ชีวจิตแนะนำ อาหารสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ ช่วยให้อาการดีขึ้น

อาหารสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ ควรกินอะไรบ้าง

อาการภูมิแพ้ เป็นอาการที่น่ารำคาญและรักษาไม่หาย แต่สามารถควบคุมอาการให้ดีขึ้นได้ผ่านการกินอาหาร ออกกำลังกาย และปรับไลฟ์สไตล์ให้เหมาะสม วันนี้ ชีวจิต จะมาแนะนำ อาหารสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ ว่าควรกินอาหารอย่างไร ให้ภูมิแพ้ดีขึ้น มาดูกันค่ะ

4 STEPS ปรับการกินบรรเทาภูมิแพ้

ขณะนี้มีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ดอกเตอร์จอช แอกซ์ แพทย์ธรรมชาติบำบัดชาวอเมริกัน แนะแนวทางการดูแลสุขภาพเพื่อบรรเทาอาการของโรคไว้ ดังนี้

1.กินผักผลไม้สีสดใส เพราะมีแอนติออกซิแดนต์ ช่วยขับสารพิษและลดอาการอักเสบ มีผลให้อาการของโรคลดลง มีงานวิจัยยืนยันว่า วิตามินเอในผักผลไม้หลากสีช่วยให้ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มีอาการดีขึ้นได้

2.กินถั่วและผักใบเขียวต่างๆ เพราะมีปริมาณโฟเลตสูงช่วยลดปฏิกิริยาต่อต้านสารก่อภูมิแพ้ของร่างกาย รวมถึงช่วยลดอาการอักเสบซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากรับสารก่อภูมิแพ้เข้ามา

3.เพิ่มวิตามินอี ขณะที่แพทย์ส่วนใหญ่แนะนำให้กินอาหารที่มีวิตามินซี แต่อย่าลืมว่าวิตามินอีก็มีสารแอนติออกซิแดนต์สูง เช่นกัน โดยพบในน้ำมันรำข้าว ถั่วเปลือกแข็ง และเมล็ดพืชต่างๆ

4.ลดแมกนีเซียม เนื่องจากปริมาณแมกนีเซียมที่เพิ่มขึ้นสัมพันธ์กับความถี่ในการเกิดอาการภูมิแพ้กำเริบ อาหารที่มีแมกนีเซียมสูง ได้แก่ กล้วย ราสป์เบอร์รี่ ผักโขม เคล ถั่วดำถั่วชิกพี บรอกโคลี

ปรับอาหารแล้ว อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ อาการของโรคก็จะค่อยๆ ลดลง

วิธีเลือกอาหาร อาหารสุขภาพ อาหารชีวจิต อาหารสำหรับคนเป็นภูมิแพ้

ทำไมผักผลไม้จึงสำคัญ

แพทริก โฮลฟอร์ด และ ดร.เจมส์ บราลีอธิบายไว้ในหนังสือ HIDDEN FOOD ALLERGIES ว่า  ผักผลไม้หลายชนิด  โดยเฉพาะผักสดหรือผลไม้ที่ไม่ปอกเปลือก  เช่น  แอ๊ปเปิ้ล  ลูกแพร์  เบอร์รี่  มะเขือเทศ และแครอต  ล้วนมีเควอร์เซติน (Quercetin) และสารแอนติออกซิแดนต์สูง  ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอาการแพ้และลดอาการอักเสบต่างๆ ทั้งยังช่วยทำให้มาสต์เซลล์(ซึ่งปล่อยสารก่อภูมิแพ้  เช่น  ฮิสตามีนออกมา) สงบลง  จึงลดโอกาสการเกิดภูมิแพ้ของคุณได้ โดยจัดอันดับผักผลไม้ที่มีเควอร์เซตินสูงไว้ดังต่อไปนี้

อาหารสำหรับคนเป็นภูมิแพ้ อาหารต้านภูมิแพ้ ภูมิแพ้

จากตารางจะเห็นได้ว่า  ผักที่มีเควอร์เซตินมากที่สุดคือ  หัวหอม รองลงมาคือ  ผักโขม  แครอต  และบรอกโคลี  ส่วนผลไม้ที่มีเควอร์เซตินมากที่สุด  ได้แก่  แอ๊ปเปิ้ล  เบอร์รี่  โดยเฉพาะแครนเบอร์รี่ และบลูเบอร์รี่ (องุ่นมีกลูโคสสูง  อาจทำให้น้ำตาลในเลือดสูงได้)

ทั้งนี้ แพทริก โฮลฟอร์ด และ ดร.เจมส์ บราลีแนะนำให้บริโภคเควอร์เซตินถึงวันละ 10 มิลลิกรัม  ซึ่งยิ่งกินมากเท่าไรก็จะยิ่งมีผลดีมากเท่านั้น  และสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟให้หันมาดื่มชาซึ่งมีเควอร์เซตินในปริมาณสูงแทน


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

กินอยู่ครบสูตร ด้วยผักผลไม้ ต้านโรคเอสแอลอี โรคภูมิแพ้

รู้จัก “โรคหืด” โรคที่จัดอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้

ยาแก้แพ้ แก้โรคภูมิแพ้ ไม่ใช่โรคหวัด

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.