เหงือกอักเสบ เหงือกและฟัน เหงือกอักเสบ โรคช่องปาก ปากและฟัน

เหงือกอักเสบ โรคของช่องปากที่พบบ่อยๆ

การดูแลตนเองและการพบแพทย์

– ดูแลช่องปาก รวมทั้งแหงือกและฟันตามทันตแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อลดโอกาสเชื้อแบคทีเรียแพร่กระจายเข้ากระแสเลือด

– รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อสุขภาพแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อรุนแรง

– ดูแลสุขภาพและรักษาความสะอาดช่องปากสม่ำเสมอ

– ใช้แปรงสีฟันที่ขนแปรงอ่อนนุ่มเพื่อลดการบาดเจ็บต่อเหงือก

– ใช้ยาสีฟันชนิดไม่ก่อการแสบร้อนต่อเหงือก

– บริโภคอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ควรเป็นอาหารอ่อน รสจืด เพื่อลดการระคายเคืองต่อเหงือก

– ดื่มน้ำสะอาดให้ได้อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม เพื่อให้ช่องปากชุ่มชื้น ลดการระคายเคืองต่อเหงือก

– เลิกบุหรี่ เลิกสุรา

– พบทันตแพทย์หรือแพทย์ตรงตามนัดเสมอ เพื่อรักษาและควบคุมโรคให้ได้ ป้องกันการเกิดผลข้างเคียง

– รีบพบแพทย์/ทันตแพทย์เสมอภายใน 1-2 วัน เมื่อเหงือกบวม เจ็บร่วมกับมีไข้ หรือมีเลือดออกมาก (อาจต้องพบแพทย์เป็นการฉุกเฉินเมื่อเลือดออกไม่หยุด)

เหงือกอักเสบ เหงือกและฟัน เหงือกอักเสบ โรคช่องปาก ปากและฟัน

การป้องกัน

– ดูแลสุขภาพและรักษาความสะอาดช่องปากสม่ำเสมอ

– กินอาหารมีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน เพื่อสุขภาพที่ดี ซึ่งรวมถึงเหงือกด้วย

– รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน เพื่อสุขภาพแข็งแรง ลดโอกาสติดเชื้อรุนแรง

– ขูดหินปูนสม่ำเสมอ อาจทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี หรือตามทันตแพทย์แนะนำ

– รักษาและควบคุมโรคที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อเหงือกอักเสบ

– เลิกบุหรี่ เลิกสุรา

– ใส่ฟันปลอมให้เหมาะสมกับช่องปากและเหงือก และรักษาความสะอาดเสมอ

– เมื่อเป็นโรคเหงือก ต้องรีบรักษา เพื่อลดโอกาสเกิดผลข้างเคียง

– พบทันตแพทย์ตรวจสุขภาพช่องปากทุก 6 เดือนหรือ 1 ปี หรือตามทันตแพทย์แนะนำ

 

ข้อมูลจาก หนังสือโรคของช่องปากและฟัน สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ


บทความน่าสนใจอื่นๆ

แผลร้อนใน โรคของช่องปาก ที่เป็นกันบ่อย

7 อาหารใกล้ตัว ช่วย เหงือกและฟัน แข็งแรง

ฟันผุ รุนแรงอาจเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ หรือโรคสมองหลอดเลือดสมองได้

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.