ตับอักเสบ โรคตับ ตับ แพทย์แผนจีน

เยียวยาภาวะ ตับอักเสบ ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีน

หลีกเลี่ยง 9 ปัจจัยเสี่ยงทำลายระบบการทำงานของตับ

1. ความเครียด

หลีกเลี่ยงอารมณ์รุนแรง โกรธ ฉุนเฉียวควรฝึกสมาธิหรือการปล่อยวางความคิด ประมาณวันละ 15 – 30 นาที

 

2. นอนดึก

นอนไม่เพียงพอ ควรฝึกร่างกายเข้านอนตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้เลือดกลับเข้ามาสู่ตับร่างกายได้เก็บพลังงาน เก็บเลือด ซ่อมแซมร่างกาย เสมือนได้ชาร์จไฟโทรศัพท์มือถือ

 

3. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์

เมื่อดื่มแอลกอฮอล์เข้าร่างกายจะอยู่ในกระเพาะอาหารประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ และถูกส่งไปที่ตับประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นภาระกับตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ไขมันพอกตับ เกิดพังผืดในตับ ระยะยาวเกิดภาวะตับแข็งลุกลามเป็นมะเร็งได้

 

4. หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหลังกินข้าว

ควรเว้นระยะประมาณ 1 – 2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ร่างกายดึงเลือดจากกระเพาะอาหารไปที่อวัยวะอื่น เช่น ปอด หัวใจ ทำให้ระบบการย่อยอาหารไม่สมบูรณ์ ขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ควรพักจิตใจหรือทำกิจกรรมที่ต้องใช้พลังเพื่อควบคุมเลือดไม่ให้กระจายไปสู่ภายนอก

 

5. ความเมื่อยล้าอ่อนล้า

เมื่อร่างกายเกิดอาการเมื่อยล้าจะส่งผลให้การทำงานของตับไม่สมดุล เพราะฉะนั้นควรปิดตาสงบจิต หรือนอนพักให้เพียงพอ เพื่อดึงเลือดกลับสู่ร่างกายบรรเทาอาการอ่อนล้า

 

ตับอักเสบ โรคตับ ตับ แพทย์แผนจีน

6. หลีกเลี่ยงการกินอาหารมื้อดึก

ตับจะทำงานช่วงเวลากลางคืนขณะที่ร่างกายปิดตานอนหลับ เป็นช่วงที่ร่างกายเกิดความสงบ จึงไม่ควรกินอาหารมื้อดึกซึ่งเป็นการขัดขวางการเก็บเลือดของตับ เพราะการย่อยอาหารต้องดึงเลือดไปที่กระเพาะอาหาร ระยะเวลาที่ควรกินมื้อเย็นกับเวลานอนจึงควรห่างกันประมาณ 4 ชั่วโมง

 

7. หลีกเลี่ยงการใช้สายตาตอนดึก

งดการทำงาน การดูจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์ในเวลากลางคืน ควรพักสายตาจากการใช้งานทั้งวัน เพื่อปิดสิ่งเร้า สิ่งกระตุ้นให้ระบบของตับได้ทำงานเต็มที่

 

8. หลีกเลี่ยงอาหารเย็น

อาหารเย็นในความหมายของคนจีนคือ อาหารที่เย็นจัด น้ำเย็น อาหารที่แช่เย็น เมื่อร่างกายกินของเย็นเข้าไปจะทำให้การไหลเวียนเลือดช้าลง รบกวนการขับเคลื่อนเลือด

 

9. งดสูบบุหรี่

เพราะสารเคมีในบุหรี่เมื่อเข้าสู่กระแสเลือดจะส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับ และเป็นภาระหนักในการดูดซึมสารพิษ ทำลายสารพิษมากขึ้น

 

ท้ายนี้ผู้อ่านจะเห็นว่า การดูแลระบบการทำงานของตับนั้นต้องดูแลสุขภาพ ปรับวิถีชีวิตประจำวันให้ดี มีการกินอาหารให้ถูกต้องสอดคล้องกับสภาพร่างกาย และมีการนอนในเวลาที่เหมาะสม การนอนหลับสนิทให้เพียงพอ มีอารมณ์ที่ปลอดโปร่งเพิ่มพลังบวกให้ร่างกาย ฝึกทำสมาธิระหว่างวัน โดยเฉพาะเวลาที่ร่างกายอ่อนล้า เพื่อช่วยการทำงานของตับให้สมดุล

 

ศาสตราจารย์คลินิกแพทย์จีน นายแพทย์ภาสกิจ วัณนาวิบูล

อุปนายกและเลขาธิการสมาคมแพทย์แผนจีนประเทศไทยวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออกมหาวิทยาลัยรังสิต

ข้อมูลจาก คอลัมน์หมอจีนประจำบ้าน นิตยสารชีวจิต ฉบับ 506


บทความน่าสนใจอื่นๆ

“ตับ” ของเราป่วยด้วยอาการใดได้บ้าง

“ไขมันพอกตับ” ภัยเงียบของคนอ้วน รักษาด้วยสมุนไพร

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.