จะนึกถึงคนตาย

จะนึกถึงคนตาย หรือนึกถึงความตาย ก็ต้องทำใจให้ถูก

จะนึกถึงคนตาย หรือนึกถึงความตาย ก็ต้องทำใจให้ถูก ธรรมะโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต)

การที่เรามาระลึกถึงท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือเรียกง่าย ๆ ว่าระลึกถึงคนตายนี้ ก็น้อมจิตให้ระลึกต่อไปถึงความตายด้วย สองสิ่งนี้เป็นเรื่องที่เนื่องถึงกัน

สำหรับการระลึกถึงคนตายนั้น ถ้าจะปฏิบัติให้ถูกต้องก็คือระลึกถึงความดีของท่านที่จะทำให้เราโน้มนำเอาความดีนั้นมาเตือนใจ โดยเฉพาะสำหรับบุตรธิดาก็คือการระลึกถึงความดีที่พ่อแม่ได้บำเพ็ญก็ตาม หรือความดีงามที่ท่านสั่งสอน หรือแม้แต่สั่งเสียไว้ก็ตาม เมื่อมีโอกาสก็พยายามรำลึกถึงและนำมาปฏิบัติตาม การทำอย่างนี้ถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา และเป็นประโยชน์ในการระลึกถึงคนตาย

ในการระลึกถึงคนตายนั้น ถ้าระลึกไม่ถูกต้องก็ทำให้เกิดแต่เพียงความเศร้าโศกเสียใจ แต่ถ้าระลึกถูกต้องพอระลึกถึงแล้วก็โยงต่อไปหาธรรมด้วย คือระลึกแล้วจิตไม่ตัน ถ้าระลึกถึงคนตายแล้วมัวแต่ระลึกถึงตัวท่าน แล้วเกิดความเศร้าโศกเสียใจ จิตก็ตันไม่มีทางออก แต่พอโยงไปหาธรรม ก็ระลึกถึงความดีของท่าน ระลึกถึงคุณของท่าน นึกถึงสิ่งที่ท่านได้ทำไว้ และสิ่งที่ท่านได้สั่งสอนไว้ จิตก็มีทางออก เห็นทางที่จะไป และเกิดผลเป็นประโยชน์ อันนี้ก็เป็นเรื่องของการระลึกถึงคนตาย แต่ดังที่กล่าวแล้วอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การะลึกถึงคนตายนั้นจะโยงไปหาการระลึกถึงความตายต่อไป

การระลึกถึงความตายก็เป็นสิ่งสำคัญ ความตายนั้นเป็นความจริงของชีวิต ท่านเรียกว่าเป็นคติธรรมดาคือคนเราเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ชีวิตมีการเริ่มต้นก็ต้องมีที่สิ้นสุด การเริ่มตันของชีวิตเราเรียกว่าการเกิด การสิ้นสุดของชีวิตเราเรียกว่าความตาย เกิดกับตายนี้เป็นของคู่กันและต้องตามกันมาแน่นอน เมื่อระลึกถึงความตายก็คือระลึกถึงความจริงของชีวิต ซึ่งจะทำให้เราเกิดความรู้เท่าทัน แต่ก็เช่นเดียวกันต้องระลึกให้ถูกต้อง ถ้าระลึกไม่เป็น เรียกว่าทำในใจไม่แยบคาย ก็จะทำให้เกิดโทษได้

คนที่ระลึกถึงความตายโดยทำใจไม่แยบคาย เรียกว่าระลึกไม่เป็น จะทำให้เกิดโทษสองประการ

ประการที่หนึ่งคือ นึกถึงแล้วเกิดความประหวั่นพรั่นกลัว ความประหวั่นพรั่นกลัวเป็นสิ่งบีบคั้นจิตใจ ทำให้จิตใจเศร้าหมองมีความทุกข์ เป็นการระลึกที่ไม่ถูกต้อง

ประการที่สอง ระลึกแล้วทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจ โดยเฉพาะการระลึกถึงความตายของบุคคลผู้เป็นที่รัก เมื่อทำให้จิตใจไม่สบายก็เป็นความทุกซ์ เป็นการระลึกที่ไม่ถูกต้องอีกเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้บางคราวยังเกิดผลประการที่สาม คือบางคนไปนึกถึงความตายของคนที่เกลียดชังเป็นศัครูกันก็ทำให้เกิดความดีใจ ความดีใจในกรณีนี้เป็นความดีใจในทางร้าย เป็นอกุศล ก็ไม่ดีอีก รวมแล้วก็เป็นการทำในใจไม่แยบคายทั้งสิ้น

ในทางตรงข้าม ถ้าระลึกถึงอย่างถูกต้องก็เป็นคุณเป็นประโยชน์ ประโยชน์ประการที่หนึ่งในระดับทั่วไปก็คือทำให้เกิดความไม่ประมาท เพราะความตายนี้เป็นความจริงของชีวิตที่ต้องเกิดขึ้นแน่นอนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่พร้อมกันนั้นก็เป็นการไม่แน่นอนว่าความตายที่จะเกิดขึ้นแน่นอนนี้จะเกิดขึ้น ที่ไหน เมื่อไร และอย่างไร เราไม่อาจคาดคะเนได้

ในเมื่อสิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงแท้แน่นอน ไม่ว่าชีวิตของเราเองก็ตาม สิ่งที่เราเกี่ยวข้องก็ตาม ล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นอนิจจัง ไม่คงอยู่ยั่งยืนตลอดไป จึงจะนอนใจอยู่ไม่ได้ เวลาที่ผ่านไปนั้นมันผ่านไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงด้วย และความเปลี่ยนแปลงนั้นก็ไม่แน่นอนว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร เราจึงจะต้องเร่งรีบทำกิจหน้าที่และทำความดี สิ่งที่ควรทำก็รีบทำ สิ่งที่ควรละเว้นก็รีบละเว้น สิ่งที่ควรป้องกันกำจัดแก้ไขก็รีบป้องกันกำจัดแก้ไขเสีย อันนี้เรียกว่าความไม่ประมาท การระลึกถึงความตายในทางที่ถูกต้องจะทำให้เกิดผลคือความไม่ประมาท และในการที่จะเพียรพยายามทำความดี ทำกิจหน้าที่ และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อไป

ประการที่สอง การระลึกถึงความตายในฐานะที่เป็นความจริงของชีวิดนั้น ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ความรู้เท่าทันความจริงของชีวิตนี้ก็ทำให้เกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาก็ทำให้รู้จักปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ปฏิบัติต่อชีวิตของตนได้ถูกต้องเป็นตันไป

คนเรานี้เมื่อไม่รู้จักชีวิตของตนเองก็ปฏิบัติต่อชีวิตผิด พอปฏิบัติต่อชีวิตผิดก็ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายรอบ ๆ ตัวผิดด้วย เพราะเราเข้าใจสิ่งทั้งหลายไม่ถูกต้อง เริ่มตั้งแต่ไม่เข้าใจความจริงของชีวิต ก็จึงเที่ยวไปยึดถือผิด ๆ หรือยึดถือในทางที่เป็นไปไม่ได้ต่อสิ่งต่าง ๆ แล้วก็ทำการไปตามอำนาจ ความโลภ ความโกรธ ความหลง อย่างน้อยพอเรารู้เท่าทันความจริงของชีวิตว่า ชีวิตของเราก็เท่านี้แหละ คือมีการเกิดขึ้นในเบื้องดัน แล้วก็มีความตายในที่สุด ในที่สุดก็ต้องจากโลกนี้ไป จะโลภโมห์โทสันไปทำไม มีแต่จะก่อทุกข์ก่อการเบียดเบียนกันไปท่านั้นเอง ทางที่ดีควรจะใช้ชีวิตนี้ให้เป็นประโยชน์ ทำสิ่งที่ดีงาม แล้วก็ทำจิดใจให้ปลอดโปร่งผ่องใสด้วยความรู้เท่าทัน การระลึกถึงความตายในฐานะเป็นความจริงของชีวิตทำให้เกิดประโยชน์ ประการที่สองนี้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในทางปัญญาที่สำคัญ

การรู้ได้คิดได้อย่างนี้เป็นการปฏิบัติธรรมที่สำคัญอย่างหนึ่ง ถ้ารู้จักนำมาใช้ประโยชน์ การระลึกถึงความตายก็เป็นสิ่งที่ดี พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอเป็นประจำ คนที่ระลึกถึงความตายอย่างถูกต้องจะมีจิตปลอดโปร่งเบิกบานผ่องใส และไม่มีความกลัวต่อความตาย แต่จะเกิดความรู้สึกปลุกเร้ากระตุ้นเตือนตนเองให้เอาจริงเอาจังกับการทำกิจหน้าที่ ทำความดีงามและสร้างสรรค์ประโยชน์สุขทั้งแก่ชีวิตของตนเองและชีวิตที่อยู่ร่วมกับผู้อื่นให้เป็นไปอย่างกระตือรือรัน

(จะนึกถึงคนตาย)

คัดความตอนหนึ่งจาก พระธรรมเทศนา ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) แสดงในการบำเพ็ญกุศลอุทิศ นางกิมวา แซ่อุ่ย (มารดาของพระไพศาล วิสาโล) ในวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๓๖ ก่อนวันฌาปนกิจศพ (๙ พ.ค. ๒๕๓๖)

ที่มา : หนังสือ จะสุขแท้ ต้องเป็นไท ต้องสุขเองได้ จึงจะช่วยโลกให้เป็นสุข โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต)

Secret Magazine (Thailand)


บทความน่าสนใจ

บ่อเกิดแห่งความทุกข์ ธรรมะโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ข้อดีของความทุกข์ ธรรมะคลายทุกข์จาก พระไพศาล วิสาโล

ทำอย่างไรเราจะคิดถึงความตายได้โดยที่ไม่กลัวตาย โดย พระไพศาล วิสาโล

ทุกคนมีนัดกับความตาย พร้อมหรือยังที่จะไปตามนัด โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

5 วิธีอินกับความตาย เข้าใกล้นิพพาน โดย พระไพศาล วิสาโล

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.