กินยาแก้แพ้, นอนไม่หลับ, อาการนอนไม่หลับ, แก้นอนไม่หลับ

คิดดีๆ ก่อนกินยาแก้แพ้เพื่อให้นอนหลับ คุณกำลังใช้ยาผิดประเภท

ยาภูมิแพ้ ตัวการก่อฝันร้าย

เมื่อยาแก้แพ้เป็นดั่งอัศวินขี่ม้าขาวที่ช่วยให้พี่นันนอนหลับสนิทในแบบที่เธอโหยหา เธอจึงกินยาแก้แพ้ทุกคืนไม่เคยขาด และเพิ่มปริมาณยาขึ้นเรื่อยๆจากครึ่งเม็ดกลายเป็น 3 เม็ดโดยไม่รู้ตัว

และแล้วเช้าวันหนึ่ง พี่นันตื่นมาพร้อมอาการมึนศีรษะ ลืมตาไม่ขึ้น เธอพยายามจะยืนทรงตัวให้ได้ แต ่อาการเวียนศีรษะ และฤทธิ์ยาพานทำให้อ่อนแรงและทรุดลงนั่งบนเตียงนอนอีก

วินาทีนั้นเธอรู้ได้ทันทีถึงความผิดปกติของร่างกายที่มาจากการกินยาแก้แพ้เกินขนาดเป็นนิตย์นั่นเอง เพื่อทำให้พี่นันตระหนักถึงอันตรายของยาแก้แพ้ ผู้เขียนจึงสอบถามแพทย์หญิงสุรางค์เพิ่มเติมถึงผลเสียของการติดยาแก้แพ้

“ยารักษาโรคภูมิแพ้หรือยาแก้แพ้ที่คุณนันทวรรณใช้เป็นประจำ จัดเป็นยากลุ่มแอนติฮิสตามีน (Antihistamine) ซึ่ง
สามารถรักษาอาการโรคภูมิแพ้ได้ดี แต่ก็มีผลข้างเคียงของยา ทำให้ง่วงซึม จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยหลายคนที่แม้ว่าจะหายจากอาการภูมิแพ้แล้ว แต่ยังมีอาการนอนไม่หลับ มักจะกินยาชนิดนี้ต่อไปเพื่อเยียวยาอาการนอนไม่หลับ ซึ่งเป็นการใช้ยาผิดวัตถุประสงค์

“ยารักษาโรคภูมิแพ้นี้หากกินติดต่อกันเป็นประจำจะส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้ง่วงซึมตลอดวัน
สมองไม่ปลอดโปร่ง คิดช้า ตัดสินใจช้า กระวนกระวาย วิงเวียนศีรษะ และมึนงง โดยเฉพาะตอนตื่นนอน ผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักรหรือต้องขับรถ หากกินยาแก้แพ้อาจทำให้ง่วง เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้

“ดังนั้น เมื่ออาการโรคภูมิแพ้ทุเลาแล้ว ควรหยุดกินยาทันที หากยังคงนอนไม ่หลับติดต่อกันเกิน 1 สัปดาห์ ควรหาวิธีรักษาอาการนอนไม่หลับนั้นอย่างถูกวิธี”

กินยาแก้แพ้, นอนไม่หลับ, อาการนอนไม่หลับ, แก้นอนไม่หลับ

ปรับ & เปลี่ยน หลับสนิท นอนสบาย

นอกจากนั้นความสุขที่แท้จริงจากการนอนหลับสนิทจะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องจัดสิ่งแวดล้อมและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสมด้วย แพทย์หญิงสุรางค์ เลิศคชาธาร หัวหน้ากลุ่มงานจิตเวช สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า

“อยากแนะนำให้คุณนันทวรรณ และผู้ที่ประสบปัญหาการนอนไม่หลับ ปรับสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมการนอนตามหลักสุขอนามัยการนอนที่ดี (Good Sleep Hygiene)” ซึ่งมีดังนี้

• ตื่นนอนและเข้านอนเป็นเวลา

• ไม่ทำกิจกรรมอื่นบนเตียง เช่น ทำงาน ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ ให้ใช้เตียงเพื่อการนอนหลับอย่างเดียวเท่านั้น

• ไม่นอนเล่นบนเตียง ให้เวลาบนเตียงเป็นเวลานอนหลับเท่านั้น

• ไม่งีบหลับในระหว่างวัน เพราะส่งผลรบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืน หากง่วงนอนมากในตอนกลางวัน อาจงีบเป็นเวลาสั้นๆไม่เกิน 30 นาที

• งดกาแฟ ชา เหล้า และบุหรี่ ก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 6 ชั่วโมง

• ไม่ออกกำลังกายหรือทำงานหนักเมื่อใกล้เวลาเข้านอน

• ทำกิจกรรมผ่อนคลายก่อนเข้านอน เช่น อาบน้ำอุ่น ดื่มชาสมุนไพรอุ่นๆ อ่านหนังสือคลายเครียด ฟังเพลงจังหวะเบาๆ หรือสวดมนต์ ไหว้พระ

• ขจัดสิ่งรบกวนการนอน ได้แก ่ เสียงดัง แสงสว่างจ้าเกินไป อากาศร้อนหรือเย็นเกินไป เมื่อปฏิบัติตามสุขอนามัยการนอนที ่ดีนี้อย่างต่อเนื่องประมาณ 1-2 เดือนจะทำให้นอนหลับได้ดีขึ้น

 

รู้อย่างนี้แล้ว ใครที่กำลังใช้ยาผิดประเภทอยู่ ก็หยุดและหันมาใช้วิธีที่ถูกต้องกันดีกว่าค่ะ


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

5 วิธี แก้อาการนอนไม่หลับ ช่วยหลับลึก หลับนาน

ความเครียด และนอนไม่หลับ ปัจจัยเสี่ยงความดันโลหิตสูง

ยานอนหลับ ธรรมชาติ บำบัดอาการนอนไม่หลับ

แก้อาการนอนไม่หลับด้วยศาสตร์ใหม่ ต้องลอง!

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.