อาหารต้านโรคหัวใจ,อาหารต้านโรค,อาหารสุขภาพ,โรคหัวใจ

3 สารอาหารบำรุงหัวใจ ต้านโรค ช่วยอายุยืน

3 อาหารบำรุงหัวใจ ช่วยอายุยืน

หลายคนอยากทราบว่า  นอกจากอาหารธรรมชาติแล้ว  ยังมีสารอาหารหรือวิตามินอะไรบ้างที่ช่วยบำรุงหัวใจ คุณธิษณา จรรยาชัยเลิศ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ ได้คัดเอาสุดยอด อาหารบำรุงหัวใจ ที่พบทั้งในอาหารธรรมชาติและในรูปแบบอาหารเสริมที่ใช้ป้องกันและช่วยสนับสนุนการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยจะแนะนำวิธีกินและปริมาณที่เหมาะสมเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาสุขภาพ

อาหารบำรุงหัวใจ

โคเอนไซม์คิวเท็น ลดเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว

เอนไซม์คิวเท็น ลดเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว โคเอนไซม์คิวเท็น (CoEnzyme Q10) คือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ ช่วยเปลี่ยนอาหารเป็นพลังงานแก่เซลล์ ลดอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของเซลล์ในร่างกาย ช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนให้แก่เซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ มีบทบาทสำคัญในการบำรุงผิว ป้องกันริ้วรอย ทั้งมีบทบาทเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย

ศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแมริแลนด์ (University of Maryland Medical Center) ให้ข้อมูลว่า โคเอนไซม์คิวเท็นอาจมีผลช่วยรักษาภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เมื่อกินเสริมควบคู่ไปกับการรักษาทางการแพทย์

ภาวะหัวใจล้มเหลวทำให้เลือดไหลเวียนออกจากหัวใจไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเกิดจากการคั่งของเลือดในหัวใจห้องซ้ายและปอด ส่งผลให้เกิดอาการเหนื่อยหอบ นอนราบไม่ได้หรือเกิดการคั่งของเลือดในหัวใจห้องขวา ทำให้หลอดเลือดดำที่คอโป่ง ตับโต จุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ และมีอาการบวม

การศึกษาหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่า โคเอนไซม์คิวเท็นอาจมีส่วนช่วยลดอาการต่างๆ โดยเฉพาะอาการบวมของขาและลดการคั่งของเลือดในปอด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบาก

นอก จากนี้ยังมีงาน วิ จัย จาก American College of Cardiology Foundation, Issuing Body ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร JACC. Heart Failure พบว่า โคเอนไซม์คิวเท็นช่วยลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวได้ถึงร้อยละ 50

แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ทุกการศึกษาที่จะให้ผลทางบวก ดังนั้นไม่ควรกินโคเอนไซม์คิวเท็นเพื่อรักษาภาวะหัวใจล้มเหลวเอง แต่ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนตัดสินใจ

HOW TO EAT

ดร.แอนดรูว์  ไวล์ (Dr. Andrew Weil) พ่อมดแห่งวงการแพทย์ทางเลือก แนะนำให้กินโคเอนไซม์คิวเท็นอย่างน้อยวันละ 90 – 120 มิลลิกรัม หรือกินแบบแคปซูลขนาด 30 มิลลิกรัม ครั้งละ 1 เม็ด วันละ 3 เวลา สำหรับผู้ที่กินยาสแตติน (Statins) ยานี้ไม่เพียงยับยั้งการสร้างคอเลสเตอรอลในร่างกาย แต่ยังขัดขวางการสร้างโคเอนไซม์คิวเท็นอีกด้วย โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว หากมีระดับโคเอนไซม์คิวเท็นในร่างกายต่ำอาจมีผลให้อาการยิ่งทรุดหนัก

นอกจากนี้ยังแนะนำให้ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจและผู้มีความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจควรพิจารณาการกินโคเอนไซม์
คิวเท็นเสริมด้วย โคเอนไซม์คิวเท็นละลายได้ดีในไขมัน จึงควรกินพร้อมมื้ออาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำมันหรือไขมันดี เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก นอกจากนี้สามารถพบโคเอนไซม์คิวเท็นในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลา

แซลมอน,อาหารบำรุงหัวใจ

โอเมก้า-3 ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ

กรดไขมันโอเมก้า – 3 (Omega-3) เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการพัฒนาของสมองและสายตาในทารก ช่วยป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคไขข้ออักเสบ โรคอัลไซเมอร์

กรดไขมันโอเมก้า – 3 ช่วยลดความเสี่ยง โรคหัวใจจากหลายสาเหตุ โดยวารสารวิชาการหลายฉบับสรุปตรงกันว่า กรดไขมันโอเมก้า – 3
ช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ช่วยเพิ่มคอเลสเตอรอลชนิดดี เอชดีแอลคอเลสเตอรอล (HDL-cholesterol) ซึ่งช่วยนำคอเลสเตอรอลร้ายไปกำจัดที่ตับ ลดความดันโลหิตในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ทั้งช่วยป้องกันการอุดตันในหลอดเลือดจากการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด (Platelets) และป้องกันการหนาตัวหรือแข็งตัวของหลอดเลือด อันเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

HOW TO EAT

ทางเลือกแรกที่ช่วยให้หัวใจแข็งแรง สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกา (The American Heart Association) แนะนำให้กินปลาทะเลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง กินอาหารให้ได้รับพลังงานที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ เกลือ และคอเลสเตอรอลสูง หากกินได้ตามนี้สามารถลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้แน่นอน

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ สมาคมโรคหัวใจ ประเทศสหรัฐอเมริกาแนะนำให้เสริมกรดไขมันโอเมก้า – 3 ที่มีส่วนประกอบของอีพีเอ (EPA) และดีเอชเอ (DHA) ที่สกัดจากปลาทะเลปริมาณ 1 กรัม ส่วนผู้ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง แนะนำให้กินกรดไขมันโอเมก้า- 3 ปริมาณ 2- 4 กรัม

ทั้งนี้ให้ปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนตัดสินใจกินอาหารเสริม และไม่แนะนำให้เสริมวิตามินในกลุ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินเอ ซี และอี เพราะตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้บ่งบอกว่าช่วยลดความดันโลหิตลดคอเลสเตอรอล หรือช่วยให้เลิกบุหรี่ได้

วิตามินบี3 ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ

วืตามินบี3 หรือไนอะซิน (Niacin) ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต ลดคอเลสเตอรอล ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยการไหลเวียนเลือด บรรเทาอาการซึมเศร้า มีความสำคัญต่อทั้งระบบย่อยอาหาร ระบบประสาทและผิวหนัง

โดยวิตามินบี3 เป็นอีกหนึ่งอาหารเสริมที่นิยมใช้ป้องกันโรคหัวใจ เพราะมีสรรพคุณลดไขมันในเส้นเลือดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลชนิดร้าย แอลดีแอลคอเลสเตอรอล (LDLCholesterol) ทั้งช่วยเพิ่มเอชดีแอลคอเลสเตอรอลซึ่งเป็นคอเลสเตอรอลชนิดดีอีกด้วย จึงเป็นอีกความหวังที่จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด

แต่ทั้งนี้มีงานวิจัยล่าสุดจาก The New England Journal of Medicine สนับสนุนว่า วิตามินบี3 มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้น แต่อาจไม่ช่วยป้องกันโรคหัวใจ โดยจากการทดลองพบว่า ผู้ที่กินวิตามินบี3 เสริม มีอัตราการเกิดโรคหัวใจโรคหลอดเลือดสมอง และอัตราการตาย ไม่ต่างจากผู้ที่กินยาหลอกที่ไม่มีส่วนประกอบของวิตามินบี3 เลย

ยังมีข้อถกเถียงถึงการเสริมวิตามินบี3 เพื่อป้องกันโรคหัวใจ ทั้งนี้จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวเพื่อขอความเห็นถึงความคุ้มค่าและความจำเป็นในการเสริมวิตามินชนิดนี้

HOW TO EAT

วิตามินบี3 พบมากในปลาแซลมอน ปลาทูน่า ธัญพืช ถั่ว และผักหลายชนิด เช่น ผักใบเขียว บรอกโคลี มะเขือเทศ แครอต อะโวคาโด มันเทศ เห็ด หากกินจากอาหารธรรมชาติก็ยากที่จะเกิดผลข้างเคียง แต่หากกินในรูปอาหารเสริมอาจเกิดอาการคัน หงุดหงิด ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ปวดท้อง ท้องเสีย

และหากกินปริมาณสูงอาจเกิดพิษต่อตับได้ ดร.แอนดรูว์ ไวล์ แนะนำให้เสริมวิตามินบี3 วันละ 50 มิลลิกรัม ในรูปไนอะซินาไมด์ (Niacinamide) ในวิตามินบีรวมซึ่งมีวิตามินบีหลายชนิด เช่น วิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี1 2 นอกจ ากนี้หญิ งตั้ งค ร รภ์และให้นมบุตรควรหลีกเลี่ย งวิตามินบี3 ในรูปอาหารเสริม

กินอาหารเสริมแล้วอย่าลืมกินอาหารมื้อหลักที่อุดมไปด้วยสารอาหารจากธรรมชาติที่ดีต่อสุขภาพ พร้อมกับออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอร่วมด้วย เพื่อสุขภาพหัวใจและร่างกายที่แข็งแรง


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคร้ายที่มีแต่ความสูญเสีย

4 อาการเหนื่อย ที่ไม่ควรมองข้าม เสี่ยงโรคหัวใจสูง

คู่มือ โรคหัวใจ ป้องกันหอบเหนื่อยก่อนหัวใจวาย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.