ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5

ค้นหาความจริง ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯห่วง ! จากกรุงเทพฯถึงเชียงใหม่ค้นหาความจริง ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5

ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากคณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยภัยร้ายจาก ฝุ่นพิษมรณะ PM 2.5 ส่งผลกระทบทุกระบบของร่างกาย

เริ่มตั้งแต่ระบบทางเดินหายใจ ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบสมองและเส้นประสาทส่งผลกระทบถึงเด็กโดยสมองของเด็กจะเหี่ยวเล็กลงและเกิดสมาธิสั้น

ศ.นพ.ชายชาญ โพธิรัตน์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคระบบการหายใจเวชบำบัดวิกฤตและภูมิแพ้อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ฝุ่นมรณะ PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากที่สุด

ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5

จากการศึกษาวิจัยพบว่าประชากรของประเทศไทยได้รับผลกระทบด้านชีวิตและสุขภาพ
จากฝุ่นมลพิษแทบทุกภาคมาอย่างยาวนานกว่าทศวรรษและทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงฤดูแล้ง (ช่วงเดือนธันวาคม – เมษายน) โดยเฉพาะ 3-5 ปีล่าสุด

โดยแหล่งกำเนิดมลพิษที่เป็นปัญหาและมีผลกระทบต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชนมากที่สุดในช่วงฤดูแล้ง คือการเผาในพื้นที่เกษตรเพิ่มขึ้นจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตร (โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอ้อย ข้าวโพด และข้าวในทุกภาคยกเว้นภาคใต้) และยังมีการทำเกษตรพืชเชิงเดี่ยวในพื้นที่ภูเขาบ่อยครั้งที่ไฟลุกลามออกนอกพื้นที่ปลูกกลายเป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งของไฟป่า (ภาคเหนือตอนบน) ตลอดจนมีการเพิ่มการเผาพื้นที่เกษตรจากการส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรในประเทศเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน ทำให้พื้นที่ทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ได้รับผลกระทบจาก PM2.5

ในช่วงฤดูแล้งกันอย่างถ้วนทั่ว รวมทั้งกรุงเทพฯและปริมณฑลที่ได้รับ PM2.5 จากการเผาอุตสาหกรรมเกษตรเป็นหลักด้วยเช่นกัน เพราะกระแสลมที่พัดมวล PM2.5 จากแหล่งกาเนิดเข้าสู่กรุงเทพฯและ ปริมณฑลร่วมกับสภาพความกดอากาศการกักขังอากาศไม่มีการถ่ายเทเอื้อให้มลพิษ PM2.5 ลอยแขวนในบรรยากาศอยู่นาน ทำให้สัดส่วนแหล่งกำเนิด PM2.5 มาจากการเผาอุตสาหกรรมเกษตรมีอิทธิพลมากกว่ามลพิษจากการจราจรหรือมลพิษจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม

กล่าวโดยสรุปได้ว่ามลพิษ PM2.5 ในประเทศไทยในช่วงฤดูแล้งเกิดจากการเผาอุตสาหกรรมเกษตร อ้อย ข้าวโพดและข้าว เป็นหลัก และถูกซ้ำเติมด้วยการเผาอุตสาหกรรมเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งสาธารณรัฐกัมพูชา และสาธารณรัฐเมียนมาร์

อ.นพ.รังสฤษฏ์ กาญจนะวณิชย์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ได้แก่ ระบบการหายใจ (เช่น โพรงจมูกอักเสบทั้งแบบภูมิแพ้ และติดเชื้อหลอดคอ กล่องเสียงและหลอดลมอักเสบ หอบหืด โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดอักเสบ)

ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5

การอักเสบจาก PM2.5 ส่งเสริมให้ระบบการหายใจมีการอักเสบ มากขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อได้รับสารก่อแพ้และการอักเสบจาก PM2.5 ยังทำให้ติดเชื้อ (เช่นไวรัสไข้หวัด ไวรัส ไข้หวัดใหญ่ แบคทีเรีย)ได้ง่ายและรุนแรงมากขึ้นหลายเท่า และจำนวนไม่น้อยที่เกิดการอักเสบทั้งแบบ ภูมิแพ้และแบบติดเชื้อผสมผสานกัน ระบบหัวใจ(กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจล้มเหลว) ระบบหลอดเลือด (หลอดเลือดไปเลี้ยงสมองเสื่อม โรคstroke ของหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบ หลอดเลือดดำอุดตัน) ระบบสมอง(สมองด้อยประสิทธิภาพ สมองเสื่อม สมาธิสั้นและระบบจิตประสาท (อารมณ์แปรปรวน ความผิดปกติทางจิตแบบซึมเศร้าและฆ่าตัวตาย) และมีส่วนทำให้เกิดมะเร็งของอวัยวะต่าง ๆ (โดยเฉพาะมะเร็งปอด)

ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5

ดังนั้น PM2.5 จึงเป็นมลพิษที่เป็นสาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิตทั้งแบบฉับพลัน เฉียบพลัน
และทำให้อายุขัยสั้นลง เป็นสาเหตุสำคัญของการเจ็บป่วยทั้งฉับพลันและเฉียบพลันอาจรุนแรง ถึงกับต้องไปรับการรักษาที่แผนกฉุกเฉินหรือต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล
เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังโดยเฉพาะโรคภูมิแพ้ โรคระบบการหายใจ โรคหัวใจและหลอดเลือดหรือทำให้โรคเรื้อรังดังกล่าว มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นรวมทั้งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งปอด

ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5
รศ.พญ.ศิวาพร จันทร์กระจ่าง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญหน่วยประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ผลกระทบของฝุ่น PM2.5 กับสมองและเส้นเลือดสมองและระบบประสาทด้วย ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรังผนังเส้นเลือดจาก ฝุ่นละออง PM2.5 ทำให้เส้นเลือดสมองเสื่อม และเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง

ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5

นอกจากนี้ปัญหายังส่งผลกระทบถึงเด็ก โดยสมองของเด็กจะเหี่ยวเล็กลง รวมถึงส่งผลทำให้เกิดสมาธิสั้นได้ด้วย และจากการสำรวจเมื่อปี 2552 จำนวนผู้เสียชีวิตรายปีจากค่าเฉลี่ยฝุ่นมรณะPM2.5 อยู่ที่ 38,410 ราย และหากเทียบกับจำนวนการเกิดอุบัติเหตุจากทางท้องถนนต่อปี ประมาณ 9,490 ราย ยังถือว่าแตกต่างกันมาก

ดังนั้นการลดปริมาณฝุ่นมรณะลงได้ 20% จะสามารถลดการเสียชีวิตของผู้คนลงถึง 22% เลยทีเดียว

โดยสรุปสำหรับชาวเชียงใหม่ หากฝุ่นมรณะPM2.5 รายวันเพิ่มขึ้น 10 มคก./ลบ.ม
จะสัมพันธ์ชัดเจนกับจำนวนผู้เสียชีวิตรายวันที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 ภายใน 1 สัปดาห์ ส่วนที่อำเภอเชียงดาว หากชาวเชียงดาวได้รับฝุ่นมรณะPM2.5 รายวันเพิ่มขึ้น 10 มคก./ลบ.ม จำนวนผู้เสียชีวิตรายวันจะเพิ่มขึ้น ร้อยละ 3.5 ภายใน 1 สัปดาห์และผู้ป่วยที่นอนรับการรักษาในโรงพยาบาลเสียชีวิตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 15 และในวันที่ค่าฝุ่นพิษ PM10 เกินค่ามาตรฐาน โรคหอบหืดกำเริบเพิ่มขึ้น 35% และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกำเริบเพิ่มขึ้น 29%

ฝุ่นพิษมรณะ PM2.5 อันตรายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เราควรช่วยป้องกันประเทศของเรากันนะคะ

บทความเพิ่มเติม

13 โรค เสี่ยงจาก ฝุ่นPM2.5

รีวิวเครื่องฟอกอากาศ ป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 เพื่อสุขภาพ

คู่มือเลือก เครื่องฟอกอากาศ ป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5

ปลูกต้นไม้ดูดสารพิษพิชิต PM 2.5

สูงวัยต้องระวัง! ผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 นั้นร้ายแรงกว่าที่คิด

วิธีป้องกันฝุ่น PM2.5 ที่มากระทบสมอง ปอด หัวใจ ของผู้สูงอายุ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.