เทรนด์สุขภาพคนไทย2020 2563

เทรนด์สุขภาพคนไทย 2020 ที่น่าจับตามองที่สุด 10 อันดับ

เทรนด์สุขภาพคนไทย 2020

เทรนด์สุขภาพคนไทย 2020 ที่น่าจับตามองมากที่สุดมีอะไรบ้าง หลายคนคงอยากจะรู้ และเตรียมวางแผนการดูแลสุขภาพของตัวเองและคนรอบข้าง สำหรับในปีนี้สำนักงานส่งเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิด 10 พฤติกรรมสุขภาพคนไทยน่าจับตามอง ปี 2563 (ThaiHealth WATCH 2020)

อิทธิพลจากโลก Socialmedia ส่งผลต่อสุขภาพคนไทยโดยรวมในหลายมิติ ปัจจุบัน 2 ใน 3 ของโรคที่เกิดขึ้นมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและปัจจัยแวดล้อมทางสังคมที่ส่งผลต่อสุขภาพ Social Trend เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมด้านสุขภาพที่น่าจับตามอง 10 ประเด็น ดังนี้

1. “แค่เครียดหรือซึมเศร้า”

ความเสี่ยงสำคัญของผู้ป่วยซึมเศร้าคือ อาจนำไปสู่ “การฆ่าตัวตาย” ได้ จากผลการสำรวจพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้า 2.9 ล้านคน พบสาเหตุหลัก คือ หน้าที่การงาน การถูกกลั่นแกล้ง ความรุนแรง ความสัมพันธ์

ซึมเศร้า, โรคซึมเศร้า, อาการซึมเศร้า, ความรู้สึกผิด, แก้อาการซึมเศร้า
ความรู้สึกผิดกับอะไรบางอย่าง ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้

2. ภัยคุกคามออนไลน์

ยิ่งเสพติดออนไลน์ยิ่งเสี่ยงสูง Gen Z (อายุน้อยกว่า 18 ปี) เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีใช้เวลาอยู่กับการท่องโลกอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10.22 ชั่วโมงต่อวัน มีกิจกรรมอันดับ 1 คือ โซเชียลมีเดีย สิ่งที่น่าจับตามองมากที่สุด คือ ภัยคุกคามทางออนไลน์ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ

3. ทางเลือก-ทางรอด ของเด็กและวัยรุ่น

ในการเดินทาง “คนไทยสวมหมวกกันน็อคไม่ถึง 50% ในขณะที่เด็กเล็ก 92% ไม่สวมหมวกกันน็อก เหตุผลหลักคือ ความเคยชิน เดินทางระยะใกล้ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ พบแนวโน้มการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนยังคงอยู่ในระดับสูง

4. “กลัวท้องมากกว่าติดโรค”

ปัญหาคุณแม่วัยใสลดลงมาก แต่ในขณะเดียวกันอัตราการป่วยทางเพศสัมพันธ์ในกลุ่มวัยรุ่นสูงขึ้น โรคที่พบมากที่สุดคือ ซิฟิลิส หนองใน จากสถิติพบว่าวัยรุ่นมีอัตราการใช้ถุงยางอนามัยสูงขึ้น การใช้ถุงยางอนามัย “อย่างสม่ำเสมอ” ยังคงอยู่ในอัตราที่ต่ำ

5. E-Sport

เส้นทางระหว่างเด็กติดเกมและนักกีฬาอาชีพ 1 ใน 5 อาชีพในฝันของเด็กไทย Gen Z และ Y มองว่า E-Sport เป็นเอนเตอร์เทนเม้นท์ มีผลดีมากกว่าผลเสีย เด็กและเยาวชนเกินครึ่งทุ่มเทและใช้เวลาไปกับเกมไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมง เส้นแบ่งสำคัญของ E-Sport ก็คือ วินัยและการแบ่งเวลา

6. เปิดพฤติกรรมการกินอยู่อย่างไทย

วัยทำงานเน้นทานอาหารรสจัด กินผักไม่เพียงพอ เน้นหวาน มันเค็ม สูบบุหรี่ มลพิษทางอากาศ ซึ่งเป็นพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเสียชีวิตจากโรค NCDs เพราะ พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตจึงมีผลอย่างมากต่อการเกิดโรค

7. กัญชา

เมื่อใช้เป็น “ยา” รักษาโรค หลังจากที่กัญชาถูกปลดล็อคเป็นยารักษาโรค ในทางการแพทย์มีเพียง 4 โรคเท่านั้นที่รับรองว่าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาในการรักษาได้

กัญชา, สมุนไพร, ยาไทยผสมกัญชา, ตำหรับยาไทย, ยาไทย กัญชา รักษาโรคผิวหนัง
ตำรับยาไทยหลายตำรับ ในอดีตมีการนำกัญชามาผสม เพื่อใช้ในการบำบัดโรค

8. ชัวร์หรือมั่ว เชื่อได้หรือไม่ ?

คนไทยกว่า 57 ล้านคนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ในขณะที่ข่าวลวง หรือ Fake News ปะปนอยู่ คนจำนวนไม่น้อยตกเป็นเหยื่อหลงเชื่อและแชร์ข่าวลวงเหล่านี้โดยไม่รู้ตัว พบมากที่สุดคือกลุ่มผู้สูงอายุ

9. ชีวิตติดฝุ่นอันตราย (PM 2.5 และหมอกควัน)

ไทยติดอันดับการเสียชีวิตด้วยโรคทางเดินหายใจเป็นอันดับ 5 ของประชากรทั่วโลกในปี 2558 พบปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน เด็กและผู้สูงอายุจัดเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด

ฝุ่นละออง PM2.5, ฝุ่นละออง, ฝุ่น, PM 2.5, มลพิษทางอากาศ
ชาวเน็ตแชร์กระหึ่มโลกออนไลน์ ฝุ่นละออง PM2.5 ปกคลุมกทม.

10. อาหารขยะ

อาหารส่วนเกิน จะจัดการอย่างไรใต้วิถีแบบไทยๆ “พฤติกรรมคนไทย ทำไมไม่แยกขยะ” 1 ใน 3 ของอาหารที่ผลิตได้จะกลายไปเป็น “ขยะอาหาร” บางส่วนเป็นอาหารที่สามารถรับประทานได้และยังไม่มีวิธีการจัดการที่เป็นระบบ ความมั่นคงทางอาหารจึงกลายเป็นโจทย์สำคัญ

สสส.และภาคีเครือข่าย จับกระแสความสนใจที่มีการพูดถึงในสังคมผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในรอบ 1 ปี ที่ผ่านมา(Social Trend) เพื่อศึกษาแนวโน้มความสนใจของคนในสังคม รวมทั้งเจาะลึกถึงพฤติกรรมของคนไทยในแต่ละประเด็น เพื่อสร้างประสบการณ์ตรงในการเรียนรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้ในชีวิตจริง

จากข้อมูล เทรนด์สุขภาพ 2020 ที่กำลังจะถึงนี้ หวังว่าแฟนชีวจิตทุกคนเตรียมตัวดูแลตัวเองกันนะคะ อย่างน้อยให้นึกถึงการดูแลตัวตัวเองแบบชีวจิตค่ะ สุขภาพดีเเข็งแรงแน่นอน

อ้างอิง : สสส.

บทความน่าสนใจ

10 SUPER FOODS น่าจับตามอง เพื่อสุขภาพที่ดี ปี 2020

7 ไอเท็ม Glitter แต่งยังไงก็สนุกดูมีสไตล์ มิกซ์แอนด์แมทช์ให้ไม่หลุดเทรนด์

ยอดเทรนด์อาหารปี 2016 แบบไทยกินอะไรดี

เกาะกระแส อาหารต้านโรค เมนูขึ้นฉ่าย ลดความดันโลหิตสูงดีเยี่ยม

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.