คุณภาพอากาศโลกปี2561

กรีนพีช จัดงานแถลงข่าวรายงานการจัดอันดับคุณภาพอากาศโลก ปี 2561 

มลพิษ PM2.5 ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างไร

ผลกระทบจากฝุ่นPM2.5
ผลกระทบจากฝุ่นPM2.5

การสัมผัสมลพิษ PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น มะเร็งปอด โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจและโรคทางเดินหายใจ รวมถึงโรคหืดหอบ โดยเฉลี่ย ช่วงชีวิตของคนทั่วโลกจะสั้นลงประมาณ 1.8 ปี อันเนื่องมาจากมลพิษทางอากาศ หรืออีกนัยหนึ่ง หากมี คุณภาพอากาศโลก ที่ดี ทุกคนมีชีวิตอยู่ในอากาศดี เราจะมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น 1.8 ปี ยกตัวอยางเช่น เด็กที่อาศัยอยู่ในกรุงปักกิ่ง จาการ์ตา และฮานอย มลพิษทางอากาศเพิ่มความเสี่ยงจากการเสียชีวิตจากโรคทางเดินหายใจ 40% และ โรคหืดหอบ 20% ในผู้ใหญ่มีความเสียงของการเป็นโรคมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 25-30% และความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 2 เท่า  

คุณภาพอากาศโลกปี2561
ธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอรายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลกปี พ.ศ. 2561

คุณธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจำประเทศไทย กรีนพีช เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า ประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านมลพิษทางอากาศจากฝุุ่นมลพิษ PM2.5 โดยหน่วยงานท้องถิ่นและรัฐบาลระดับชาติสามารถช่วยจัดการกับผลกระทบของมลพิษทางอากาศได้ด้วยการให้ประชาชนสามารถเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐานในการตรวจสอบและรายงานผลมลพิษทางอากาศได้ ซึ่งสิ่งที่แสดงให้เห็นอย่างชัดถึงต้นตอของปัญหามลพิษทางอากาศ คือ การเผาไหม้ของเชื้อเพิงฟอสซิล อย่างเช่น ถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ อีกทั้งยังเลวร้ายลงจากการตัดไม้ทำลายป่า สิ่งที่เราต้องการเห็นคือ ให้ผู้นำของเราคิดอย่างจริงจังเกี่ยวกับการแก้ปัญหาสุขภาพและสภาพภูมิอากาศ โดยการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และในขณะเดียวกันต้องมีการรายงานคุณภาพอากาศที่ชัดเจน เพื่อให้สามารถดำเนินตามขั้นตอนเพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพและสภาพภูมิอากาศ 

 

คุณภาพอากาศโลกปี2561
จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอแผนปฏิบัติการของแต่ละประเทศในการจัดการปัญหามลพิษทางอากาศ

คุณจริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้พูดถึงวาระแห่งชาติมลพิษทางอากาศของประเทศไทย ว่าต้องการเรียกร้องให้กรมควบคุมมลพิษและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการอย่างเร่งด่วน ในการยกร่างมาตรฐานในบรรยากาศของ PM2.5 ขึ้นใหม่สำหรับประเทศไทย โดยกำหนดค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง เป็น 35 ไมครอนต่อลูกบากศ์เมตร และค่าเฉลี่ยรายปีเป็น 12 ไมโครกรัมต่อลูกบากศ์เมตร ภายในปีพ.ศ. 2562 และกำหนดมาตรการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายอาเซียนปลอดหมอกควัน (HAZE-FREE 2020) อย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรม 

 

นอกจากนี้ทางกรีนพีช ได้มีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลต่าง ๆ ทั่วโลก ดังนี้

  1. ขยายและยกระดับสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศและการเข้าถึงข้อมูลคุณภาพอากาศ โดยทีประชาชนไม่วาจะอยูแห่งใดสามารถตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ี่รัฐบาลของตนไม่สามารถทได้ การเข้าถึงข้อมูลและความรู้จะช่วยให้ผู้คนลงมือปฏิบัติการเพือให้อากาศดีกลับคืนมา 
  2. ตั้งเป้าหมายและกรอบเวลาและจัดทำแผนปฏิบัติการที่ทำให้คุณภาพอากาศอยูในระดับที่ยอมรับได้เร็วที่สุดเทาที่จะทำได้ 
  3. ลดการปล่อยมลพิษทางอากาศจากแหลงกำเนิดต่าง ๆ ในพื้นที่ที่เผชิญกับปัญหาคุณภาพอากาศที่เลวร้ายโดยการเปลี่ยนผ่านไปสู่ ระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดและระบบการคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน และยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศ รวมถึงการบังคับใชกฎหมายที่เข้มงวดในการปล่อยมลพิษจากภาคการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรม ยานยนต์และแหล่งกำเนิดมลพิษต่าง 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดาวน์โหลด รายงานสถานการณ์คุณภาพอากาศโลก พ.ศ.2561 ได้ที่นี่

ประชาชนสามารถร่วมลงชื่อเพื่อเรียกร้องรัฐบาลให้ดำเนินการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศได้ที่ www.greenpeace.or.th/right-to-clean-air

ขอขอบคุณภาพจาก  ©ธัชกร กิจไชยภณ (กรีนพีซ ) และ AirVisual


 บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

UNICEF แนะวิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่อสมองระยะยาว

จับตาฝุ่นละอองวันนี้ PM 2.5 ตัวการมะเร็งร้ายและโรคเรื้อรังมากมาย

วิธีป้องกัน ฝุ่นละออง PM 2.5

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.