จัดห้องน้ำผู้สูงอายุ แบบผิดๆ อาจนำไปสู่อุบัติเหตุไม่คาดฝัน!

  1. มือจับตรงประตูไม่ควรเป็นแบบลูกบิด เพราะผู้สูงอายุอาจต้องใช้แรงข้อมือในการบิดหมุนมากกว่าปกติ ควรใช้มือจับประตูแบบก้านโยก เพื่อความสะดวกในการเปิด-ปิด โดยไม่ต้องใช้แรงข้อมือในการบิดหมุนแบบประตูลูกบิดทั่วไป
  2. พื้นห้องน้ำเป็นพื้นต่างระดับ หากทำพื้นลักษณะนี้จะทำให้เกิดการสะดุดล้มได้ง่าย ทางที่ดีพื้นห้องน้ำควรมีระดับเดียวกับห้องนอน เพื่อป้องกันการสะดุดล้ม โดยใช้ตะแกรงกันน้ำบริเวณหน้าประตู และกั้นระหว่างโซนเปียก-โซนแห้ง แทนการเปลี่ยนระดับหรือใช้ขอบกันน้ำ

  1. ใช้พื้นห้องน้ำเป็นวัสดุผิวลื่น อันนี้อาจก่อให้เกิดอันตรายได้มากที่สุด เพราะการทรงตัวของ(**สะกดผิด สูงอายุ) ผู้สูงงอายุไม่ดีเหมือนก่อน พื้นห้องน้ำควรใช้วัสดุประเภทที่มีผิวฝืด และมีค่าความฝืดที่เหมาะกับพื้นที่ส่วนเปียกและส่วนแห้ง มีการเปลี่ยนสีหรือลายที่แตกต่างระหว่างโซนเปียก-โซนแห้ง เพื่อให้มองเห็นได้ชัด ป้องกันการลื่นล้มหรือสะดุดล้ม

ควรเลือกกระเบื้องปูพื้นห้องน้ำที่มีผิวหน้าลักษณะเป็นเม็ดทราย เนื่องจากเป็นกระเบื้องที่ไม่หยาบและไม่ลื่นมากจนเกินไป ตรงนี้แนะนำให้ตอนไปเลือกซื้อกระเบื้องปูห้องน้ำสามารถค่ากันความลื่น (Slip Resistance)ได้จากแคตตาล็อกของกระเบื้องที่เลือกใช้ จากร้านค้าที่ซื้อได้เลยค่ะ

  1. ภายในห้องน้ำไม่ติดตั้งราวจับไว้คอยช่วยพยุงตัว สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ห้ามลืมเด็ดขาด เพราะราวจับเป็นส่วนสำคัญมากในการช่วยพยุงตัว ทรงตัว และป้องกันการลื่นล้ม ในจุดที่มีการนั่ง ลุกยืน และเดินในห้องน้ำ ราวจับควรมีขนาด (**เช็คดีๆค่ะ ใช้คำว่าเส้นผ่านหรือเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่ถูกต้อง) เส้นผ่านศูนย์กลางที่เหมาะสมประมาณ 4.5 เซนติเมตร ทำจากวัสดุที่ปลอดภัย ผิวเรียบไม่มีเหลี่ยมคม
  2. สุขภัณฑ์และอุปกรณ์ทุกชิ้นใช้งานยาก ไม่สะดวกต่อการหยิบจับ อันนี้ก็จะส่งผลเสียในระยะยาวได้ เพราะต้องไม่ลืมว่า ผู้สูงควรต้องได้ใช้อะไรที่ง่ายและสะดวกมากที่สุด เช่น

– ควรติดตั้งสุขภัณฑ์ในตำแหน่งและระดับที่เหมาะสม ควรเป็นโถนั่งราบ ที่กดชำระแบบคันโยก เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

– ก๊อกน้ำอ่างล้างหน้า และวาล์วเปิด-ปิดน้ำ ใช้แบบก้านปัด เพื่อความสะดวกในการเปิด-ปิดน้ำสำหรับผู้สูงอายุอ่างล้างหน้าควรเป็นแบบขอบโค้งเว้ารับกับสรีระ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่ใช้รถเข็นสามารถใช้งานได้สะดวก

– ใช้เคาน์เตอร์อ่างล้างหน้าแบบมุมมน ไม่มีเหลี่ยมคม เพื่อป้องกันอันตรายจากการเดินชนหรือล้มกระแทก

– มีที่นั่งอาบน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ขนาดความสูงของเก้าอี้ประมาณ 45-50 เซนติเมตร ขาเก้าอี้ควรมีความฝืด ไม่ลื่นไถล

– มีพนักแขนช่วยพยุงตัวบริเวณโถส้วมแบบพับเก็บได้ ทำให้ไม่เกะกะ และสามารถทำความสะอาดพื้นได้สะดวก

– ฝักบัว สายฉีดชำระ ควรใช้แบบปรับแรงดันน้ำได้

– กระจกเงา ติดตั้งในระดับให้มองเห็นได้ทั้งนั่งและยืน โดยเลือกใช้กระจกทรงสูง

– ที่ใส่กระดาษทิชชู่ ที่สามารถเปลี่ยนกระดาษทิชชู่ได้ง่า(**สะกดผิด)

  1. ลืมคำนึงถึงเรื่องของระดับความสูงของอุปกรณ์ต่างๆ ทำให้จัดไว้ในระดับที่ไม่เหมาะสม ซึ่งที่ถูกต้องเราต้องคำนึงถึงระดับของอุปกรณ์ต่างๆ ในห้องน้ำที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้สูงอายุเอื้อมถึงได้สะดวก เช่น ฝักบัวมีก้านปรับระดับ ราวแขวนผ้าปรับระดับได้สำหรับการใช้งานบนรถเข็น เป็นต้น
  2. ในห้องน้ำมีความมืด และมีแสงสว่างไม่เพียงพอ จุดนี้ก็ให้เกิดอันตรายมากที่สุด เพราะแสงสว่างที่พอดีมีความสำคัญต่อระดับการมองเห็นของผู้สูงอายุ ห้องน้ำควรมีแสงสว่างเพียงพอ เพราะเมื่อผู้สูงอายุเข้าใช้ห้องน้ำต้องมีการหยิบจับของใช้จำเป็น รวมถึงการอ่านข้อความข้างขวดน้ำยาต่างๆ จึงควรติดหลอดไฟให้สว่างเพียงพอ และเลือกใช้แสงสีขาวเพื่อมุมมองที่ชัดเจนกว่าโทนแสงอื่นๆ

จะเห็นได้ว่าการจัดห้องน้ำควรจัดให้ดีตั้งแต่เนิ่นๆ ไม่ใช่คิดว่า พ่อแม่เรายังไม่แก่มากก็ยังไม่ทำ ปล่อยไว้ก่อนอยู่แบบนั้น ทางที่ดี ควรทำอย่างรอบคอบ ใส่ใจในทุกรายละเอียดที่จำเป็น

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

ปรับบ้านดี ป้องกันผู้สูงวัยพลัดหกล้มได้!

การจัดห้องครัวดีนอกจากจะช่วยให้ปลอดภัย ยังทำให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตต่อไปได้อีกนาน

นโยบายรองรับผู้สูงอายุ 4 มิติ เพื่อสุขภาวะที่ดี

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.