การดูแลผู้สูงวัย มีอะไรบ้างคือสิ่งที่ผู้ดูแลควรต้องรู้!

การรักษาโรคกับการดูแลชีวิตผู้สูงวัยจุดมุ่งหมายที่ต่างกัน

ความแตกต่างระหว่างการรักษาโรคกับการดูแลชีวิตผู้สูงวัยนั้น แม้ว่าความก้าวหน้าทางการแพทย์จะช่วยให้การต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ เพื่อยืดอายุขัยของผู้สูงวัยทำได้ง่ายขึ้น แต่สิ่งที่ยังเป็นปัญหาหลักของสังคมยุคใหม่ ซึ่งมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว คือการดูแลชีวิตผู้สูงวัยในช่วงบั้นปลายชีวิต

เมื่อพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย แก่ตัวลงและต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะที่ลูกหลานยังอยู่ในวัยทำงาน และจำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่แข่งขันสูง จึงไม่พร้อมรับผิดชอบหน้าที่ดังกล่าว

การรักษาโรคคือ มีเป้าหมายในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาการบาดเจ็บต่างๆ ทางการแพทย์ เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงสมบูรณ์  สามารถดำเนินชีวิตได้เป็นปกติ

ส่วนการดูแลชีวิตคือ การดูแลและให้ความช่วยเหลือผู้สูงอายุ เพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น อาบน้ำ กินอาหาร เคลื่อนไหว และขับถ่าย

ดูแลจิตใจผู้สูงวัย3

เป้าหมายของการดูแลชีวิตผู้สูงวัย

“แม่ไม่อยากนอนติดเตียงแบบนี้” หรือ “พ่อจะต้องกลับมาเดินได้อีกครั้ง” นี่เป็นเป้าหมายของทั้งผู้สูงวัยและผู้ดูแล ซึ่งต้องอาศัยความพยายามของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่หน้าที่ของผู้ดูแลที่คอยช่วยให้ผู้สูงอายุลุกจากเตียง แต่ต้องสร้างแรงกระตุ้นให้พวกท่านอยากลุกจากเตียงด้วย เพื่อให้ขยับเข้าใกล้เป้าหมายมากขึ้น

รู้จักปล่อยวางกับเรื่องที่ทำไม่สำเร็จ

มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกหงุดหงิด กับความแก่ชรา เพราะไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้คล่องแคล่วเหมือนตอนยังหนุ่มสาว จึงทุ่มเทให้กับการทำกายภาพเพื่อหวังให้กลับมาเหมือนเดิม แต่ผลลัพธ์อาจไม่ได้เป็นอย่างคาดหวัง ต้องรู้จักปล่อยวางทัศนคติเชิงลบทิ้งเสีย แล้วหันมายอมรับความจริง เพื่อไม่กดดันตัวเองมากเกินไปจนกลายเป็นความเครียด ซึ่งทำให้สุขภาพแย่ลงกว่าเดิม

ดูแลจิตใจผู้สูงวัย4

ขอรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ

เมื่อมีข้อข้องใจหรือประสบปัญหาในการดูแลผู้สูงวัย สามารถขอคำปรึกษาได้จากศูนย์บริการสาธารณสุขและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้าน โดยสามารถนำบัตรประชาชนเข้าเช็กสิทธิ์การขอรับบริการ หลังจากนั้นเจ้าหน้าที่จะไปตรวจเยี่ยมผู้สูงวัยที่บ้านเพื่อประเมินและจัดกลุ่มการให้ความช่วยเหลือต่อไป

อย่างไรก็ตาม จะต้องไม่ลืมด้วยนะคะว่าการดูแลผู้สูงวัยหรือผู้ป่วยเป็นเวลานานเป็นปีทำให้เกิดความเหนื่อยล้า จากภารกิจประจำวันที่เพิ่มพูนขึ้นทีละน้อย จนทำให้ผู้ดูแลหรือลูกหลานเองมีอาการซึมเศร้าได้ การขอความช่วยเหลือจากญาติพี่น้องคนอื่น หรือใช้บริการดูแลผู้สูงอายุคือทางออกที่ช่วยผ่อนคลายความอ่อนล้าลงได้ ลองเอาสิ่งที่เราบอกไปทำตามดูนะคะ ดูแลตัวเองให้ดี จะได้มีแรงดูแลคนที่เรารักต่อไปได้อีกนานๆ

ข้อมูลประกอบจาก: หนังสือคู่มือดูแลผู้สูงอายุฯ AMARIN Health

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

เมื่อเวลาผ่านไประบบต่างๆ ย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา!

ความมสุขที่แท้จริงของผู้สูงวัย คือการยอมรับและทำใจกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้น!!

ประโยชน์ของกิจกรรมทางกายที่ช่วยผู้สูงวัยมีชีวิตบั้นปลายแบบคุณภาพ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.