จัดบ้านอย่างไรให้ผู้ป่วยพาร์กินสัน อยู่ร่วมกับเราได้อย่างมีความสุข!

3.ปรับครัวให้ปลอดภัย หากผู้ป่วยใช้วีลแชร์เป็นประจำ ควรมีการวางแผนปรับระดับเคาน์เตอร์ครัว และชั้นวางของให้เหมาะกับการเคลื่อนไหวบนรถเข็น นอกจากนี้ควรนำอุปกรณ์ที่ใช้บ่อยวางไว้ในระดับที่หยิบจับได้ใกล้มือ ปรับของใช้จากกระเบื้องเป็นสแตนเลส หรือพลาสติก และระวังเรื่องการใช้ของมีคม

4.สร้างโซนปลอดภัยทั่วบ้าน โดยปรับเฟอร์นิเจอร์ในบ้านให้ไม่มีเหลี่ยมมุมอันตราย หรือหาอุปกรณ์นุ่มๆ กันกระแทกในมุมต่างๆ ของบ้าน รวมถึงจัดพื้นที่ว่างระหว่างทางเดินให้กว้างขึ้น ติดตั้งราวจับบริเวณทางเชื่อมส่วนต่างๆ ของบ้าน เพื่อให้ผู้ป่วยเดินสะดวกขึ้น

5.เปลี่ยนลักษณะโต๊ะเก้าอี้ให้ปลอดภัย โดยเลือกโต๊ะหรือเก้าอี้รูปทรงโปร่ง แต่มีน้ำหนัก ไม่เบาเกินไปเพื่อให้วางได้มั่นคง และควรบุด้วยผนังนุ่มเพื่อกันผู้ป่วยกระแทกจนบาดเจ็บได้

6.ประตูห้องนอน ควรเป็นประตูแบบผลัก แทนจะเป็นประตูลูกบิด และควรมีสวิตเปิดปิดไฟใกล้หัวนอน เพื่อให้ผู้ป่วยควบคุมความสว่างในห้องได้เอง

7.เครื่องนอน ควรเลือกเครื่องนอนที่นุ่ม ไม่หนามาก แทนเครื่องนอนหรือผ้านวมที่หนัก เพราะผู้ป่วยเคลื่อนไหวร่างกายไม่ถนัด อาจทำให้รู้สึกอึดอัดจนหลับไม่สบายได้

8.จัดห้องน้ำ หากเป็นไปได้ห้องผู้ป่วยควรมีห้องน้ำในตัว เพื่อให้เข้าห้องน้ำให้สะดวก และระหว่างทางควรมีไฟส่องสว่าง และราวจับ นอกจากนี้หากผู้ป่วยสะดวกใจจะปรับเปลี่ยน ควรนำประตูห้องน้ำออก และเปลี่ยนผ้าม่านแทน เพื่อว่า หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เช่น หกล้มในห้องน้ำ ลูกหลานจะได้เข้าไปดูแลได้ทันที

เพียงเท่านี้ผู้ป่วยพาร์กินสันที่คุณรัก ก็จะสามารถใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้อย่างปลอดภัยขึ้นเท่าที่ระดับร่างกายจะอำนวย ซึ่งแน่นอนว่า ส่งผลดีต่อใจอย่างมหาศาลแน่นอนค่ะ

ข้อมูลจาก: นิตยสารชีวจิต ฉบับ 511

 

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ 

การปฐมพยาบาลผู้สูงอายุอย่างถูกวิธี ทำให้โอกาสรอดชีวิตสูงขึ้น

ดูแลผู้สูงอายุอย่างดีและเข้าใจ เพื่อความสุขของคนทั้งบ้าน!

สังเกตอาการอย่างไร เมื่อผู้สูงวัยเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง?

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.