่มชื้นแก่ดวงตาและรอบดวงตา

น้ำตาจะช่วยมอบความชุ่มชื้นให้กับดวงตา และรอบดวงตาของเรา ไม่เพียงเท่านี้ยังช่วยให้เราสามารถเห็นได้ชัดขึ้น และการที่ดวงตาของเรามีความชุ่มชื้นอยู่นั้น จะช่วยลดอาการคันตาได้เป็นอย่างดี และลดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดบาดแผลในดวงตาอีกด้วย

ช่วยลดความดันโลหิต

เพราะเวลาที่เราร้องไห้ การทำงานของปอดจะทำงานหนักขึ้น และทำให้ระดับการเต้นของหัวใจอยู่ในระดับที่ควรจะเป็น ทำให้ความดันโลหิตของเรามีความสมดุลมากยิ่งขึ้น

การร้องไห้ ไม่ได้แย่อย่างที่คิด หนึ่งในวิธีระบายความเครียดชั้นดี

 

ทำให้เราเข้มเเข็งมากขึ้น 

หลังจากที่เราร้องไห้ไปแล้ว จะทำให้เรารู้สึกสบายมากขึ้น สามารถทนกับความเจ็บปวดได้มากขึ้น และหลังจากการร้องไห้จะทำให้เรารู้สึกสงบมากยิ่งขึ้น มีสติมากขึ้น ทำให้เราสามารถเข้าใจโลกได้มากกว่าเดิม  หรือมีความเป็นผู้ใหญ่ยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้เรามองว่าเรื่องแย่ๆที่ผ่านมาจะเป็นแรงผลักดันให้เราเข้มแข็งมากขึ้น และพร้อมที่จะก้าวข้ามผ่านเรื่องต่างๆไปได้

เป็นการระบายที่ดี และช่วยเยียวยาความเจ็บปวด

การได้ร้องไห้สักครั้ง ถือเป็นการระบายความรู้สึกที่ดีวิธีหนึ่ง ในเวลาที่เราเจอเรื่องแย่ๆจนไม่สามารถทนได้อีก ร่างกายของเราจะหลั่งน้ำตาออกมาเพื่อเป็นการปลดปล่อย ลดความเครียด หรือความรู้สึกที่ไม่ดีต่อร่างกายออกมา ซึ่งหลังจากที่เราร้องไห้ออกมาแล้ว จะทำให้เรารู้สึกสบายใจมากยิ่งขึ้น โล่งอกอย่างเห็นได้ชัด

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก www.pobpad.com และ undubzapp.com

ขอขอบคุณรูปภาพจาก  Pinterest

อ่านบทความอื่นๆที่น่าสนใจ

 

 

Summary
การร้องไห้ ไม่ได้แย่อย่างที่คิด หนึ่งในวิธีระบายความเครียดชั้นดี
Article Name
การร้องไห้ ไม่ได้แย่อย่างที่คิด หนึ่งในวิธีระบายความเครียดชั้นดี
Description
การร้องไห้ ไม่ได้แปลว่าเรานั้นจะเป็นคนอ่อนแอเสมอไป การร้องไห้มีได้ในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กๆที่เขายังไม่สามารถสื่อสารให้เราเข้าใจได้ ก็ใช้การร้องไห้ออกมาในเวลาที่ หิว ไม่สบายตัว เจ็บ หรืออาการใดๆก็ตาม  แต่พอโตมาคนที่ร้องไห้กลับถูกมองว่าเป็นคนอ่อนแอ เป็นคนขี้แพ้ ยอมแพ้อะไรง่ายๆ ทั้งที่ความจริงแล้วการร้องไห้ออกมานั้นมีอยู่หลากหลายรูปแบบ บ้างก็ร้องเพราะความเสียใจจริงๆ บ้างก็ร้องเพราะความดีใจ ตื้นตันใจ หรือบางคนก็ขำจนน้ำตาไหลก็มี ไม่เพียงแค่นี้การร้องไห้เสียน้ำตา ยังมีประโยชน์มากกว่าที่เราคิด ลองมาดูกันว่า "น้ำตา" มีประโยชน์อะไรบ้าง
Author
Publisher Name
Goodlifeupdate
Posted in NEWS
BACK
TO TOP
cheewajitmedia
Writer

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.