วิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5, ฝุ่น PM 2.5, ฝุ่นละอองขนาดเล็ก, ฝุ่นละออง

UNICEF แนะวิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลต่อสมองระยะยาว

UNICEF แนะวิธีป้องกัน ฝุ่น PM 2.5

ฝุ่น PM 2.5  อันตรายแค่ไหน เมื่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เข้าสู่ร่างกาย จะส่งผลกระทบต่อร่างกายรุนเเรงหรือไม่ ในระยะยาวจะเป็นอย่างไร ไม่เเน่ว่าถ้าเราไม่รู้จักป้องกันตัวเอง อาจส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังในระยะยาวได้

อัพเดท วันที่ 14 ม.ค.62 มีข้อมูลรายงานว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ขนาดเล็กได้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของจังหวัดกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล มีค่าเกินมาตรฐาน อยู่ในระดับเริ่มเป็นอันตรายต่อสุขภาพแล้ว

ล่าสุดข้อมูลจาก ยูนิเซฟมองโกเลีย ได้เผยเเพร่คลิปวิดีโอ อันตรายของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ส่งผลต่อสุขภาพในเด็ก  ส่งผลกระทบต่อระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง

มีรายละเอียดดังนี้ ฝุ่นละอองมีขนาดเล็ก PM2.5  เล็กกว่าเส้นผมของมนุษย์ถึงประมาณ 25 เท่า โดยเมื่อฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางจมูกและปากจะเข้าสู่ปอด ไปยังระบบบหมุนเวียนเลือด ไหลไปตามส่วนต่างๆของร่างกาย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหัวใจ ระบบประสาท และการพัฒนาทางสมองของเด็กๆ รวมไปถึงการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์

นอกจากนี้ เมื่อเด็กเข้าสู่วัยรุ่น ผู้ใหญ่  อาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา เช่น สโตรก หรือ โรคหลอดเลือดสมอง ปอดบวม โรคหลอดลมอุดกั้นเรื้อรัง มะเร็งปอด ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม ยูนิเซฟประเทศมองโกเลีย ได้แนะนำวิธีการป้องกันฝุ่น PM 2.5 ไว้อีกด้วย ดังนี้

  1. พยายามให้เด็กอยู่เเต่ในบ้าน เมื่อมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน
  2. ถ้าต้องออกจากบ้าน ให้เลือกสวมหน้ากากที่มีมาตรฐาน  (หน้ากากมาตรฐาน  N 95 ) กันฝุ่นควันขนาด 0.3 ไมครอน ได้อย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา หรือสวัสดุก่อสร้าง
  3. ติดตั้งตัวกรองฝุ่นหน้าต่าง และที่กรองอากาศในบ้าน
  4. เลือกกินอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินซี วิตามินอี และโอเมก้า 3  เพื่อป้องกันสารอนุมูลอิสระ

อ่านเพิ่มเติม :

5 ข้อควรรู้ก่อนกินวิตามินซี

วิตามินอี กินให้ดี ได้ประโยชน์สูงสุด

Top 9 ปลาไทยเทศที่มีโอเมก้า 3 สูงมากๆ

(อ้างอิง : ข้อมูลจาก Youtube @UNICEF Mongolia)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.