สูงวัยต้องระวัง! ผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 นั้นร้ายแรงกว่าที่คิด

ช่วงนี้หากไม่พูดถึงเรื่องของมลพิษก็คงจะไม่ได้ เพราะขึ้นชื่อว่ามลพิษ ก็นับว่าเลวร้ายทั้งสิ้น ยิ่งมลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศที่มีขนาดเล็กลงไปอีกยิ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างแท้จริง เนื่องจากมันสามารถถูกสูดหายใจเข้าไป และมีขนาดเล็กพอที่จะเข้าไปลึกถึงปอดและทางเดินหายใจได้ บางอนุภาคอาจจะเข้าไปถึงกระแสเลือดและไหลเวียนทั่วร่างกายของเราได้ในที่สุด

ทั้งนี้ “อากาศ” เป็นหนึ่งในความต้องการพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการอยู่รอดของมนุษย์ เมื่ออากาศเต็มไปด้วยมลพิษ ทั้งจากก๊าซอันตราย ลุ่นละอองขนาดเล็กอย่าง PM 2.5 ที่ทำร้ายระบบทางเดินหายใจ หัวใจ เยื่อบุนัยน์ตา จมูก ซึ่งเจ้ามลพิษอากาศชนิดนี้ได้สร้างความตื่นตระหนกอย่างยิ่งให้สังคมไทย ซึ่งทางรัฐบาลก็ก็ได้ออกมาแถลงการณ์เตือนเกี่ยวกับฝุ่นละอองที่เกินมาตรฐานอยู่อย่างต่อเนื่อง พร้อมถึงวิธีรับมือกับเจ้าฝุ่นตัวร้ายนี้กันอยู่ตลอด

องค์การอนามัยโลกได้ออกแนวทางกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศ (Air Quality Guideline : AQG) เพื่อเป็นหลักเกณฑ์กลางให้ทุกประเทศใช้อ้างอิง โดยชี้ว่าไม่มีระดับปริมาณสารมลพิษระดับใดที่ถือได้ว่าปลอดภัยสำหรับทุกคน เนื่องจากร่างกายของแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลาต่างกัน ตัวเลขที่กำหนดไว้จึงเป็นค่าเป้าหมาย ที่มีหลักฐานวิชาการ สนับสนุนว่าเป็นระดับปริมาณสารมลพิษที่มีผลกระทบต่อ สุขภาพน้อยที่สุดที่ยอมรับได้

โดยแนวทางนี้ได้กำหนดตัวเลข ที่สูงขึ้นเป็น 3 ระดับขึ้น เรียกว่าเป้าหมายระหว่างทาง (Interim Target) เพื่อให้แต่ละประเทศใช้กำหนดค่ามาตรฐานที่สอดคล้องกับบริบทของตนเองโดยคาดหวังให้มีการดำเนินการเพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศ

สำหรับประเทศไทย เพิ่งมีการเพิ่ม PM 2.5 เข้ามาในรายการสารมลพิษที่ต้องตรวจวัดและควบคุมตั้งแต่ปี 2553 โดยเลือกใช้เป้าหมายระหว่างทางระดับที่ 2 ขององค์การอนามัยโลกมากำหนดเป็นมาตรฐานคุณภาพอากาศของประเทศ ซึ่งปัจจุบันเป็นมาตรฐานระดับเดียวกับมาเลเซีย และเกาหลีใต้ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายหรือมาตรการอะไรที่บังคับว่าต้องมีการปรับเกณฑ์มาตรฐานเป็นระยะ อย่างเช่น หน่วยงาน EPA ของสหรัฐอเมริกาเคยถูกฟ้องร้องเนื่องจากไม่ปรับเกณฑ์มาตรฐานตามที่บทบัญญัติของกฎหมายอากาศสะอาด (Clean Air Act) กำหนดไว้

ผลกระทบจาก PM 2.5 ที่มีต่อคุณตา คุณยาย

ยิ่งผู้สูงอายุด้วยแล้วร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายที่จำเพาะ หลาย ๆ ท่านมักมีโรคประจำตัวเรื้อรังร่วมด้วย ทำให้มีโอกาสเจ็บป่วยได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝุ่นจิ๋ว หรือ PM 2.5 ปริมาณมาก ฝุ่นจิ๋วนี้เมื่อผู้สูงอายุสูดหายใจเข้าไป สามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยตรงและส่งผลกระทบต่อร่างกายได้อย่างคาดไม่ถึง

ผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 จะะสมตามหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดแข็งตัวหรือตีบตัน หากเป็นหลอดเลือดที่สมอง ทำให้มีโอกาสเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้ หากสะสมที่หลอดเลือดหัวใจก็ทำให้มีโอกาสเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจวายเฉียบพลัน รวมถึงสะสมในปอด ผู้สูงอายุที่มีโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว เช่น โรคถุงลมโป่งพอง โรคหอบหืด ฝุ่นจิ๋วสามารถทำให้โรคกำเริบเฉียบพลันได้ นอกจากนั้นยังเพิ่มโอกาสเกิดมะเร็งปอด หากได้รับฝุ่นจิ๋วปริมาณมากและนาน สะสมในสมอง ทำให้เกิดการหลั่งสารอักเสบชนิดต่าง ๆ ส่งผลให้เซลล์สมองได้รับบาดเจ็บและเกิดภาวะสมองเสื่อมเร็วกว่าปกติ

แต่ก็อย่างว่านั่นแหละค่ะ ถึงแม้ว่าจะมีการประกาศเตือนกันอย่างไร แต่ก็ยังมีผู้ที่ไม่รู้ถึงพิษภัยของฝุ่น PM 2.5 กันอยู่จำนวนมาก ทำให้ปล่อยปละละเลยในการใส่ใจดูแล ปกป้องตัวเองจากเจ้าฝุ่นร้ายนี้ ทำให้พบว่ามีผู้ป่วยในระบบทางเดินหายใจมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเด็ก และผู้สูงอายุ

โดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มเสี่ยง ที่เป็นผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ ผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ยิ่งต้องดูแลสุขภาพในช่วงที่ค่าของฝุ่นเกินมาตรฐานให้ดีเลยล่ะค่ะ 

ความร้ายกาจจากเจ้าฝุ่นเจิ๋ว PM 2.5 นี้ สามารถผ่านการกรองของขนจมูกและเข้าสู่ชั้นในสุดของปอดได้ แม้ฝุ่นจิ๋วจะไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกายแบบเฉียบพลัน แต่ต้องใช้เวลาสะสมนับสิบปีถึงจะแสดงผล แต่ก็เป็นตัวกลางที่ทำหน้าที่พาสารอื่นๆ เข้าสู่ปอด ด้วยการหลั่งสารเหล่านั้นมาเคลือบบนผิวของตัวมันเอง เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก เป็นต้น

จากข้อมูลที่สื่อต่างๆ ได้นำเสนอให้ทุกคนรู้จักฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว PM2.5 รวมถึงถึงพิษภัยและอันตรายกันไปแล้ว เราอยากมาย้ำเตือนกันอีกที สำหรับวิธีป้องกันและรับมือกับเจ้าฝุ่นนี้ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่น่าเป็นห่วงที่สุดค่ะ

>>อ่านต่อหน้าถัดไป<<

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.