โรงพยาบาลมาตรฐาน  HA , ฉุกเฉิน, เจ็บป่วยฉุกเฉิน, การบริการสุขภาพโรงพยาบาล HA, เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

“เจ็บป่วยฉุกเฉิน” และการบริการสุขภาพโรงพยาบาล HA

AOC ระบบบริหารจัดการพยาบาลแบบรวมศูนย์ (Ambulance Operation Center)

นอกจากการเจ็บป่วยฉุกเฉินเเล้ว ระบบการจัดการงานด้านฉุกเฉิน รีเฟอร์คนไข้ ก็สำคัญมากเช่นกัน จึงกลายเป็นที่มาของการจัดตั้งศูนย์กลางส่งต่อผู้ป่วย หรือโดยขณะนี้มีระบบศูนย์ AOC หรือระบบบริหารจัดการพยาบาลแบบรวมศูนย์ (Ambulance Operation Center)

นพ.สมศักดิ์ อธิบายว่า “บทบาทการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการบริหารจัดการงานด้านฉุกเฉิน คือ ที่ผ่านมา รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ถือเป็นรพ.ศูนย์ที่ดูแลทั้งจังหวัด ขณะเดียวกันในภาคเหนือก็อยู่ในกลุ่มล้านนานั้นคือ เชียงราย พะเยา

โดยขณะนี้มีระบบศูนย์ AOC หรือระบบบริหารจัดการพยาบาลแบบรวมศูนย์ (Ambulance Operation Center) ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการสรุปถอดบทเรียนปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหาการรีเฟอร์ส่งต่อผู้ป่วยในพื้นที่ จ.เชียงราย  พะเยา ประกอบกับ เป็นช่วงที่พี่ตูน บอดี้แสลม ได้บริจาคเงินสำหรับซื้อเครื่องมือทางการแพทย์  จึงนำงบประมาณตรงนั้น มาติดตั้งระบบ AOC

ซึ่งกรณีฉุกเฉินหมูป่า 13 ชีวิตก็ดำเนินการโดยผ่านระบบศูนย์ AOC เช่นกัน ซึ่งมีระบบพร้อมคอยช่วยเหลือเด็กๆและได้ส่งอาการไปยังศูนย์ AOC รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์เพื่อประเมินอาการและเตรียมรับมือล่วงหน้า และถือเป็นกรณีศึกษาสำคัญจากเคสหมูป่าที่เราได้ดำเนินการปฎิบัติระบบศูนย์ AOC ของโรงพยาบาล  

 “ขณะนี้ เราได้มีการพัฒนาต่อเนื่อง โดยจะมีการติดตั้งระบบในรถพยาบาลชุมชนในจังหวัดเชียงราย และในล็อต 2 จะมีการติดตั้งที่ในรถพยาบาลชุมชนของจังหวัดพะเยาด้วยทั้งจังหวัดเช่นเดียวกัน เรามีการติดระบบ AOC ในรถพยาบาลชุมชน ซึ่งภายในรถจะมีระบบกล้องผ่านระบบอินเตอร์เนต ติดต่อกับศูนย์AOC ที่รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์ ซึ่งสามารถเห็นภาพผู้ป่วย ตั้งแต่ต้นทาง จนถึงปลายทาง

“อาการของผู้ป่วย ก็จะมีทีมปรึกษา ให้คำแนะนำ เจ้าหน้าที่ในรถให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้ทันทีเพื่อช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยอย่างรวดเร็วที่สุดผ่านระบบสื่อสารด้วยภาพและเสียงแบบเรียลไทม์  ซึ่งสามารถเตรียมการรักษา ได้ถูกต้องทันท่วงที รวมทั้งเราสามารถควบคุม ติดตาม การขับรถของพนักงานขับรถได้ เช่นความเร็ว ซึ่งถือเป็นระบบที่ทันสมัยและเพื่อสร้างความปลอดภัย โอกาสรอดชีวิตให้กับผู้ป่วยได้มากที่สุด”

เจ็บป่วยฉุกเฉิน

 ระบบจัดการผู้ป่วยฉุกเฉิน (กรณี 13 หมูป่า)

โรงพยาบาลแม่สายเข้าร่วมปฏิบัติการช่วย นักฟุตบอลเยาวชน ทีมฟุตบอลหมู่ป่าอะคาเดมี พร้อมโค้ช ตั้งเเต่วันที่ 23 มิถุนายน 2561 โดยได้รับเเจ้งจากทีมกู้ภัย และศูนย์วิทยุ 191 ว่า มีเด็กหายในถ้ำหลวง โรงพยาบาลแม่สาย มีการเตรียมความพร้อม ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน เพื่อรองรับผู้ประสบภัย

24  มิถุนายน 61 โรงพยาบาลเเม่สาย ได้รับเตรียมความพร้ออม ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน เตรียมรถ แอมบูเเลนซ์ เตรียมเวชระเบียนของทีมหมูป่า เตรียมแผนอุบัติภัยหมู่ และส่งทีมแพทย์ พยาบาลเข้าไปช่วยเหลือหน้าถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน

25-16 มิถุนายน 61  ภารกิจค้นหาผู้สูญหาย ดำเนินต่อไป โดยมีโรงพยาบาลแม่สายเป็นหลัก ร่วมกับโรงพยาบาลประชานุเคราะห์เชียงราย และโรงพยาบาลค่ายเม็งรายมหาราช (กลาโหม) ทีมจิตเวช โรงพยาบาลเเม่สายเข้าช่วยเหลือญาติ และมีการ้องขอทีม MERT และ MCATT จากสสจ.เชียงราย โดยตั้งเป็นโรงพยาบาลสนามขนาด 10 เตียง บริเวณปากถ้ำตลอด 24 ชั่วโมง

27 มิถุนายน 61 สสจ.เชียงราบ เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขระดับจังหวัด (EOC) เริ่มสูบน้ำออกจากถ้ำหลวงได้เป็นครั้งเเรก เเละประสานงานโรงพยาบาลชุมชน ทีมแพทย์ รวม 13 ทีม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับกรณีฉุกเฉิน

28 มิถุนายน -10 กรกฎาคม 61 โรงพยาบาลสนามปรับบทบาทเป็นการให้บริการประชาชน ร่วมกับโรงพยาบาลสนามของทหาร จนภารกิจลุล่วง  ตรวจรักษา 595 เคส ให้ยา 1,777 ครั้ง ทำแผล 76 ครั้ง ส่งต่อ 21 ครั้ง และทีมสุขภาพจิต 926 ครั้ง

23 กรกฎาคม 61 หลังออกจากโรงพยาบาล ครั้งแรก เป็นการตรวจประเมินสุขภาพ รวมไปถึงภาวะป่วยทางจิตใจ PTSD

26 สิงหาคม 61  ครั้งที่ 2  ตรวจร่างกายทั่วไป ณ วัดพระธาตุดอยวาว

12 และ 19 กันยายน 61 ครั้งที่3 ติดตามเยี่ยมชุมชน

จากเหตุการณ์หมูป่าติดถ้ำ ไม่พบผู้ป่วย PTSD ไม่พบผู้ป่วยเครียด ซึมเศร้า หรือวิตกกังวลใดๆ

ขอบคุณ : สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล องค์การมหาชน โรงพยาบาลเเม่สาย และโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

ที่มา :คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลําดับการบริบาล ณ ห้อง ฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (กพฉ.)

อ่านเพิ่มเติม

ทีมหมูป่าพบสื่อมวลชนและชมนิทรรศการ “ปฏิบัติการถ้ำหลวง วาระแห่งโลก” ที่ สยามพารากอน

ขอร่วมอนุโมทนากับทีมหมูป่าที่ บรรพชาอุปสมบท ในวันนี้ ที่วัดพระธาตุดอยตุง เชียงราย

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.