รากบัว

วิธีแบบแพทย์แผนจีน รากบัว กินยังไงให้เป็นยา

account_circle
event
รากบัว
รากบัว

เกร็ดน่ารู้ รากบัว กินอย่างไรให้เป็นยา สไตล์แพทย์แผนจีน

สำหรับในประเทศไทย เราคงคุ้นชินกับการใช้ประโยชน์จากบัวสารพัดรูปแบบอยู่แล้ว วันนี้ชีวจิตจึงจะขอพูดถึงรายละเอียดในทางแพทย์แผนจีนกันบ้างค่ะ โดยขอบคุณข้อมูลจาก แพทย์หญิงศรันยา สาครินทร์ แพทย์แผนปัจจุบันจากโรงบาลรามาธิบดี ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพและโรคภัยจากทั้งศาสตร์ตะวันออกและตะวันตก

รากบัว บัว

“บัว” เป็นพืชน้ำล้มลุก มีลำต้นทั้งที่เป็นเหง้า ไหลส่วนใบเป็นใบเดี่ยว โดยมีก้านใบชูขึ้นมาจากใต้น้ำ ผิวน้ำ หรือบริเวณเหนือน้ำ รูปร่างของใบบัวส่วนใหญ่จะกลมและมีหลายแบบ โดยลักษณะทั่วไปของรากบัวคือ รากหรือเหง้ามีสีขาวอมเหลืองหรือสีงาช้างอยู่ใต้ดินเป็นปล้อง ๆ ยาวและใหญ่ มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ และแข็งเล็กน้อย หากนำรากบัวมาตัดตามแนวขวางจะมีลักษณะเป็นรูกลมกลวงหลาย ๆ รู เมื่อแก่แล้วจะกลายเป็นฝักบัวที่มีเมล็ดบัวอยู่ภายใน ในตำรายาจีนนั้น นิยมนำทุกส่วนของบัวมาใช้เพื่อการรักษา ดังนี้ค่ะ

ใบบัว

ให้รสฝาดเปรี้ยวเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยบำรุงโลหิต แก้ไข้ช่วยลดความร้อนในร่างกาย ส่วนเป็นกำแล้วนำไปตากแห้งเพื่อชงเป็นชาดื่ม จะช่วยขับปัสสาวะและไล่ความชื้นออกได้

ดอกบัว

มีรสฝาดแต่มีกลิ่นหอม ช่วยบำรุงหัวใจลดเสมหะ และช่วยการไหลเวียนเลือด กลีบดอกบัวช่วยให้สงบ ผ่อนคลายและใจเย็น

เกสรบัว

มีรสฝาดออกขมเล็กน้อย ส่วนเกสรสีเหลืองสามารถใช้เข้าเครื่องยาทั้งไทยและจีน โดยเฉพาะยาลม ยาหอม ยาบำรุงหัวใจ เกสรดอกบัวช่วยบำรุง ลดอาการบวมน้ำ รักษาอาการไข้รากสาดได้

ฝักบัว

ช่วยแก้อาการท้องเสีย ช่วยขับลมในท้องได้ดี

เม็ดบัว

มีรสชาติหวานมัน ถือเป็น คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน (Complex Carbohydrate) ซึ่งเป็น คาร์โบไฮเดรต ชนิดดี สามารถช่วยเรื่องระบบย่อย บำรุงม้าม แก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงกำลัง ช่วยให้กระชุ่มกระชวย ขับเสมหะ รวมทั้งแก้ร้อนในกระหายน้ำ

ดีบัว

เป็นส่วนของต้นอ่อนที่อยู่ภายในเม็ดบัวมีรสขมจัด ลดความร้อนในตัว ช่วยแก้กระหายน้ำ ขยายหลอดเลือดหัวใจ สามารถนำมาเป็นส่วนผสมของยาโบราณ มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้

ไหลบัว

มีสรรพคุณเย็นจัด ช่วยหยุดเลือดไหลจากความร้อน ลดไข้หรือลดการอักเสบ เช่น อาการอาเจียน ไอเป็นเลือด เลือดกำเดาไหล และช่วยบำรุงการทำงานของปอด

วิธีการนำรากบัวมากิน

การกินรากบัวนิยมกินทั้งแบบนิ่มและกรอบ ถ้าต้องการกินแบบนิ่มก็นำไปนึ่ง  ถ้าต้องการกินแบบกรอบ ก็ให้ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำไปลวกร้อนเล็กน้อย แล้วแช่น้ำเย็นจัด หรือหั่นแล้วอาจจะนำไปแช่น้ำผสมน้ำส้มสายชูนิดหน่อยก่อนนำไปต้ม ก็จะทำให้กรอบได้เช่นกัน ปริมาณการกินรากบัวที่เหมาะสมคือ วันละ 6 – 12 กรัม หรือ ประมาณ 2 – 3 ชิ้นต่อวัน

รากบัว เอาไปทำเมนูอะไรกินดี?

รากบัวสามารถนำไปทำเมนูผัด นำไปต้มเป็นซุปกินกับข้าวต้ม หรือจะนำไปชุบแป้งทอดกินก็ทำได้ แต่วันนี้จะมาแนะนำเมนูรากบัวง่าย ๆ และมีประโยชน์ต่อสุขภาพให้ทุกท่านกันค่ะ

รากบัวต้มน้ำตาล

รากบัว รากบัวต้มน้ำตาล

วัตถุดิบที่ใช้

  • รากบัวหั่นเป็นชิ้น 500 กรัม
  • น้ำตาลทราบแดง หรือน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลมะพร้าว 250 กรัม
  • น้ำเปล่า 1.5 ลิตร
  • ลูกเดือยแห้ง 100 กรัม
  • พุทราจีน 10 – 15 ลูก
  • เกลือทะเล 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

  1. นำรากบัวมาปอกเปลือก ล้างในน้ำสะอาด แล้วหั่นตามชอบเป็นชิ้นหนาพอสมควร
  2. เตรียมหม้อใส่น้ำเปล่า  ตั้งไฟต้มน้ำให้เดือด ใส่น้ำตาลลงไป พอน้ำตาลละลายให้ใส่รากบัวที่หั่นไว้ลงไป ตามด้วยพุทราจีนและลูกเดือย ต้มจนเดือดอีกครั้ง
  3. ต้มจนรากบัวนิ่ม ใส่เกลือดพื่อปรุงรส ชิมรสชาติ หวานมากหรือน้อยตามใจชอบ จากนั้นปิดไฟ ตักรากบัวต้มน้ำตาลใส่ถ้วย เติมน้ำแข็งบดหรือก้อน ตามใจชอบ

ประโยชน์ที่ได้จากเมนูนี้

รากบัว พุทราจีน

พุทราจีน ช่วยบำรุงเลือด รักษาโลหิตจาง บำรุงกำลัง อุดมไปด้วยวิตามินซี ซึ่งช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระและช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ส่วนลูกเดือย มีเส้นใยอาหารสูง อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ทั้งรากบัวและลูกเดือยมีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร และบำรุงกระเพาะอาหาร สูตรรากบัวต้มน้ำตาลนี้ใช้ดื่มกินคลายร้อน เพิ่มเกลือแร่และวิตามิน ช่วยแก้อาการท้องเสียเรื้อรัง ลดปอดบวม และอาการร้อนใน เหมาะกับกินในช่วงหน้าร้อน

ติดตามคำแนะนำจาก กูรูสุขภาพ ทำตามง่าย เห็นผลจริง คลิกเลย!
keyboard_arrow_up