โรคกระเพาะอาหาร, กระเพาะอาหาร, กินเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร, ระบบทางเดินอาหาร แก้โรคกระเพาะอาหารอักเสบ

กินเสี่ยง โรคกระเพาะอาหาร

ติดยาลดความอ้วน

ยาลดความอ้วนส่วนใหญ่จะมีฤทธิ์ในการกระตุ้นลำไส้ให้เกิดการบีบตัว มีฤทธิ์หลอนประสาท ทำให้รู้สึกเบื่ออาหาร กินอาหารได้น้อยลง และอิ่มเร็วขึ้น

เมื่อร่างกายได้รับอาหารน้อยลง จึงส่งผลโดยตรงต่อการทำงานของกระเพาะอาหาร กล่าวคือ กระเพาะอาหารจะปล่อยน้ำย่อยออกมาไม่สม่ำเสมอ ซึ่งอาจก่อให้เกิดภาวะกรดไหลย้อน และเกิดการระคายเคืองต่อกระเพาะอาหารได้

ดื่มชา กาแฟ

การดื่มชา กาแฟ น้ำอัดลม รวมไปถึงเครื่องดื่มชูกำลังต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นชนิดที่มีกาเฟอีนหรือไม่ก็ตาม ล้วนมีผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหารเช่นกัน

ดังที่นายแพทย์พิเศษกล่าวไว้ว่ากาเฟอีนและสารเทนนินที่มีอยู่ในเครื่องดื่มเหล่านี้ นอกจากจะทำให้ผนังลำไส้มีการเคลื่อนตัวช้าลง ทำให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่ายแล้ว ยังระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร และทำให้มีอาการปวดกระเพาะอาหารเป็นประจำอีกด้วย

แอลกอฮอร์, โรคกระเพาะอาหาร, กระเพาะอาหาร, ระบบทางเดินอาหาร, กินเสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร
ดื่มแอลกอฮอร์เป็นประจำ เสี่ยงโรคกระเพาะอาหาร

แอลกอฮอล์   

ผู้ที่ชื่นชอบการดื่มแอลกอฮอล์เป็นนิจ กระเพาะอาหารของคุณก็ได้รับอันตรายเช่นกัน

ในขณะที่เราดื่มสุรา แอลกอฮอล์จะไปกระตุ้นการหลั่งของกรดไฮโดรคลอริกในกระเพาะอาหารให้มากขึ้น ซึ่งหากผู้ดื่มเป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้ว แอลกอฮอล์จะทำให้เกิดแผลที่เยื่อบุกระเพาะอาหารมากขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อในกระเพาะอาหารมีการบีบเกร็งมากกว่าปกติ

สูบบุหรี่

สิงห์อมควันทั้งหลาย คุณก็มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระเพาะอาหารเช่นกันครับ

ทั้งนี้นายแพทย์พิเศษกล่าวว่า การสูบบุหรี่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร เพราะสารนิโคตินในบุหรี่จะไปเพิ่มปริมาณความเข้มข้นของกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งในคนที่เป็นโรคกระเพาะอาหารอยู่แล้วจะทำให้แผลในกระเพาะอาหารหายช้าลง

หากไม่หยุดสูบบุหรี่ก็จะกลับมาเป็นซ้ำได้อีก

 

จาก คอลัมน์โรคภัยใกล้ตัว นิตยสารชีวจิต ฉบับ 234

โรคกระเพาะอาหาร ระบบทางเดินอาหาร


บทความน่าสนใจอื่นๆ

อาการแบบนี้ โรคกระเพาะ หรือมะเร็งกระเพาะอาหารกันแน่

กินอาหารสุขภาพ ปรับสมดุลกระเพาะอาหารและร่างกายโดยรวม

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.