โรงพยาบาลมาตรฐาน  HA , ฉุกเฉิน, เจ็บป่วยฉุกเฉิน, การบริการสุขภาพโรงพยาบาล HA, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

“เจ็บป่วยฉุกเฉิน” และการบริการสุขภาพโรงพยาบาล HA

ฉุกเฉินแค่ไหน แล้วทำไมถึงต้องรอนาน  

คนไข้ ผู้ป่วย อาจคิดว่าฉุกเฉิน ต้องรีบไปโรงพยาบาลพบหมอ แล้วรักษาอย่างรวดเร็วแล้วกลับบ้าน แต่แท้จริงแล้วฉุกเฉินอาจไม่ใช่แค่ คนไข้คิดว่าฉุกเฉิน แต่ฉุกเฉินต้องถูกประเมินในทางการแพทย์ด้วย

ข้อมูลจาก Emergency Severity Index (ESI) Version 4  ระบบคัดกรองผู้ป่วยของไทยตามแบบฉบับของประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้แบ่งระดับความฉุกเฉิน ของผู้ป่วยที่มารับบริการไว้ 5 ระดับ

  • ผู้ป่วยกฉุกเฉินวิกฤต (สีแดง) ระดับ ESI 1-2 สามารถตรวจรักษาภายใน 0-4 นาที หรือทันที เป็นผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหันมีภาวะคุกคามต่อชีวิต หากไม่ได้รับปฏิบัติการแพทย์ทันทีเพื่อแก้ไขระบบการหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด หรือระบบประสาทแล้ว ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง หรือทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้อย่างฉับไว

บางโรงพยาบาลไทยหลายแห่งแยกระดับ ESI 2 ออกมาเป็นเจ็บป่วยรุนแรง (สีชมพู) ตรวจรักษาภายใน 4-15 นาที

  • ผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน (สีเหลือง) ระดับ ESI 3 สามารถตรวจรักษาไม่เกิน 30 นาที บุคคลที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วย ที่มีภาวะเฉียบพลันมาก หรือเจ็บปวดรุนแรง จำเป็นต้องได้รับปฏิบัติการแพทย์อย่างรีบด่วน มิฉะนั้นจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น ซึ่งส่งผลให้เสียชีวิต หรือพิการในระยะต่อมาได้

จะมีการวินิจฉัยว่าต้องทำกิจกรรมอะไรไหม เช่น เจาะเลือด ฉีดยา หรือหัตถการอย่างการผ่าตัด พร้อมกับวัดสัญญาณชีพช่วงอันตรายหรืออุณหภูมิร่างกาย ซึ่งถ้าเข้าข่ายอันตรายก็ไประดับ ESI 2

  • ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง (สีเขียว) ระดับ ESI 4 ตรวจรักษาไม่เกิน 60 นาที คือผู้ป่วยที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยที่มีภาวะเฉียบพลันไม่รุนแรง สามารถรอรับปฏิบัติการแพทย์ได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรือเดินทางไปรับบริการสาธารณสุขด้วยตนเองได้

แต่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรและหากปล่อยไว้เกินเวลาอันสมควรแล้วจะทำให้การบาดเจ็บหรืออาการป่วยของผู้ป่วยฉุกเฉินนั้นรุนแรงขึ้นหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้

  • ผู้ป่วยฉุกเฉินทั่วไป (สีขาว) ระดับ ESI 5 ตรวจรักษามากกว่า 60 นาที บางแห่งก็นานถึง 2 ชั่วโมง คนที่เจ็บป่วยแต่ไม่ใช่ผู้ป่วยฉุกเฉิน รอรับหรือเลือกมาในวันทำการปกติได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงขึ้นหรือภาวะแทรกซ้อนตามมา

เมื่อมีอาการนำ เจ็บป่วยฉุกเฉิน ต้องมาโรงพยาบาล แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์จะเป็นคนประเมินตามโรคและอาการสำคัญที่นำมา โดยพิจารณาถึงความจำเป็นก่อนหลังในการรักษาและรับบริการ ในทางที่ดีถ้าไม่ได้เจ็บป่วยถึงขั้นฉุกเฉินวิกฤติ หรือรุนแรง หรือเร่งด่วน สามารถรอรับบริการทางการแพทย์ในวันปกคิก็ได้นะ

ยกเว้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุต่างๆ อย่าง ไฟฟ้าช็อต จมน้ำ หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์ หมากัด แล้วค่อยไปโรงพยาบาล ประเมินอาการเพื่อทำการรักษากันต่อไป

อ่านต่อหน้าถัดไป ระบบจัดการผู้ป่วยฉุกเฉิน (กรณี 13 หมูป่า)

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.