เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย, AED, CPR

เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย ป้องกันเสียชีวิต

เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย ป้องกันเสียชีวิต

เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย เพราะบ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวหรือพบเห็นการเสียชีวิตจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันของผู้ป่วย ซึ่งหลายครั้งหากได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีและถูกต้องอาจสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยให้รอดพ้นจากเงื้อมมือมัจจุราชได้

ในต่างประเทศให้ความสำคัญเรื่องการช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวโดยมีการติดตั้งอุปกรณ์ช่วยชีวิตไว้ตามพื้นที่สาธารณะ อีกทั้งมีการฝึกสอนให้ประชาชนรู้วิธีกู้ชีพและโทร.แจ้งเหตุให้ทันท่วงที จึงเพิ่มอัตรารอดชีวิตของผู้ป่วยภาวะฉุกเฉินเช่นนี้ได้

ชีวจิต มีโอกาสได้พูดคุยกับ ดอกเตอร์ นายแพทย์ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย รองเลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงแนวทางช่วยเหลือผู้ป่วยด้วย เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย ในกลุ่มดังกล่าว มีดังนี้

GLOBAL PROTOCOL

ความสำคัญของเครื่องเออีดีในระดับสากล เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย

คุณหมอไพโรจน์กล่าวว่า ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา กลุ่มสหภาพยุโรป ญี่ปุ่น มีการติดตั้งเครื่องฟื้นคลื่นหัวใจแบบอัตโนมัติ (Automated External Defibrillator) หรือเครื่องเออีดี ไว้ตามสถานที่สาธารณะ เช่น สถานีรถไฟ สนามบิน บนเครื่องบิน บนรถไฟ รวมถึงสถานที่ที่มีผู้คนจำนวนมาก เช่น สถานที่ราชการ ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน โรงงานสนามแข่งขันวิ่งมาราธอน เพื่อเพิ่มโอกาสการกู้ชีพ ผู้ป่วยหมดสติจากภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันก่อนที่รถพยาบาลจะมาถึงที่เกิดเหตุและรับตัวผู้ป่วยไปรักษาในขั้นสูงต่อไป

HOT ISSUE

เทคโนโลยีใกล้ตัวกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวายเฉียบพลัน

คุณหมอไพโรจน์อธิบายต่อว่า เครื่องเออีดีเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาซึ่งสามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตโดยอัตโนมัติ ได้แก่ ภาวะหัวใจห้องล่างเต้นแผ่วระรัวและภาวะหัวใจห้องล่างเต้นเร็วผิดปกติ และให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ โดยใช้กระแสไฟฟ้าหยุดรูปแบบการเต้นของหัวใจผิดจังหวะ ช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นใหม่ในจังหวะที่ถูกต้องได้

คุณหมอไชยพรระบุว่า ปัจจุบันในประเทศไทยมีการติดตั้งเครื่องเออีดีตามห้างสรรพสินค้า สถานีรถไฟฟ้า และสนามบินมากขึ้น แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังไม่ทราบวิธีใช้เครื่องเออีดี รวมถึงไม่ทราบว่าต้องใช้วิธีการช่วยฟื้นคืนชีพหรือการทำซีพีอาร์ (CPR – Cardiopulmonary Resuscitation) ที่เรียกให้เข้าใจง่ายว่าการกดหน้าอก ร่วมกับการใช้เครื่องเออีดีอย่างไร

เทคโนโลยีกู้ชีพผู้ป่วยหัวใจวาย, AED, CPR
AED box or Automated External Defibrillator medical first aid device isolated on white background

CPR IN 4 MINUTES

กู้ชีพหัวใจวายก่อนสายเกินแก้

คุณหมอไชยพรย้ำว่า กรณีที่พบผู้ป่วยนอนหมดสติและไม่หายใจต้องเร่งกู้ชีพโดยการกดหน้าอกให้เร็วที่สุด หากกู้ชีพได้ทันทีจะช่วยให้หัวใจกลับมาเต้นเป็นปกติและป้องกันภาวะสมองขาดออกซิเจนได้ ดังนั้นเมื่อพบผู้ป่วยหมดสติ ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. เรียกชื่อ โดยการใช้มือตบที่บ่าแล้วเรียกผู้ป่วย ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัว ให้จัดท่านอนตะแคง แต่ถ้าเรียก 2 – 3 ครั้งแล้วผู้ป่วยยังไม่ตอบสนอง ให้ทำตามข้อถัดไป
  1. หาสัญญาณชีพ วิธีที่ง่ายที่สุดคือ ตรวจดูว่ายังหายใจหรือไม่หากพบว่าไม่หายใจ ไม่รู้สึกตัว หรือหายใจเฮือก ต้องรีบกดหน้าอก
  1. โทร.แจ้ง 1669 กรณีที่ผู้ป่วยหมดสติให้โทร.แจ้ง เพื่อเรียกรถพยาบาลมารับ โดยระบุอาการของผู้ป่วยและสถานที่เกิดเหตุ หลังจากโทร.แจ้งแล้วให้รีบลงมือกู้ชีพผู้ป่วยทันทีและแจ้งคนรอบข้างให้ช่วยหาเครื่องเออีดีมาด้วย โดยในขณะที่รอรถพยาบาลและเครื่องเออีดีให้ลงมือกดหน้าอกทันที

อ่านหน้าถัดไป>> เทคนิคการทำ CPR ช่วยชีวิต

อ่านเพิ่มเติิม

ออกซิเจน VS ซีพีอาร์ จำเป็นต่อผู้ป่วย หัวใจวาย แค่ไหน

3 สารอาหารบำรุงหัวใจ ต้านโรค ช่วยอายุยืน

“หัวใจวาย” รับมือได้หากรู้จักวิธีป้องกัน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.