ไขมันพอกตับ ภัยเงียบของคนอ้วน รักษาด้วยสมุนไพร

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบของคนอ้วน สามารถรักษาด้วยสมุนไพร

ไขมันพอกตับ หลายคนอาจคิดว่าโรคนี้มักจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำเท่านั้น แต่ความจริงแล้ว โรคไขมันพอกตับ ในผู้ที่ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ หรือ Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) เกิดจากการสังเคราะห์ไขมันในตับผิดปกติ โดยความผิดปกติและพัฒนาการของโรคจะดำเนินไปเช่นเดียวกับผู้ป่วยโรคตับกลุ่มที่ดื่มสุราเป็นประจำ แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่า ก็คือ ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น เลยไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่แรกเริ่มที่เป็นโรค

โรคไขมันพอกตับ แบ่งได้เป็น 4 ระยะ คือ

  • ระยะที่1 เป็นระยะมีไขมันก่อตัวอยู่ในเนื้อตับ ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดผลใด ๆ
  • ระยะที่ 2 เป็นระยะที่เริ่มมีอาการอักเสบของตับ ในระยะนี้หากไม่ควบคุมดูแลให้ดี และปล่อยให้การอักเสบดำเนินไปเรื่อยๆ เกินกว่า 6 เดือน จะกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ระยะที่3 เป็นระยะที่มีการอักเสบรุนแรง ก่อให้เกิดพังผืดในตับ เซลล์ตับค่อยๆ ถูกทำลายลง
  • ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์ตับถูกทำลายไปมาก ตับไม่อาจทำงานได้ตามปกติอีกต่อไป ตับแข็ง และอาจกลายเป็นมะเร็งตับ

ปัจจุบัน มีแนวโน้มพบผู้ป่วยโรคนี้สูงขึ้นเรื่อยๆ ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยโรคไขมันพอกตับนี้แทบจะไม่แสดงอาการ หรืออาจแสดงอาการเพียงเล็กน้อย เช่น อ่อนเพลีย คลื่นไส้ มีอาการตึงๆ บริเวณใต้ชายโครงขวา แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะพบโรคนี้ด้วยความบังเอิญเมื่อมารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือตรวจอัลตราซาวนด์เพื่อรักษาโรคอื่น

โรคไขมันพอกตับ หรือ ไขมันเกาะตับ หรือ ไขมันจุกตับ (Fatty liver) คือโรคที่มีไขมันเข้าไปอยู่ในเซลล์ตับเกินปกติ คือ ประมาณ 5-10 % ของตับโดยน้ำหนัก โดยทั่วไปมักเป็นไขมันชนิดไตรกลีเซรายด์(Triglyceride) ซึ่งจะพบใน 75% ในคนที่เป็นโรคอ้วน, 50.1% ของผู้ป่วยเบาหวาน และ 57.7% ของผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ โดยวินิจฉัยได้จากการตรวอัลตราซาวน์ และตรวจเลือดดูค่าตับ หากไม่ได้รับการรักษา จะนำไปสู่โรคตับอักเสบ ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ในที่สุด

ตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง โรคตับ ไขมันพอกตับ มะเร็งตับ ตับอ่อน

รักษาอย่างไรดี

แนวทางการรักษา คือ การลดละเลิกเหล้า แอลกอฮอล์ ควบคุมอาหาร ลดน้ำหนัก เลิกกินขนมจุกจิก ขนมขบเคี้ยว ลดแป้ง ลดหวาน ลดการรับประทานเนื้อแดงจากสัตว์ใหญ่ เช่น เนื้อหมู เนื้อวัว งดดื่มน้ำอัดลมและน้ำผลไม้ปรุงแต่ง บริโภคอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตชนิดที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ผลิตภัณฑ์จากนมไขมันต่ำ ผัก และควรออกกำลังกายเป็นประจำ

สำหรับ สมุนไพรทางเลือกบำรุงตับ และสามารถใช้ในภาวะไขมันพอกตับได้ ได้แก่

ขมิ้นชัน โดยรับประทานครั้งละ 2 แคปซูล หลังอาหาร 3 มื้อ

มะขามป้อม หรือ ตรีผลา (สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม) รับประทานครั้งละ 1 แก้ว 3 มื้อ โดยให้รับประทานต่อเนื่องอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป

ลูกใต้ใบ ให้ต้มดื่มครั้งละ 1 แก้ว ก่อนอาหารเช้า เย็น

รางจืด ให้รับประทาน 2 แคปซูล ก่อนอาหาร 3 มื้อ โดยรับประทาน 7 วัน เว้น 4 วัน และหากรับประทานร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ต้องรับประทานห่างกันอย่างน้อย 2 ชั่วโมง

และสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วย ก็คือ การไปพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ และติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกัน ไขมันพอกตับ

ที่มา : โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร

 

——————————————————————————————————————

บทความน่าสนใจอื่นๆ

คู่นี้กินเเล้วรุ่ง แนะวิธีจับคู่สมุนไพร ตัวไหนดี ตัวไหนเริ่ด บำรุงเลือด ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ ภัยเงียบที่อาจมาเยือนโดยที่เราไม่รู้ตัว

งานวิจัยแนะนำ กินอาหารอย่างไร ไม่ให้เป็นไขมันพอกตับ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.