ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัด

ไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ b ป้องกันอย่างไรมีประสิทธิภาพที่สุด

การป้องกันการติดเชื้อโรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ 

เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ และถึงแม้ส่วนใหญ่จะหายโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนก็ตาม แต่ก็อาจทำให้ผู้ป่วย มีไม่สบายหลายวัน จนอาจต้องหยุดเรียนหรือหยุดงาน ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ควรลดโอกาสการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ลงโดย

1.รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอและครบหมู่ ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป

2.อยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี ไม่เข้าไปในที่แออัดโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่

3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , ดื่มสุรา และยาเสพติดต่าง ๆ เนื่องจากอาจทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดี มีโอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น

4.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดอยู่ และพยายามไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำจานชาม ช้อน ร่วมกัน

5.ล้างมือบ่อย ๆ เนื่องจากอาจไปสัมผัสเชื้อโรคที่อยู่ตามสิ่งของต่างๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู แก้วน้ำ เป็นต้น แล้วเผลอไปสัมผัสบริเวณหน้าได้ โดยล้างมือด้วยสบู่ธรรมดา 15-20 วินาทีหรือใช้น้ำยาล้างมืออื่น ๆ

6.รักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ในที่ที่หนาวมากควรสวมหมวกเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายด้วยเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนออกจากที่ศีรษะร้อยละ 60

7.ถ้าหากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรมีผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ไม่คลุกคลีกับผู้อื่นและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่

ฉีดวัคซีนกันเถอะ

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ แนะนำให้ฉีดในรายที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้แก่
-ผู้สูงอายุ
-ผู้ที่มีโรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด โรคหัวใจและระบบไหลเวียนเลือด
-ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคไต โรคเบาหวาน
-ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันด้วย
-เด็กที่ 6 เดือน – 18 ปีที่รับประทานยาแอสไพรินเป็นประจำควรได้รับการฉีดวัคซีนนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากถ้า มีป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่อาจเกิด กลุ่มอาการไรย์ ( Reye’s syndrome) ขึ้นได้โดยมีตับอักเสบและสมองอักเสบ
-ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 และ 3
-ผู้ที่ต้องทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยโรคเรื้อรังหรือชุมชน เช่น แพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ ผู้ที่ทำงานในสถานดูแลผู้ป่วยสูงอายุ เป็นต้น

วัคซีนจะลดอาการและความรุนแรงของโรค ภาวะแทรกซ้อน โอกาสที่ตอนนอนโรงพยาบาลและอัตราการเสียชีวิตลง วัคซีนได้ผลประมาณร้อยละ 70-90 แต่ในผู้สูงอายุมีการตอบสนองต่อยาน้อยกว่านี้ ประมาณร้อยละ 30-70 การฉีดวัคซีนนี้จะต้องฉีดทุกปีเข้ากล้าม 1 ครั้งก่อนช่วงที่จะมีการระบาด ( ฤดูฝน) เนื่องจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมตลอด วัคซีนจึงต้องผลิตใหม่ให้ตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ ร่างกายใช้เวลาประมาณ 2 สัปดาห์กว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้ ผลข้างเคียงจากการฉีดยาที่พบในผู้ป่วยบางรายได้แก่ อาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัวเล็กน้อยหรือปวด บวม คันบริเวณที่ฉีดซึ่งมักมีอาการไม่มากนักและมักจะหายไปใน 1-2 วัน


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

7 กลุ่มเสี่ยงต้องฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

10 ข้อต้องรู้ ป้องกันและรักษา ไข้หวัดใหญ่

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย

Summary
7 วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่
Article Name
7 วิธีป้องกันไข้หวัดใหญ่
Description
1.รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เพียงพอและครบหมู่ ดื่มน้ำมาก ๆ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอไม่ตรากตรำทำงานหนักจนเกินไป 2.อยู่ในที่อากาศถ่ายเทดี ไม่เข้าไปในที่แออัดโดยเฉพาะช่วงที่มีการระบาดของไข้หวัดใหญ่ 3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ , ดื่มสุรา และยาเสพติดต่าง ๆ เนื่องจากอาจทำให้สุขภาพร่างกายไม่ดี มีโอกาสติดเชื้อง่ายขึ้น 4.หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไข้หวัดอยู่ และพยายามไม่ใช้ของใช้ส่วนตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำจานชาม ช้อน ร่วมกัน  5.ล้างมือบ่อย ๆ เนื่องจากอาจไปสัมผัสเชื้อโรคที่อยู่ตามสิ่งของต่างๆ เช่น ราวบันได ลูกบิดประตู แก้วน้ำ เป็นต้น แล้วเผลอไปสัมผัสบริเวณหน้าได้ โดยล้างมือด้วยสบู่ธรรมดา 15-20 วินาทีหรือใช้น้ำยาล้างมืออื่น ๆ  6.รักษาร่างกายให้อบอุ่นในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง ในที่ที่หนาวมากควรสวมหมวกเพื่อลดการถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายด้วยเนื่องจากการถ่ายเทความร้อนออกจากที่ศีรษะร้อยละ 60  7.ถ้าหากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ควรมีผ้าปิดปากและจมูกเวลาไอจาม ไม่คลุกคลีกับผู้อื่นและหมั่นล้างมือบ่อย ๆ 
Author

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.