ฝุ่นละออง PM 2.5, วิธีป้องกัน ฝุ่นละออง PM 2.5, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ฝุ่น

วิธีป้องกัน ฝุ่นละออง PM 2.5

เคล็ดวิธี “ดูแลลูกน้อยจากปัญหา ฝุ่นละออง PM 2.5”

จากสภาวะค่า ฝุ่นละออง PM 2.5 ที่มีระดับเกินมาตรฐานจนทำให้มีผลต่อ สุขภาพของผู้ที่ต้องเผชิญกับ ความหนาแน่นของฝุนละอองที่ฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศเป็นจำนวนมาก และในอีกหนึ่งช่วงวัยที่ต้องเผชิญเช่น

เดียวกันกับผู้ใหญ่วัยทำงานในการเดินทางในช่วงที่มีฝุ่นละอองฟุ้งกระจายหนาแน่นคงหนีไม่พ้นน้องๆ หนูๆที่อยู่ในวัยเรียนที่มีความจำเป็นต้องเดินทางออกไปเผชิญสภาวะฝุ่นที่มีความหนาแน่นในตอนเช้าเพื่อไป โรงเรียน  ปัญหาที่จึงเป็นปัญหาหนึ่งที่เหล่าผู้ปกครองวิตกกังวล และให้ความสนใจกับสุขภาพของลูกเป็นจำนวนมาก

อ่านเพิ่มเติม :จับตาฝุ่นละอองวันนี้ PM 2.5 ตัวการมะเร็งร้ายและโรคเรื้อรังมากมาย

7 วิธีง่ายๆ ป้องกันลูกน้อย

คุณวัน ภาดาท์ วรกานนท์  ผู้เชียวชาญด้านสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีลูกชายที่ต้องเผชิญกับปัญหานี้เช่นเดียวกันให้คำแนะนำสำหรับคุณพ่อ คุณแม่ หรือผู้ปกครอง ที่มีความ จำเป็นที่จะต้องพาบุตรหลานออกไปเผชิญกับสภาพอากาศในช่วงนี้ กล่าวว่า “ในฐานะที่วันเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งแวดล้อมและจากประสบการณ์ที่ต้องเผชิญกับปัญหาฝุ่นละออง เช่นเดียวกับทุกท่านจึงมีวิธีรับมือกับปัญหานี้ ที่ผู้ปกครองทุกท่านสามารถนำไปดูแลป้องกันลูกหลานของ ท่านได้โดยมี 7 วิธีการเบื้องต้นง่ายๆมาแนะนำกันค่ะ

คุณวัน ภาดาท์ วรกานนท์ , ฝุ่นละออง PM 2.5, วิธีป้องกัน ฝุ่นละออง PM 2.5, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ฝุ่น
คุณวัน ภาดาท์ วรกานนท์ ผู้เชียวชาญด้านสิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยเยล ประเทศสหรัฐอเมริกา
  1. เตรียมหน้ากากอนามัย N95 พร้อมปรับให้ขนาดพอดีกับโครงหน้าของเด็กให้มากที่สุดเพื่อป้องกันการเล็ดลอดของฝุ่นละออง และในช่วงนี้ก่อนออกจากบ้านในช่วงนี้ควรเช็คค่าบริมาณฝุ่นละอองทุกครั้งเพื่อเตรียมความพร้อม
  2. ควรสวมเสื้อแขนยาว เพื่อป้องปันผิวหนังจากฝุ่น เนื่องจากผิวเด็กมีความบอบบางต่อการละคาย เคืองได้มากกว่าผู้ใหญ่ อาจเกิดผดผื่นและอาการคันตามร่างกายขึ้นมาได้
  3. ควรพกกระดาษเปียก เพื่อเช็ดทำความสะอาดเด็กๆ ก่อนเข้าโรงเรียน หรือรับประทานอาหาร เพื่อป้องกันฝุ่นที่ติดตามมือ หรือผิวหนังเข้าร่างกาย
  4. ในช่วงนี้ใครให้เด็กๆ งดหรือหลีกเลี่ยงจากกิจกรรมกลางแจ้ง เพื่อลดโอกาสในการปะทะกับฝุ่นละอองโดยหันมาทำกิจกรรมในร่มแทน ถ้าหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้จำกัดเวลา และสวมชุดและอุปกรณ์ป้องกันให้รัดกุม
  5. ช่วงเวลาของการเดินทางใช้ฟังก์ชั่นหมุนเวียนอากาศภายในรถเพื่อช่วยในการระบายความหนาแน่นของฝุ่นเพื่อไม่ให้เด็กๆ อยู่กับฝุ่นละอองที่หนาแน่นมากมากเป็นเวลาในขณะเดินทาง
  6. ช่วงนี้ควรเช็คการหมุนเวียนอากาศภายในที่พักควรตรวจตราไม่ให้ฝุ่นเล็ดลอดเข้ามาในจำนวนที่มากเกินไปหมั่นทำความสะอาดและคุมการเข้าออกของอากาศและสามารถใช้เครื่องฟอกอากาศเข้ามาเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีสำหรับเด็กๆและทุกคนในครอบครัว
  7. บำรุงร่างกายเด็กๆในการดูแลด้วยอาหารที่มีวิตามินสูง และโอเมก้า เพื่อช่วยให้ร่างกายผลิตสารแอนตี้ออกซิแดนต์ไว้คอยต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆที่มาพร้อมกับฝุ่นละออง

ซึ่งนอกจากทุกท่านจะนำทั้ง 7 วิธีนี้ไปดูแลลูกๆแล้วคุณวันยังมีข้อสังเกตอาการของลูกลูก หากมีอาการดัง 3 ข้อต่อไปนี้คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบแพทย์ในทันทีค่ะ

1. ไอจามผิดปกติ หรือมีน้ำมูกไหล

2. ผดขึ้นตามผิวหนัง ใบหน้า หรือลำตัว

3. มีอาการคันตา จมูกมากกว่าปกติเพราะอาจเป็นจุดเริ่มต้นของไซนัสอักเสบจากการสูดฝุ่นละอองเข้าไปเป็นจำนวนมาก

เมื่อปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้พร้อมสังเกตอาการลูกอย่างสม่ำเสมอรับรองได้ว่าคุณแม่และคุณพ่อ จะสามารถรับมือเพื่อให้ลูกลูกปลอดภัยจากจากฝุ่นละอองตัวร้ายในระดับเกินมาตรฐานในช่วงนี้ได้ อย่างแน่นอนค่ะเพราะเราต้องตระหนักไว้เสมอค่ะว่าในช่วงวัยของเด็กนั่นมีภูมิคุ้มกันที่น้อยกว่าวัยผู้ใหญ่ และยังมีความซุกซนตามวัยที่คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องเข้มงวดกันสักนิดจนกว่าค่าฝุ่นละอองจะลดลงมาสู่ ในระดับปกติค่ะ และคุณวันยังขอส่งกำลังใจให้ทุกท่านในการดูแลลูกลูกและสุขภาพให้ปลอดภัย จากฝุ่นละออง PM 2.5 ในช่วงนี้ค่ะ”

อ่านเพิ่มเติม : UNICEF แนะวิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่อสมองระยะยาว

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.