หลักโภชนาการ พระสงฆ์ ตักบาตร

คำแนะนำในการเลือกอาหารที่ถูกหลักโภชนาการสำหรับพระสงฆ์

วิธีปฏิบัติที่เหมาะสมในการปรุงอาหารและเลือกซื้ออาหารถวายพระ

การเลือกซื้ออาหารเพื่อใส่บาตรถือเป็นการใส่ใจที่พุทธศาสนิกชนควรคำนึงถึงสุขภาพของพระสงฆ์เป็นหลัก เพื่อช่วยดูแลสุขภาพของพระสงฆ์ให้ดีและแข็งเเรง ทั้งนี้ไม่ว่าผู้ทำบุญใส่บาตรหรือซื้อจากร้านค้า ล้วนมีแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสมในการเลือกอาหารใส่่บาตร ดังต่อไปนี้

1. ควรจัดอาหารถวายพระให้หลากหลายครบ 5 หมู่ และควรเลือกปรุงจากวัตถุดิบที่ถูกหลักโภชนาการ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ ปลา และควรถวายอาหารประเภทผักทุกมื้อ โดยเฉพาะผักพื้นบ้านเพื่อลดความเสี่ยงจากสารเคมีปนเปื้อน

2. เลือกใส่บาตรข้าวกล้องแทนข้าวขาว เพราะมีคุณประโยชน์จากข้าวกล้อง มีวิตามินบี1-12 โดยเฉพาะวิตามินบี 6 ช่วยแก้อาการเหน็บชา ปวดเมื่อยตามข้อ เหมาะสำหรับพระสงฆ์ที่มีอายุมาก

3. ในเเต่ละมื้อควรมีอาหารประเภทต้ม นึ่งย่าง (แบบไม่ไหม้) แกงไม่ใส่กะทิ และอาจมีอาหารประเภทผัดหรือทอดที่ใช้น้ำมันน้อย ควรจัดอาหารที่ให้พลังงานต่ำ เช่น ปลานึ่ง แกงส้ม แกงเลียง แกงจืด ยำต่างๆ น้ำพริก-ผักสดผักลวก เป็นต้น

4. การปรุงอาหารประเภททอดหรือผัด ควรเปลี่ยนมาใช้น้ำมันพืชปรุงอาหาร เช่น น้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวันปรุงอาหาร เพราะเป็นไขมันที่ไม่เป็นโทษต่อร่างกาย และมีกรดไขมันอิ่มตัวที่เป็นประโยชน์ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี

5. อย่าปรุงอาหารให้มีรสเค็มจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด หรือเผ็ดจัดจนเกินไป

6.หลีกเลี่ยงการจัดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูงในมื้อเดียวกัน เช่น เครื่องในสัตว์ ปลาหมึก หรืออาหารที่มีกะทิ เป็นต้น

7.จัดให้มีผลไม้รสไม่หวานจัด เช่น ฝรั่ง ชมพู่ ส้ม แตงโม มะละกอ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามนอกจากเลือดอาหารตาม หลักโภชนาการ พระสงฆ์ แล้ว ในภาพรวมพุทธศาสนิกชนจะเลือกใส่บาตรอาหารอะไรก็ได้ที่ไม่มันมากและรสไม่จัด ลดอาหารประเภทผัดและทอด โดยเฉพาะควรเป็นอาหารที่ทำเองดีที่สุด

ข้อมูลจาก หนังสือโภชนปฏิบัติเพื่อสุขภาพพระสงฆ์ โดย พินิจ ลาภธนานนท์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทความน่าสนใจ

5 อาหารก่อมะเร็ง ที่ควรเลิกกินได้แล้ว (ถ้าทำได้)

ไมโครกรีน (ผักต้นอ่อน) :สุดยอดแหล่งโภชนาการ และวิธีปลูก

อะโวคาโด สุดยอดผลไม้โภชนาการสูง

แนะนำโภชนาการ คุณแม่ลูกอ่อนที่ต้องทำงาน ให้แข็งแรง ไกลโรค

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.