ผู้หญิง, โรคผู้หญิง, อาการผิดปกติ, โรคที่พบในผู้หญิง

สยบ 7 อาการผิดปกติ – โรคผู้หญิงยอดฮิตของคุณสาวๆ

4. ปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่

อาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่ มักเกิดจากการนั่งอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานานๆ เช่น ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน ขับรถท่ามกลางการจราจรติดขัดนานๆเป็นประจำ การนั่งชันคอนานเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอ บ่า ไหล่ ตึงและเกร็ง

ปวดเมื่อย,โรคผู้หญิง

แก้อย่างไร

เราสามารถป้องกันอาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า และไหล่ได้ โดยการปรับท่านั่งให้ถูกต้อง ปรับระดับเก้าอี้และโต๊ะทำงานให้เหมาะสม เท้าวางราบกับพื้น นั่งพิงพนักเก้าอี้ และไม่แหงนคอ หมั่นบริหารกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ โดยการบิดและหมุนไปมา

หนังสือผู้หญิงกับการดูแลสุขภาพ โดยแพทย์หญิงพิสุทธิพร ฉ่ำใจ แนะนำวิธีบริหารกล้ามเนื้อแบบง่ายๆ โดยเอียงศีรษะให้หูแตะไหล่ข้างหนึ่ง แล้วค่อยๆหมุนศีรษะเป็นวงกลมอย่างช้าๆ ก็จะช่วยลดอาการตึงเกร็งและคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี

5. อ้วน

ความอ้วนไม่เพียงแต่ทำให้ไม่สวย ยังนำสารพัดโรคภัยมาเยือนอีกด้วย ก่อนที่สาวโสดผู้รักความงามจะสรุปว่าตัวเองอ้วน ควรคำนวณดัชนีมวลกายก่อน

แก้อย่างไร

ถ้าไม่อยากอ้วนต้องควบคุมเรื่องอาหารการกินให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมและควรออกกำลังกายเป็นประจำ แพทย์หญิง ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล แนะนำไว้ในหนังสือ 188 เคล็ดลับชะลอวัย สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ว่า ควรกินอาหารปริมาณน้อยดีกว่าปริมาณมาก เพราะการกินปริมาณมากทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายต้องทำงานเพิ่มขึ้น และยังปลดปล่อยฟรีแรดิคัลออกมา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายแน่นอน และควรคำนวณดัชนีมวลกายเพื่อตรวจสอบว่าเราอ้วนเกินไปหรือยัง โดยใช้สูตร

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักเป็นกิโลกรัม ÷ ความสูงเป็นเมตร²

เช่น น้ำหนัก 50 กิโลกรัม และสูง 150 เซนติเมตร (1.50 เมตร)

50 ÷ (1.5×1.5) = 22.22

ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 18.5-22.9

6. ตกขาว

ตกขาวปกติจะมีสีขาวขุ่นหรือเหลวใส ไม่มีกลิ่นหรือสีที่แปลกไปจากนี้และไม่มีอาการคัน

สาเหตุที่ตกขาวผิดปกติคือ การติดเชื้อราในช่องคลอด โดยตกขาวจะลักษณะคล้ายโยเกิร์ตและมีอาการคันร่วมด้วย อาจเกิดจากการสวนล้างช่องคลอด ใส่กางเกงคับเกินไปจึงเกิดความอับชื้น กินยาปฏิชีวนะ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ฯลฯ

นอกจากนี้ตกขาวผิดปกติยังเกิดได้จากการติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย มีพยาธิในช่องคลอด การแพ้สารเคมี เป็นมะเร็งในอวัยวะสืบพันธุ์หรือมีสิ่งแปลกปลอมในช่องคลอด ฯลฯ

นายแพทย์พนิตย์ จิวะนันทประวัติ กล่าวไว้ในหนังสือคู่มือผู้หญิงต้องรู้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ร่างกายอ่อนแอจะทำให้เชื้อโรครวมทั้งเชื้อรารุกรานได้ง่าย

แก้อย่างไร

การป้องกันอาการตกขาวผิดปกติทำได้โดยดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รักษาความสะอาด ไม่สวนล้างช่องคลอด ไม่ใส่กางเกงรัด
แน่นเกินไปเพื่อป้องกันการอับชื้น ไม่ใส่ผ้าอนามัยเมื่อไม่มีประจำเดือน ไม่ซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง ดื่มนมเปรี้ยวที่มีจุลินทรีย์ชนิดดี

นายแพทย์พนิตย์ยังแนะนำอีกว่า ให้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และหมั่นดูแลสุขอนามัยของตัวเอง

7. ประจำเดือนผิดปกติ

ประจำเดือนผิดปกติมีอาการดังนี้ มามาก มาน้อย มานานเกิน 7 วัน มาไม่ตรงเวลา เดี๋ยวเร็วเดี๋ยวช้า เช่น มาช้ากว่า 35 วันในหนึ่งรอบ หรือหยุดไป 3-6 เดือน

ความผิดปกติเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งจากความเครียด ความกังวล กินไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเฉพาะ
คนที่อยากผอมแล้วใช้วิธีอดอาหาร น้ำหนักขึ้น-ลงเร็ว กินยาคุมกำเนิด มีเนื้องอกในมดลูก มีถุงน้ำหลายใบในรังไข่เนื่องจากมีฮอร์โมนเพศชายสูงเกินไป เป็นมะเร็งในมดลูก กินยาบางชนิด มีโรคประจำตัวบางโรค ฯลฯ

ประจำเดือนมาไม่ปกติ, โรคผู้หญิง, อาการผิดปกติ, ผู้หญิง

แก้อย่างไร

ถ้ามั่นใจว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากความผิดปกติในมดลูกหรืออวัยวะภายในของผู้หญิง ควรแก้ตามสาเหตุเลยค่ะ เช่น ลดความเครียดและ
ความกังวลให้น้อยลง กินอาหารให้พอเพียงและครบหมู่ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เปลี่ยนวิธีคุมกำเนิดรูปแบบอื่นแทนการกินยา

ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย แนะนำข้อมูลที่น่าสนใจว่า ก่อนไปพบแพทย์ควรเตรียมประวัติสุขภาพ เช่น การคลอดบุตร โรคประจำตัว ยาที่ใช้เป็นประจำ ไว้ให้พร้อม และสำหรับคนที่มีปัญหาปวดประจำเดือน การไปตรวจขณะมีอาการจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้แม่นยำขึ้น


บทความอื่นๆ ที่สนใจ

เทคนิคกินวิตามินสำหรับสาววัยทอง วัยหมดประจำเดือน

3 เมนูจีน หยุดปวดประจำเดือน

5 เมนูพื้นบ้าน ต้านออฟฟิศซินโดรม

Best Exercises หยุด ออฟฟิศซินโดรม

 

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.