ศิลปะของการภาวนา

ศิลปะของการภาวนา โดย หลวงพ่อโพธินันทะ

ศิลปะของการภาวนา โดย หลวงพ่อโพธินันทะ

ผู้ที่ไม่ได้ตระหนักถึงมหันตภัยแห่งสังสารวัฏย่อมไม่อาจสละโลกียทรัพย์ทั้งปวงได้ ย่อมถูกตัณหา ราคะ ครอบงำ การกระทำต่าง ๆ ย่อมออกนอกวิถีทางของมัชฌิมาปฏิปทา และล่วงสู่สายธารอันเชี่ยวกรากแห่ง โลกธรรม 8 ประการ  ศิลปะของการภาวนา

จงเฝ้าเรียนรู้กระบวนการความคิด และตรวจตราดวงจิตอยู่เสมอ จนรู้แจ้งชัดถึงเอกสภาวะของสรรพสิ่งที่อยู่เหนือความสุดโต่งทั้งสอง เหมือนปล่อยโคกินหญ้าในทุ่งกว้าง นาน ๆ ขึ้นยอดไม้ดูสักครั้ง ความเข้าใจตนเองย่อมแจ่มชัดขึ้น

ในการปฏิบัติภาวนา หากไม่สามารถลดละปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนได้ ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรจากการปฏิบัติภาวนา

การบรรลุพุทธภาวะเป็นศิลปะของการดำเนินชีวิตอย่างยิ่ง มีวิธีเดียวเท่านั้นที่จะเข้าถึงได้ ก็คือการดำเนินชีวิตไปตามปกติธรรมดา หิวก็กิน ง่วงก็นอน ร้อนก็อาบน้ำ บนประสบการณ์ของการตื่นเห็นแจ้งธรรมชาติที่แท้ (จิตประภัสสร อันติมสัจจะ) แห่งความเป็นพุทธะภายในตน เป็นการรู้แจ้งถึงบางสิ่งที่มีในตนอยู่แล้วตลอดเวลา เมื่อเห็นแจ้งสิ่งนี้ ตัวตนแห่งความยึดถือก็จะสิ้นสุดลง ตัวตนแห่งจิตสำนึกที่เป็นบ่อเกิดแห่งปัญหาจะถูกขจัดด้วยปัญญาญาณ ตัวตนที่แท้ มนุษย์ที่แท้ อันติมสัจจะก็จะเผยตัวมันออกมา

เพียงลืมตาต่อจิตประภัสสรของเราเท่านั้น ความคิดปรุงแต่งที่เกิดจากอวิชชาก็จะสิ้นสุดลง ธรรมชาติที่แท้ที่เป็นต้นกำเนิดของทุกสิ่งก็จะแสดงตัวของมันเองออกมาร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ความเป็นพุทธะก็จะฉายแสงออกมา นี่คือศิลปะของการปฏิบัติภาวนา

 

ที่มา  ทางสายกลางสู่อิสรภาพแห่งชีวิต โดย หลวงพ่อโพธินันทะ สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ

Image by Bessi from Pixabay

Secret Magazine (Thailand)

IG @Secretmagazine


บทความน่าสนใจ

เคล็ดลับ การภาวนา พุท…โธ ให้จิตรวมตัวอย่างฉับพลัน โดย ส. ชิโนรส

รวมข้อสงสัย สำหรับมือใหม่หัด  ภาวนา

ปัญหาธรรมประจำวันนี้: การ ปิดวาจา ขณะปฏิบัติธรรม คืออะไร

สมาธิภาวนาในขณะทำงาน แนวทางการปฏิบัติของหลวงพ่อชา สุภทฺโท

การเจริญภาวนาพรหมวิหาร 4 ในชีวิตประจำวัน ไม่ยากอย่างที่คิด

ประวัติหลวงปู่ดูลย์ อตุโล อริยสงฆ์ผู้เป็นบิดาแห่งการภาวนาจิต

ไม่เป็นอะไรกับอะไร เรื่องเล่าช่วงเวลาก่อน หลวงพ่อคำเขียน สุวัณโณ มรณภาพ

เจริญเมตตาในช่วงระยะเวลาอันสั้น ได้อานิสงส์ขนาดนี้เชียวหรือ ?

เสียงด่า คือเสียงธรรมที่ซาบซึ้งใจ บทความจาก พระไพศาล วิสาโล

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.