ตรวจความเข้มข้นของเลือด

Q&A ทำไมต้องตรวจความเข้มข้นของเลือด

Q&A ทำไมต้องตรวจความเข้มข้นของเลือด

ตรวจความเข้มข้นของเลือด เป็นการตรวจระดับฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ที่มีอยู่ในเลือด เนื่องจากสารฮีโมโกลินอยู่ในเม็ดเลือดแดง ทำให้ระดับฮีโมโกลบินสัมพันธ์กันโดยตรงกับปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดและปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (hematocrit) เพศชายจะมีระดับฮีโมโกลบินสูงกว่าเพศหญิง 

เลือดจาง เข้มข้นน้อย เสี่ยงโรคโลหิตจาง

ระดับฮีโมโกลบินที่ลดลงแสดงถึงภาวะโลหิตจาง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตุ เช่น จากการเสียเลือด การขาดสารอาหารโดยเฉพาะธาตุเหล็กหรือวิตามินบี 12 และโฟเลท โรคเลือดทางพันธุกรรมเช่น ธัลลัสซีเมีย รวมถึงโรคของไขกระดูกทำให้ผลิตเม็ดเลือดแดงได้ลดล’

ดังนั้น หากพบระดับฮีโมโกลบินที่ลดลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อสืบค้นสาเหตุ และให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามสาเหตุ การให้เลือดเป็นเพียงการแก้ไข้ภาวะโลหิตจางชั่วคราวในรายที่มีภาวะโลหิตจางรุนแรงเท่านั้น ไม่ได้รักษาสาเหตุของภาวะโลหิตจาง จึงควรสืบค้นหาสาเหตุเพื่อแก้ไขให้หายจากภาวะโลหิตจาง

เลือดเข้มข้นสูง เสี่ยงภาวะขาดน้ำ

ส่วนระดับฮีโมโกลบินสูง พบได้ในภาวะขาดสารน้ำในร่างกาย หรือโรคเลือดข้นจากการขาดออกซิเจนเรื้อรังหรือไขกระดูกทำงานผิดปกติก็ได้

ตรวจความเข้มข้นของเลือด

เรื่องน่ารู้เม็ดเลือดแดง

เลือด เป็นของเหลว ประกอบด้วยเม็ดเลือดล่องลอยอยู่ในน้ำเหลืองหรือพลาสมา เลือดมีสีแดงเพราะมีปริมาณเม็ดเลือดแดงเป็นองค์ประกอบจำนวนมาก เลือดไหลเวียนอยู่ทั่วร่างกายทำหน้าที่ตัวกลางติดต่อระหว่างเซลล์ของร่างกาย ขนส่งออกซิเจนและอาหารไปยังส่วนต่าง ของร่างกายและนำคาร์บอนไดออกไซค์ไปขับออกทางปอด และนำของเสียต่างๆเพื่อขับออกทางไต นอกจากนี้เลือดยังเป็นระบบป้องกันด้วยระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและช่วยในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกายอีกด้วย

เม็ดเลือดแดงมีรูปร่างคลายโดนัท เนื่องจากตรงกลางมีรอยบุ๋มแต่ไม่ทะลุตรงกลาง มีขนาดประมาณ 7 ไมครอน ถูกสร้างที่ไขกระดูก ซึงเป็นแกนกลางของกระดูกต่าง ทั่วร่างกาย ภายในเม็ดเลือดแดงสารชื่อ ฮีโมโกลบิล ทำหน้าที่ในการนำออกซิเจนจากปอดไปยังส่วนต่าง ของร่างกาย และนำคาร์บอนไดออกไซค์จากส่วนต่าง ของร่างกายไปขับออกที่ปอด ทำให้ในหลอดเลือดแดงที่เม็ดเลือดแดงมีระดับออกซิเจนปริมาณสูง เลือดจึงมีสีแดงสด ส่วนในหลอดเลือดดำที่เม็ดเลือดแดงมีปริมาณออกซิเจนลดลง และมีปริมาณคาร์บอนไดออกไซค์สูงกว่า เลือดจึงมีสีแดงคล้ำ

อย่างไรก็ตามยังมีการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดแดงในรูปแบบต่างๆ เพื่อการวินิจฉัยโรค

ปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น (hematocrit) เป็นการตรวจปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือด ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนเม็ดเลือดแดงในเลือดและระดับฮีโมโกลบิน สาเหตุที่ทำให้ระดับต่ำหรือสูงขึ้น มีสาเหตุเช่นเดียวกับปริมาณฮีโมโกลบินที่ผิดปกติไป ดังที่กล่าวข้างต้น

  • ปริมาณเม็ดเลือดแดง (red blood cell)เป็นปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือด เป็นค่าที่ตรวจนับได้โดยตรงจากเครื่องตรวจเลือดอัตโนมัติ มีความสัมพันธ์โดยตรงกับระดับฮีโมโกลบินและปริมาตรเม็ดเลือดแดงอัดแน่น สาเหตุที่ทำให้ระดับต่ำหรือสูงขึ้น มีสาเหตุเช่นเดียวกับปริมาณฮีโมโกลบินที่ผิดปกติไป ดังที่กล่าวข้างต้น
  • ดัชนีเม็ดเลือดแดง เป็นการตรวจขนาดและปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ซึ่งเป็นค่าที่ตรวจได้จากเครื่องตรวจเลือดอัตโนมัติ มีความซับซ้อนในการแปลผล ไม่แนะนำให้อ่านค่าด้วยตนเอง หากพบความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์
  • ปริมาตรของเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular volume) เป็นปริมาตรหรือขนาดของเม็ดเลือดแดง สาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรลดลง ได้แก่ ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กและโรคโลหิตจางธัลลัสซีเมีย ส่วนสาเหตุที่พบบ่อยที่ทำให้เม็ดเลือดแดงมีปริมาตรสูงขึ้น ได้แก่ ภาวะขาดวิตามินบี 12 หรือโฟเลท
  • ปริมาณฮีโมโกลิบินในเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin)เป็นปริมาณของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาตรของเม็ดเลือดแดง ทำให้ค่าที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงมีสาเหตุเช่นเดียวกัน
  • ความเข้นข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin concentration)เป็นความเข้มข้นของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงแต่ละเซลล์ ค่าที่ต่ำลงสัมพันธ์กับระดับฮีโมโกลบินและขนาดของเม็ดเลือดแดงที่ต่ำลง จึงมีสาเหตุเช่นเดียวกัน ส่วนค่าที่สูงขึ้นพบได้เมื่อปริมาตรของเม็ดเลือดแดง เช่น ภาวะที่เม็ดเลือดแดงเสียรูปโดนัทกลายเป็นลักษณะกลมแทน เช่น ภาวะโลหิตาจางจากภูมิต้านทานตนเอง เป็นต้น

ค่าระดับผลเลือดต่างๆ

เวลาที่เราเจาะเลือดคุณหมอจะเช็คค่าต่างๆดังนี้ เป็นความรู้ในการอ่านผลและเช็คด้วยตัวเองนะคะ

  1. Red blood cell (RBC) การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดแดง
    • ค่าปกติ 4.5-6.0 x 106 cell/mm3
    • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น (polycythemia)
    • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง (anemia)
  2. Hemoglobin (Hgb) เป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่นำพา oxygen เพื่อใช้ในกระบวนการต่างๆในเซลล์ การตรวจวัดจะบ่งบอกถึงความสามารถการนำพา oxygen ของเลือด ซึ่งจำนวนของ hemoglobin จะขึ้นกับจำนวนของเม็ดเลือดแดง
    • ค่าปกติ – ผู้ชาย 13-18 mg/dL – ผู้หญิง 12-16 mg/dL
    • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น (polycythemia)
    • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงภาวะโลหิตจาง (anemia)
  3. Hematocrit เป็นการวัดปริมาตรของเม็ดเลือดแดงอัดแน่นต่อปริมาณหนึ่งของเลือด
    • ค่าปกติ – ผู้ชาย 40-54 mg/dL – ผู้หญิง 37-47 mg/dL
    • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดข้น (polycythemia)
    • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจาง (anemia)
  4. Platelet การตรวจวัดจำนวนเกล็ดเลือด ซึ่งมีประโยชน์ในการประเมินสภาพผู้ป่วยที่มีเลือดออกผิดปกติ
    • ค่าปกติ 150,000-440,000 cell/mm3
    • ค่าสูง มีความเสี่ยงต่อภาวะเกล็ดเลือดสูง (thrombocythemia)
    • ค่าต่ำ มีความเสี่ยงต่อภาวะเกล็ดเลือดต่ำ (thrombocytopenia)
  5. White blood cell (WBC) การตรวจวัดจำนวนเม็ดเลือดขาว
    • ค่าปกติ 4-11 x 103 cell/mm3
    • ค่าสูง – อาจมีภาวะการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสต่าง ๆ
    • ค่าต่ำ – มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือไวรัสต่าง ๆ
  6. Differential WBC การนับแยกชนิดของเม็ดเลือดขาวค่าปกติ
    • Neutrophil 50-70%
    • Lymphocyte 20-40%
    • Monocyte 0-7%
    • Basophil 0-1%
    • Eosinophil 0-5%
  7. ค่าสูง
    • Neutrophil และ monocyte ทำหน้าที่ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรีย จะพบค่าสูงเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อแบคทีเรีย
    • Lymphocyte ทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัส หรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด พบค่าสูงเมื่อมีการติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
    • Eosinophil ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำลาย histamine หรือทำลายเนื้อเยื่อ พบค่าสูงเมื่อร่างกายมีอาการแพ้ ติดเชื้อพยาธิหรือปรสิต

อ้างอิง : สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย  ,ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โรคเลือดที่น่าสนใจ

หมอสูติแนะ รับมือโรค โลหิตจางในผู้หญิง ควรปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง

ตอบทุกปัญหาคาใจ โลหิตจาง คุณผู้หญิง

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.