ตรวจภายใน ตรวจสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง อวัยวะของผู้หญิง มดลูก ช่องคลอด มะเร็ง

ตรวจภายใน เรื่องสำคัญที่คุณผู้หญิงทุกคน ควรตรวจ

การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบได้มากเป็นอันดับที่ 2 ในผู้หญิงไทยรองจากมะเร็งเต้านม ถ้าคิดเฉลี่ยเป็นวันแล้วจะตรวจพบผู้หญิงไทยเสียชีวิตด้วยมะเร็งปากมดลูกวันละ 14 คน มาตรการหนึ่งที่ช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก ที่นอกเหนือจากการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้นั่นก็คือ การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อย่างสม่ำเสมอตามที่แพทย์แนะนำ

การตรวจแปปสเมียร์ (Pap Smear, Pap Test หรือ Papanicolaou Test) คือวิธีตรวจหาความผิดปกติที่ปากมดลูก สูตินารีแพทย์จะใช้เครื่องมือสอดผ่านและถ่างขยายช่องคลอด จากนั้นจะป้ายเซลล์จากปากมดลูกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อดูว่าเกิดเซลล์มะเร็งขึ้นที่ปากมดลูกหรือไม่

 

Pap หรือ แปป มาจากคำว่า “Papanicolaou” ซึ่งเป็นชื่อสกุลของนายแพทย์จอร์จ นิโคลาส พาพานิโคเลา (George Nicholas Papanicolaou) ซึ่งเป็นผู้คิดค้นวิธีการตรวจหาเซลล์มะเร็งวิธีนี้

 

การตรวจแปปสเมียร์ในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี ได้แก่

  1. การตรวจแปปสเมียร์แบบสามัญ (Conventional Pap Smear) เป็นการใช้ไม้ป้ายเซลล์ตัวอย่างจากปากมดลูกลงบนแผ่นกระจกใสโดยตรงเพื่อตรวจดูความผิดปกติ วิธีนี้สามารถตรวจพบความผิดปกติที่ปากมดลูกได้ประมาณ 50-60% เพราะอาจมีการปนเปื้อนของเซลล์เม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดง (ประกันสุขภาพของรัฐบาลครอบคลุมการตรวจนี้)
  2. การตรวจแปปสเมียร์แบบแผ่นบาง (Thin Layer Liquid-based Cytology) เป็นการเก็บเซลล์เยื่อบุปากมดลูกที่กวาดได้ทั้งหมดจากเครื่องมือกวาดเซลล์ แล้วนำเซลล์ที่กวาดได้ไปใส่ไว้ในขวดน้ำยารักษาสภาพเซลล์ก่อน แล้วจึงค่อยดูดเซลล์ขึ้นมาย้อมบนแผ่นกระจกเพื่อตรวจดูความผิดปกติ วิธีนี้สามารถตรวจพบความผิดปกติที่ปากมดลูกได้ประมาณ 70 -80% แต่ถ้ามีการตรวจหาเชื้อเอชพีวี (HPV) หรือเชื้อไ วรัสสายพันธุ์ที่ก่อนให้เกิดมะเร็งด้วยวิธีนี้จะสามารถตรวจหาความผิดปกติที่ปากมดลูกได้สูงเกือบ 100% (การตรวจแบบแผ่นบางจะมีค่าใช้จ่ายแพงกว่าแบบสามัญประมาณ 10 เท่า)

ตรวจภายใน ตรวจสุขภาพ สุขภาพผู้หญิง อวัยวะของผู้หญิง มดลูก ช่องคลอด มะเร็ง

 

หมายเหตุ

หลายท่านอาจเคยได้ยินผ่านหูถึงการตรวจปากมดลูกแบบ ThinPrep หรือ ตินเพรพ ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วิธีการตรวจ แต่เป็นยี่ห้อของน้ำยาในการตรวจแปปสเมียร์แบบแผ่นบางที่ทำออกมาขายในช่วงแรกๆ ในปัจจุบันมีน้ำยาตรวจอีกหลายยี่ห้อเหมือนที่เราเรียกยี่ห้อ “มาม่า” แทนบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปและเรียกยี่ห้อ “โกเต๊กซ์” แทนผ้าอนามัย

 

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.