ท่าลุกนั่งที่ถูกต้องในผู้สูงวัย

ท่าลุกนั่ง ในผู้สูงวัย ต้องทำอย่างไร เพื่อให้เคลื่อนไหวตัวได้ง่ายขึ้น

ท่าลุกนั่ง คือท่าทางในชีวิตประจำวันที่หลายคนอาจมองข้าม เมื่ออายุมากขึ้น พละกำลังก็ลดลงเรื่อยๆ ตามวัย ทำให้เคลื่อนไหวตัวได้ลำบาก ส่งผลให้หลายคนรู้สึกขี้เกียจจะทำอะไร แม้แต่การลุกขึ้นจากเตียง หากปล่อยไว้นานๆ อาจนำไปสู่การนอนติดเตียงได้ ว่าแล้วมาลองลุกขึ้นด้วยตัวเองกันเถอะ

ท่าลุกนั่งพื้นฐาน

ชันเข่า ตะแคงข้าง และใช้มือดันให้ลุกขึ้น

ขั้นตอนที่ 1 ชันเข่า 1 ข้าง

เมื่อร่างกายของผู้สูงอายุอ่อนแรงลงตามวัย จึงไม่สามารถใช้กล้ามเนื้อหน้าท้องและแขนในการยกตัวเองให้ลุกขึ้นอย่างรวดเร็วได้เหมือนคนหนุ่มสาว ดังนั้น เราจึงควรศึกษาท่าทางการลุกขึ้นต่อไปนี้ เพื่อนำไปปรับใช้ได้ง่ายขึ้น

ชันเข่าประมาณ 90 องศา ด้านตรงข้ามกับฝั่งที่จะลุกขึ้น

-กางแขนด้านที่จะลุกออกไปประมาณ 30 องศา

-หากมีสายไฟ หรือหนังสือวางเกะกะจะเป็นอุปสรรคต่อการลุกและอาจสะดุดล้มได้ ดังนั้น จึงควรเก็บของให้เรียบร้อยก่อนลุกขึ้น

รู้หรือไม่?

การชันเช่าทำให้มีโมเมนต์ของแรงต่ำ พื้นที่สัมผัสน้อย จึงลุกได้ง่ายขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 ตะแคงตัวไปด้านข้าง

ค่อยๆ เอนเข่าที่ชันขึ้นมาอีกด้านหนึ่ง ลำตัวก็จะบิดตามมาและอยู่ในท่าตะแคง

แรงเหวี่ยงจากการเอนเข่าทำให้ลำตัวหมุนตามมาโดยอัตโนมัติ

ขั้นตอนที่ 3 ดันตัวขึ้น

ใช้มือทั้งสองข้างยันพื้นเพื่อดันตัวขึ้นและพยุงร่างกายไว้ไม่ให้ล้ม

-งอข้อศอกด้านที่ใกล้กับพื้น เพื่อรับน้ำหนักตัว และเป็นจุดหมุน เมื่อดันตัวขึ้นเล็กน้อยแล้ววางมืออีกข้างลงบนพื้นเพื่อดันตัวให้สูงขึ้น

ขั้นตอนที่ 4 ผลักตัวให้ตั้งตรง

เหยียดแขนตึง เมื่อยกตัวขึ้นแล้วหมุนตัวให้ตรง แล้วค่อยๆ วางมือบนต้นขา มองตรงไปข้างหน้า

-ใช้แขนที่รับน้ำหนักตัวไว้ดันตัวให้ตั้งตรง

-ท่าลุกได้แล้ว แต่ยังนั่งไม่ตรง ให้ผู้ดูแลช่วยจัดท่าให้

นี่คือท่าทางพื้นฐาน ซึ่งเราจะนำท่าทางอื่นๆ เพื่อช่วยให้ผู้สูงวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาแนะนำกันอีกเรื่อยๆ แล้วติดตามกันนะคะ

ท่าลุกนั่ง, ผู้สูงอายุ, การดูแลผู้สูงอายุ
กล้ามเนื้อหน้าท้องและแขนในผู้สูงวัยมักอ่อนแรง ทำให้การลุกขึ้นนั่งไม่รวดเร็วเหมือนคนหนุ่มสาว

ข้ŒอควรจําในการพยาบาลผูŒ้ป่†วยที่บ้าน

-ควรส่‹งเสริมให้Œผู้Œป่†วยดําเนินชีวิตอย่‹างเป็šนอิสระเท่‹าที่จะทําได้Œ

-ปล่‹อยให้Œผู้Œป่†วยช่‹วยเหลือตัวเองในสิ่งที่ไม่‹เหลือบ‹่ากว่‹าแรง

-ควรเอาใจใส่‹สภาพร‹่างกายเครื่องนุ‹่งห่‹มและเครื่องนอนของผู้Œป่†วยอยู‹่เสมอ

-ควรสังเกตพัฒนาการของผู้Œป่†วยดŒ้วยการบันทึกชีพจรอุณหภูมิและอัตราการหายใจของผู้Œป่†วย โดยลงเวลากํากับทุกครั้งหากผู้Œป่†วยมีอาการแย่‹ลงหรือฟ„ื้œนตัวช้Œาผิดปรกติ ควรติดต‹่อแพทย์ทันที

-ควรให้Œการปฏิบัติดูแลผู้Œป่†วยตามที่แพทย์สั่งอย่‹างเคร่‹งครัด

-ควรแสดงความรักและเอื้ออาทรต‹่อผู้Œป่†วยอยู่‹เสมอ

-อย่‹าสร้Œางความวิตกกังวลหรือไม่‹สบายใจแก่‹ผูŒ้ป่†วย


บทความอื่นที่น่าสนใจ

4 ผู้สูงวัย แชร์เคล็ดลับ อายุยืน ไม่อยากป่วยง่าย ต้องอ่าน

เทคนิคช่วยลด อาการเบื่ออาหาร ในผู้สูงอายุ

9 ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่พบบ่อย

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.