ปรับบ้านดี ป้องกันผู้สูงวัยพลัดหกล้มได้!

จัดบ้านเป็น ปลอดภัย เพื่อผู้สูงวัยชีวิตดี๊ดี!

“บ้าน” สถานที่คิดว่าปลอดภัยที่สุด แต่สำหรับ “ผู้สูงวัย” แล้ว บ้านอาจเป็นอันตรายหรือร้ายกว่าที่คิดหากเราไม่เตรียมพร้อมป้องกันให้ดี อาจทำให้ท่านลื่นหกล้มบาดเจ็บ พิการ และเสียชีวิต จนอาจกลายเป็นฝันร้ายของคนในบ้าน

อย่างที่เราทราบกันดีว่า เรื่องความเสื่อมของร่างกาย ไม่อาจแก้ไขให้ดีขึ้นได้มากนัก แต่การจัดสภาพแวดล้อมในบ้านให้ดีเพื่อการอยู่อาศัยที่มีคุณภาพ ช่วยป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่เรารักได้ เพราะผู้สูงอายุใช้เวลาส่วนใหญ่ในบ้านพักอาศัย ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมในบ้านที่เหมาะสมถือเป็นการป้องกันที่ดีอย่างแรกที่ควรทำนั่นเองค่ะ

ข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข ระบุว่า เพื่อป้องกันการหกล้มว่า หลักการจัดสภาพแวดล้อมในบ้านสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่

1.พื้น ควรปรับให้เป็นพื้นเรียบ ไม่ขรุขระและไม่ขัดมันจนลื่น โดยเฉพาะห้องน้ำ เพราะการเปียกลื่นทำให้เกิดอุบัติเหตุง่ายและรุนแรง ควรหมั่นทำความสะอาดไม่ให้มีคราบสบู่หรือตะไคร่ตกค้างบนพื้น อาจนำแผ่นกันลื่นมาวางไว้ ทำราวเกาะไว้ยึดทรงตัว เปลี่ยนส่วนส้วมซึมเป็นแบบนั่งราบ เพราะส้วมซึมจะทำให้ลำบากและปวดในการงอเข่า เวลาลุกนั่งอาจเซหรือล้มได้ และบริเวณบ้านไม่ควรมีพื้นต่างระดับ เพราะอาจทำให้สะดุดหกล้ม

2.บันได ควรติดตั้งราวจับ แต่ละขั้นควรมีความสูงเสมอกัน ไม่ชันมากจนเกินไป ไม่วางของกีดขวางทางเดิน ควรมีแสงสว่างเพียงพอตลอดแนวบันได

ทั้งนี้ พบว่าในต่างจังหวัดบันไดบ้านมักจะมีลักษณะแคบ สูงชัน และมีพื้นของบันไดที่ไม่เรียบเสมอกัน จึงมักทำให้ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุพลัดตกลงมา ดังนั้น ควรเพิ่มความกว้างของช่องทางเดิน และขยายความกว้างของขั้นบันได

หรือถ้าเป็นไปได้ควรให้ผู้สูงอายุพักอาศัยบริเวณชั้นล่าง

3.แสงสว่างต้องมีเพียงพอ โดยเฉพาะบันได ห้องน้ำ ประตู และทางเดิน สวิตซ์ไฟอยู่ในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุสามารถใช้ได้สะดวก

4.ไม่ควรมีธรณีประตู ประตูควรเป็นบานเลื่อน หรือประตูแบบเปิดออก เพื่อให้คนอื่นสามารถเข้าไปช่วยเหลือได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุหกล้ม

5.ห้องนอนควรจัดให้อยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไป มีแสงสว่างเพียงพอ ข้างเตียงมีราวจับ

6.เก้าอี้ ควรมีพนักพิง และมีความสูงในระดับที่สามารถวางเท้าถึงพื้นได้ และไม่ควรทำด้วยวัสดุที่หนักเกินไป (**ข้อความอะไรหายไป หลังคำว่า และ หรือเปล่าคะ) และ

7.สัญญาณขอความช่วยเหลือ เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรติดไว้ตามจุดต่างๆ ภายในบ้าน เพื่อให้มาช่วยเหลือได้ทัน

การจัดบ้านดี ปรับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกบ้านให้ดี ถือเป็นยากันล้มร่างกายผู้สูงอายุที่เรารักให้ห่างไกลอันตรายได้เป็นอย่างดีเลยละค่ะ

ซึ่งนอกจากการจัดบ้านให้ถูกสุขลักษณะที่ดีแล้ว ภายในบ้านจะต้องปรับการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆ ให้ไม่กีดขวางทางเดินของผู้สูงอายุ ไม่วางของบริเวณบันได และบันไดควรจะปรับให้มีราวจับยึดที่มั่นคง

ในส่วนของพื้นที่ลื่น ถ้าเป็นไปได้จะต้องปรับพื้นผิวของพื้นให้มีความหยาบและมีลวดลายน้อยที่สุด รวมถึงสีของพรมหรือผนังบ้านควรมีสีทีชัดเจนและแยกจากสีของพื้นบ้าน

ในส่วนของพื้นที่มีความต่างระดับ ควรทำเครื่องหมายให้สังเกตได้ชัดเจน สีแดง เขียว และเหลือง เป็นสีที่ผู้สูงอายุมองเห็นได้ชัดเจน

และหลีกเลี่ยงไม่ใช้เสื้อผ้าเก่ามาเป็นผ้าเช็ดเท้าเนื่องจากจะมีความลื่น ทำให้ผู้สูงอายุสะดุดได้ง่าย

ระมัดระวังสายชาร์จโทรศัพท์หรือพรม (กรณีที่ต้องมี) ระวังไม่ให้ขวางทางเดิน ขอบพรมควรใช้เทปกาวติดยึดกับพื้นเพื่อป้องกันกันผู้สูงอายุสะดุดขอบพรมอีกด้วย

“ชีวจิต” หวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้เป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอเรื่องราวดีๆ เพื่อให้คุณภาพชีวิตของทุกคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เรารักได้มีชีวิตที่ดีมากขึ้น

บทความที่นี้จึงมุ่งหวังที่จะนำเสนอมุมมองใหม่ในการสร้างเสริมให้ผู้สูงอายุไทยดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพด้วยการจัดบ้านด อีกทั้งยังนำพาชีวิตสุขสันต์ด้วยตัวของผู้สูงอายุเป็นหลักนั่นเอง

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่นอนดี ชีวิตดี! เทคนิคเลือกที่นอนคุณภาพให้พ่อแม่!

การจัดห้องครัวดีนอกจากจะช่วยให้ปลอดภัย ยังทำให้ผู้สูงวัยใช้ชีวิตต่อไปได้อีกนาน

ปรับสมดุลตรีธาตุ ช่วยลดปัญหาการย่อยและดูดซึมอาหาร ในผู้สูงอายุ

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.