ตั้งครรภ์ ภูมิแพ้ หืด หอบ หวัด แพ้อากาศ ตั้งท้อง

โรคภูมิแพ้ ในคุณแม่ ตั้งครรภ์

ผลกระทบของโรคหืดต่อเด็กในครรภ์

ถ้าเราปล่อยให้โรคหืดกำเริบ ไม่ได้ควบคุม ขณะที่โรคกำเริบออกซิเจนในเลือดแม่จะลดต่ำลง ซึ่งเลือดของแม่จะผ่านรกไปสู่ลูก ทำให้ลูกได้รับออกซิเจนน้อยลงตามไปด้วย ถ้ากำเริบบ่อยๆ นานเข้า เด็กก็อาจตัวเล็ก น้ำหนักน้อย คลอดก่อนกำหนด หรือตายระหว่างคลอดได้ ซึ่งสูติแพทย์สามารถตรวจเช็คความผิดปกติของเด็กในครรภ์นี้ได้ด้วยการทำอัลตราซาวนด์ (ultrasound), non-stress test, contraction stress test ทั้งนี้แล้วแต่ดุลยพินิจของสูติแพทย์

เราพบว่า ในคุณแม่ที่ควบคุมโรคได้ไม่ดี เช่น วัดสมรรถภาพการทำงานของปอดได้ต่ำกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ จะมีโอกาสได้ลูกที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ และ/หรือเป็นเด็กที่มีการเจริบเติบโตช้าตั้งแต่อยู่ในครรภ์ มากกว่าคุณแม่ที่มีสมรรถภาพการทำงานของปอดสูงกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ถึง 2.5 เท่า

ส่วนคุณแม่ที่แพทย์สามารถควบคุมโรคไว้ได้ดี จะพบอัตราการตายของทารกต่ำ เด็กจะมีน้ำหนักตัวปกติ แข็งแรงได้เหมือนเด็กทั่วไป

 

ตั้งครรภ์ ภูมิแพ้ หืด หอบ หวัด แพ้อากาศ ตั้งท้อง

ยา

ยาทางสูตินรีเวชบางตัวอาจมีผลต่อโรคหืด เช่น ยาที่ทำให้มดลูกหดตัวบางชนิด ที่อาจนำมาใช้รักษาอาการตกเลือดหลังคลอด อาจทำให้หลอดลมหดตัว เป็นผลให้อาการกำเริบ

แต่ยาบางอย่างก็อาจทำให้โรคหืดมีอาการดีขึ้น เช่น ยาที่ลดการหดตัวของมดลูกบางชนิด

ส่วนยาของโรคหืดแต่ละชนิดมีผลต่อแม่และลูกดังนี้

Theophyllines ยาตัวนี้ผ่านรกไปยังเด็กในครรภ์ได้ ถ้าเด็กได้รับ ในปริมาณสูงอาจเกิดโทษ โดยทำให้เด็กมีอาการกระตุก อาเจียน หัวใจเต้นเร็ว และอาจหยุดหายใจได้ ถ้าหากจะใช้ยาตัวนี้ระหว่างตั้งครรภ์ ควรเจาะเลือดคุณแม่ เพื่อวัดระดับยาไม่ให้สูงเกินจนเกิดโทษดังกล่าวค่ะ ที่น่าเป็นห่วงในเมืองไทยคือ ยากลุ่มนี้ขายกันเกร่อตามร้านขายยา เพราะเป็นยากิน กินวันละ 1-2 ครั้ง สะดวกสบาย คนไข้มักชอบซื้อหามากินเองโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

อะดรีนาลิน (adrenaline)  ที่เอามาใช้ฉีดตอนหอบกำเริบมากๆ นั่นก็ผ่านรกเหมือนกัน แต่ไม่พบว่ามีผลต่อเด็ก

ยาสูดพ่นกลุ่มขยายหลอดลมชนิดออกฤทธิ์สั้น  มีมากมายหลายยี่ห้อ ต่างประเทศใช้กันแพร่หลายมานานแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ได้ระหว่างตั้งครรภ์ เพราะเรายังไม่พบความผิดปกติของทารกจากการใช้ยา

ยาพ่นสูดชนิดลดการอักเสบกลุ่มโครโมลินโซเดียม (cromolyn sodium)  ปลอดภัยมาก แต่มีข้อเสียคือตัวยาค่อนข้างอ่อน อาจรักษาโรคตอนกำเริบรุนแรงไม่สำเร็จ

ยากินกลุ่มลิวโคไตรอีนแอนทาโกนิสต์ (leukotriene antagonist)  ที่มีขายในเมืองไทย คือ montelukast ยังไม่มีรายงานการศึกษาในหญิงมีครรภ์ ถ้าไม่จำเป็นก็ยังไม่ควรใช้

ยาสเตียรอยด์  หากได้รับโดยการรับประทานจะสามารถผ่านรกได้เล็กน้อย โดยเด็กจะได้รับยาประมาณ 10-13 เปอร์เซ็นต์ของยาที่แม่ได้รับ แต่จากการศึกษาในเด็กที่เกิดจากแม่ที่ได้รับเพรดนิโซโลน (prednisolone) ซึ่งเป็นสเตียรอยด์ชนิดหนึ่งระหว่างตั้งครรภ์ ไม่พบว่าเด็กมีความผิดปกติ

ส่วนยาสเตียรอยด์ชนิดพ่น ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการรักษาโรคหืดก็ยังไม่พบว่าทำให้เด็กมีความพิการแต่กำเนิดจากยา ยาหลายตัวจึงสามารถใช้ได้ในระหว่างตั้งครรภ์ ทั้งนี้ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

 

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.