กลูโคซามีน กระดูกอ่อน กระดูก สารสร้างกระดูก

กลูโคซามีน ชนิดไหนที่ใช่ต่อกระดูก

ประโยชน์ของกลูโคซามีนที่ควรรู้

  • ช่วยรักษาอาการปวดจากโรคข้อเส่อื ม โดยออกฤทธ์ิต่อข้อและกระดูก และมีผลต่อเยื่อหุ้มข้อเข่า
  • ช่วยกระตุ้นให้กระดูกอ่อนสร้างเนื้อเยื่อเพิ่มเติมได้ดีขึ้น
  • ช่วยลดและต้านการอักเสบบริเวณข้อต่อ
  • ลดการสร้างสารโพรสตาแกลนดินส์ (Prostaglandins) ที่ทำลายกระดูก
  • ลดการสร้างออกซิเดชั่นซึ่งเป็นผลเสียต่อข้อ และช่วยลดการสลายของมวลกระดูก
  • ออกฤทธิ์ต่อเยื่อหุ้มข้อ คือ ลดการอักเสบต่อเยื่อหุ้มข้อเพิ่มการสร้างสารไฮยาลูโรนิกแอซิด ซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกอ่อนและการยืดหยุ่น

 

กลูโคซามีนชนิดไหนที่ใช่…ต่อกระดูก

หมอแนะนำให้กินกลูโคซามีนซัลเฟต เพราะทำให้ผลความเข้มข้นของระดับเลือดสูงกว่าชนิดอื่น มีผลต่อข้อเข่าเสื่อมโดยตรง เพราะออกฤทธิ์ได้ดีและยังช่วยยับยั้งการเสื่อมของกระดูกอ่อน บริเวณผิวข้อต่อที่เกิดขึ้นเองโดยมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องน้ำหนัก อายุ และกรรมพันธุ์ หรือเกิดจากการประสบอุบัติเหตุของข้อเข่ามาก่อน เป็นต้น

แต่ทั้งนี้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดข้อเข่า ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงก่อนเข้ารับการรักษาหรือกินกลูโคซามีน

ซงึ่ “โรคข้อเสื่อม” เป็นโรคที่พบว่ามีการสึกกร่อนของกระดูกอ่อน ทำให้ความสามารถในการรองรับการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อต่อลดลง เกิดอาการปวดเมื่อมีการลงน้ำหนักหรือมีกิจกรรมที่ต้องใช้ข้อต่อ

กลูโคซามีน กระดูกอ่อน กระดูก สารสร้างกระดูก

ใช้กลูโคซามีนอย่างไรให้ปลอดภัย

  • ควรใช้กลูโคซามีนที่ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เท่านั้น
  • ห้ามใช้หากผู้ป่วยมีประวัติแพ้ไอโอดีนหรือสัตว์น้ำมีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคตับ โรคไต โรคหัวใจ โรคระบบทางเดินหายใจ ความดันโลหิตสูง หรือมีภาวะเลือดออกง่าย ควรปรึกษาแพทย์และอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่กำลังให้นมบุตร ห้ามใช้กลูโคซามีนเด็ดขาด
  • ในผู้ป่วยที่เป็นโรคต้อหินหรือความดันลูกตาสูงผิดปกติ ควรระมัดระวังการใช้และปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ
  • ผู้ป่วยที่กินกลูโคซามีนต้องแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนผ่าตัดหรือรับการรักษาทางด้านทันตกรรม

 

วิธีช่วยให้กลูโคซามีนออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น

  1. แนะนำให้กินอาหารเพื่อช่วยให้การดูดซึมดีขึ้นและไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  2. มีวินัยในการกิน ควรกินต่อเนื่องติดต่อกันประมาณ 3 เดือนขึ้นไปถึงจะเห็นผล
  3. ควรกินสารอื่นๆ เสริมเข้าไปด้วย เช่น คอนดรอยติน (มีคุณสมบัติระงับการปวดและชะลอการเปลี่ยนข้อได้) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพได้ดียิ่งขึ้น

 

ข้อมูลจาก คอลัมน์ HAPPY BONE นิตยสารชีวจิต ฉบับ 487


บทความน่าสนใจอื่นๆ

3 โรคร้ายที่เมื่อเป็นแล้ว ทำให้มีภาวะเสี่ยงเป็น กระดูกพรุน

อาหารช่วย ข้อต่อ กระดูก แข็งแรง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.