ขี้เหวี่ยง

วิธีรับมือเพื่อนร่วมงาน ขี้เหวี่ยง

2. คิดว่ากำลังฝึกความอดทน

เชื่อว่าคงไม่มีใครอยากทำงานร่วมกับคนเจ้าอารมณ์ แต่เราจำเป็นต้องยอมรับก่อนว่า ในที่ทำงานทุกที่ย่อม มีคนหลายแบบปะปนกันไป การคาดหวังให้เพื่อนร่วมงานทุกคนมีนิสัยที่ถูกใจเราไปหมดจึงไม่มีทางเป็นไปได้

แบรนดอน สมิธ (Brandon Smith) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานในองค์กร และเจ้าของเว็บไซต์ the workplacetherapist.com กล่าวว่า

“เพื่อนร่วมงาน จะไม่มีทางลากคุณไปเป็นเหยื่อของความโมโหได้ ถ้าคุณ มีความอดทนมากพอที่จะไม่ไปปะทะคารมกับเขา บางครั้งการอยู่เฉยๆก็ดีกว่าการต่อความยาวสาว ความยืด คิดเสียว่าหน้าที่ของพนักงานทุกคนคือการ รับผิดชอบงานของตัวเองให้ดี ส่วนการที่คนอื่นจะ ปฏิบัติตัวตรงหรือไม่ตรงกับความพึงพอใจของเรานั้น ถือเป็นเรื่องที่ควบคุมไม่ได้”

ดังนั้น ใจเย็นๆ เข้าไว้ พยายามเปลี่ยนความคิดของเราเอง และค้นหาข้อดีในตัวของเพื่อนดู ก็จะ ช่วยให้เรารู้สึกดีกับเขามากยิ่งขึ้นค่ะ

 

เพื่อนร่วมงาน, รับมือเพื่อนร่วมงานขี้เหวี่ยง, คนวัยทำงาน, พนักงานออฟฟิศ

3. ปรับความเข้าใจ

หากใครมองข้ามก็แล้ว อดทนก็แล้ว แต่กลายเป็นว่านับวันความขี้วีนของเพื่อนกลับยิ่งรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนคนรอบข้างชักจะอยากเบือนหน้าหนี หนังสือ บอกลาตัวตนที่ไม่ดี สำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ แนะนำว่า

การเปิดใจพูดคุยกันอย่างตรงไป ตรงมา (แต่สุภาพ) ด้วยกฎ “ฟัง 8 ส่วน : แนะนำ 2 ส่วน” เป็นอีกหนึ่งทางออกที่ดีของปัญหานี้ โดยเริ่มจากการเปิดใจรับฟังเรื่องราวของเพื่อน เพื่อให้เราเข้าใจเรื่องราวทั้งหมดว่า อะไรคือสิ่งที่ผลักดัน ให้เพื่อนแสดงอารมณ์และพฤติกรรมออกมาแบบนั้น เพราะบางครั้งเขาอาจมีปัญหาเรื่องอื่นๆที่กำลังสุมอยู่ในชีวิต เช่น หนี้สิน คนที่บ้านป่วย หรือเรื่องอะไรก็ตาม จนทำให้เกิดความเครียด แต่ไม่รู้จะระบายอารมณ์อย่างเหมาะสมด้วยวิธีไหน

เมื่อได้รับรู้เรื่องราวทั้งหมดแล้วค่อยแนะนำให้เพื่อนร่วมงานปรับปรุงนิสัย โดยอย่าบังคับ ตำหนิซ้ำ หรือทำให้เขารู้สึกว่าเขาเป็นตัวปัญหา แต่ให้ใช้คำพูดที่แสดงความหวังดี พร้อมกับย้ำถึงผลดีที่จะเกิดกับตัวเขาและการทำงาน วิธีนี้จะช่วยให้เพื่อนร่วมงานได้ผ่อนคลายอารมณ์ของตัวเอง และช่วยกระชับความสัมพันธ์ในที่ทำงาน ด้วยค่ะ

 

เพื่อนร่วมงาน, รับมือเพื่อนร่วมงานขี้เหวี่ยง, คนวัยทำงาน, พนักงานออฟฟิศ

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.