วันผู้สูงอายุ, อายุยืน, ผู้าสูงอายุ, สงกรานต์

สูงวัยอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่า รับวันผู้สูงอายุ

สูงวัยอย่างมีคุณภาพและมีคุณค่ารับ วันผู้สูงอายุ และครอบครัวไทย

ในเดือนเมษายนของทุกปี จะเป็นเดือนแห่งการรณรงค์ วันผู้สูงอายุ และครอบครัวไทย ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ตระหนักถึงปัญหาผู้สูงอายุที่มีเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ในสังคมไทย

ชีวจิตออนไลน์ มีบทความดีๆ จาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณแพทย์หญิง วรรณี  นิธิยานันท์ ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย มาฝากจ้า

สถิติผู้สูงอายุ รับ วันผู้สูงอายุ

ซึ่งจากการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560  โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าผู้สูงวัยที่อายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปมีจำนวน 11,312,447 คน คิดเป็นร้อยละ 16.7 ของประชากรไทย มีการคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573 คนไทยที่อายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์จะมีมากกว่าร้อยละ 25 แต่ในหลายประเทศผู้สูงวัยหมายถึงบุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป เป็นวัยที่ความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน มีโรคที่เกิดจากความเสื่อมตามวัยได้ องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความผู้สูงอายุที่มีสุขภาวะดีว่าเป็นผู้สูงอายุที่มีโรคน้อย แม้มีโรคก็มีสุขภาพดี โดยมีร่างกายแข็งแรง คล่องแคล่ว กระฉับกระเฉง จิตใจผ่องใสและเป็นสุข ดูแลตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาคนอื่น เข้าสังคมและร่วมกิจกรรมในสังคมได้ จัดเป็นผู้สูงอายุที่มีคุณภาพและคุณค่า

อ่านเพิ่มเติม : 9 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบบ่อย

โรคพบบ่อยในผู้สูงวัย หรือ ผู้สูงอายุ

รายงานในปี พ.ศ.2557 พบว่า ร้อยละ 70 (10.5 ล้านปี จากทั้งหมด 14.9 ล้านปี) ของปีสุขภาวะที่คนไทยสูญเสีย  เกิดจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs (non-communication diseases) โดยโรคที่พบเป็นสาเหตุบ่อยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์และอัมพาต โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง กลุ่มโรค NCDs ทั้งหมดเกิดจากคนไทยดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งการกิน การอยู่ แบบคนเมืองมากขึ้น นั่นคือ บริโภคอาหารปริมาณมาก แต่สัดส่วนและคุณภาพไม่เหมาะสม มีไขมัน น้ำตาลและเกลือปริมาณมาก มีการเคลื่อนไหวร่างกาย และกิจกรรมออกแรงน้อยลง ชีวิตเต็มไปด้วยความเครียด รีบเร่งและแข่งขัน แวดล้อมด้วยมลพิษ ยาสูบ แอลกอฮอล์ และสิ่งเสพติด

 

วันผู้สูงอายุ, อายุยืน, ผู้าสูงอายุ, สงกรานต์
“Krabi, Thailand – April 16, 2013: Unidentified Thai people celebrate Songkran (new year / water festival) by giving garlands to their seniors and asked for blessings.”

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อทุกวัย เริ่มตั้งแต่ทารกในครรภ์ มารดาต้องเรียนรู้และดูแลตนเองขณะตั้งครรภ์อย่างถูกต้อง เพื่อให้มีสุขภาพดี มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม ประมาณ 12-15 กิโลกรัม ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ การบริโภคและกิจกรรมออกแรงที่มารดาทำจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของทารกในครรภ์ ถ้ามารดาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมาก บางคนมากเกิน 20 กิโลกรัม ทารกอาจมีน้ำหนักตัวแรกเกิดมากเกินไป หรือถ้ามารดาน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นน้อยไป ทารกอาจมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย ทำให้มีความเสี่ยงขณะคลอดและสุขภาพที่ไม่ดีในอนาคต นอกจากนี้มารดาต้องนำสิ่งที่เรียนรู้ในขณะตั้งครรภ์มาเลี้ยงดูลูกให้เติบโตและพัฒนาตามวัย รวมทั้ง ควรดูแลความเป็นอยู่ของคนในครอบครัวเพื่อให้ปลอดจากโรคเรื้อรัง NCDs ด้วย

อ่านเพิ่มเติม : 4 ผู้สูงวัย แชร์เคล็ดลับ อายุยืน ไม่อยากป่วยง่าย ต้องอ่าน

อ่านต่อหน้าถัดไป>>วิธีป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง  NCDs ในผู้สูงอายุ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.