เช็ก! โรคหอบหืด หรือ โควิด -19 กันแน่

โรคหอบหืด หรือ โควิด -19  มาเช็กอาการด่วน!

โรคหอบหืด  มีอาการคล้ายคลึงกับอาการของโรคระบาดที่กำลังมาแรงในช่วงนี้ ก็คือ โควิด-19  หลายคนสงสัยว่าตัวเองเป็นหอบหืดหรือติดโควิดไปแล้วกันแน่ วันนี้เราก็จะพาทุกท่านมาเช็กอาการให้แน่ชัดกันค่ะว่า เป็น หอบหืด หรือโควิดกันแน่ 

          นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ให้ข้อมูลไว้ว่า อัตราการเสียชีวิตในไทยปีละ 7,000คน ถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก เพราะว่าโรคนี้สามารถรักษาได้ หายได้ ถ้ารักษาเร็วมีโอกาสหายได้สูง โดยอัตราการเสียชีวิตในผู้ใหญ่จะมากกว่าเด็กประมาณ 5 เท่า และกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือคนไข้ที่อายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไป เนื่องจากการพ่นยาทำได้ยากกว่า อาการรุนแรงกว่า และหลายคนชินกับอาการหอบโดยที่ไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคหืดอีกด้วย

         ทั้งนี้ ด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของ โควิด-19 ตอนนี้ ทำให้หลายคนอาจสงสัยถึงอาการที่คล้ายคลึงกันของโรคหอบหืดและโควิด เพียงแต่ผู้ที่ป่วยหอบหืด ไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง เพราะในกรณีโรคหอบหืดนั้นมักจะมีอาการไอในตอนกลางคืน มีน้ำมูกบ้างแต่ไม่มีไข้  ต่างจากโควิด -19 จะมีไข้สูง เพราะหากมีอาการหอบหืดแล้วให้ตรวจสอบโดยให้ผู้ป่วยพ่นยาฉุกเฉิน เพื่อรักษาอาการ แต่หากไม่หายจากอาการข้างต้น คุณหมอมีคำแนะนำว่าให้รีบไปตรวจหาเชื้อโควิด -19 

        เรามาเช็กอาการของ โรคหอบหืด กับโควิด -19 กันดีกว่าค่ะ

โรคหอบหืด 

  • ไอ
  • มีเสมหะ
  • แน่นหน้าอก เหนื่อยหอบ
  • หายใจไม่อิ่ม หายใจมีเสียงหวีด

ส่วนใหญ่จะเป็น ๆ หาย ๆ ในตอนกลางคืนและตอนเช้ามืด หรือหลังการสัมผัสสิ่งที่กระตุ้น

โควิด -19 

อย่างที่เราทราบกันนะคะ ว่าอาการหลัก ๆ ก็คือ

  • มีไข้สูง
  • ไอแห้ง เจ็บคอ
  • อ่อเพลีย
  • ปวดเมื่อยตามตัว
  • ท้องเสีย
  • ปวดศีรษะ
  • หายใจลำบากหรือแน่นหน้าอก
  • สูญเสียการรับรสและกลิ่น

ปัจจุบันทางสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ได้ออกข้อแนะนำการปฏิบัติ 5 ประการในสถานการณ์ระบาดของโควิด-19 อ้างอิงตามองค์การหืดโลก ดังนี้

1.ห้ามหยุดยา-ลดยา และต้องพ่นยาอย่างสม่ำเสมอ เพราะเสียงหอบกำเริบ (ลดการมาโรงพยาบาลให้น้อยที่สุด)

2.หลีกเลี่ยงยาพ่นประเภทฝอยละออง หรือ Nebulization เนื่องจากมีโอกาสที่ผู้ป่วยโรคหืดที่ติดเชื้อโควิด-19 จะแพร่กระจายเชื้อได้  และแนะนำให้ใช้ยาพ่น MDI with spacers (อุปกรณ์พ่น) ทำให้ได้ริเริ่มโครงการ “หยุดหอบ ป้องกัน Covid-19 ด้วย Thai Kit Spacer” โดยแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลทั่วประเทศ 500 ถึง 600 แห่ง และยังร่วมมือกับสถาบันพลาสติกฯ ทำนวัตกรรม Spacers พ่นยาขณะใส่เครื่องช่วยหายใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยวิกฤติที่ต้องพ่นยารักษาโรคหืดควบคู่ด้วย หรือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์สามารถทำ DIY Spacers ใช้เองด้วยงบประมาณ 30-40 บาท ดูได้ทางเพจ Asthma Talks by Dr.Ann

3.คนไข้ต้องเข้าใจและมีแผนปฎิบัติการดูแลในยามฉุกเฉิน (Asthma Action Plan) เพื่อรู้วิธีการปฏิบัติตัวและสังเกตอาการ โดยปกติสูตรการพ่นยาฉุกเฉิน ทุก 15 นาที x 3 ครั้ง ถ้าดีขึ้นพ่นห่าง 6 – 8 ชั่วโมงจนดีขึ้นไป 2-3 วัน ซึ่งคนไข้หลายคนจำผิด หรือจำไม่ได้ว่าจะต้องดูแลตัวเองอย่างไร ต้องมีการใช้ Asthma Action Plan (ใน Application : Asthma Care) ดูแลและสังเกตอาการที่บ้าน ลดความเสี่ยงมาโรงพยาบาล คนไข้โรคหืดมาแพทย์ก็ต่อเมื่อมีอาการหอบทุกๆวัน ซึ่งหมายถึงการรักษาตัวเองไม่ดีนั่นเอง

4.หลีกเลี่ยงการทำหัตถการเป่าปอด ลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ ถึงแม้ว่าจะพบคนไข้โรคเกิดที่ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้มีจำนวนมากก็ตาม

5.การดูแลคนไข้ผ่าน Telemedicine โรคหืดสามารถที่จะตรวจดูอาการและรักษาผ่านทางไกลได้ โดยส่งยาไปที่บ้านหรือรับยาที่ร้านขายยาใกล้บ้าน

      จะเห็นได้ว่า โรคหอบหืด และ โควิด -19 จะมีอาการที่ค่อนข้างคล้ายกัน ดังนั้นแล้ว เราจึงอยากให้ทุกท่านคอยตรวจเช็กดูอาการเบื้องต้น หากมีอาการดังที่กล่าวมา ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาค่ะ

      

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  สำนักงานกองทุนสนัลสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

…………………………………………………………………………………………..

เรียบเรียงข้อมูลโดย : นางสาวลลิตา ศรีหาบุญมา

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีอย่างง่าย ดูแล+ป้องกัน โรคระบบทางเดินหายใจ (หวัด ภูมิแพ้ หอบหืด)

เทคนิคเตรียมตัวออกกำลังกาย สำหรับคนเป็น หอบหืด

โรคระบบทางเดินอาหาร เป็นแล้วอย่านิ่งนอนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.