แบคทีเรียดี, ลำไส้, ความเสื่อม, โพรไบโอติก, ระบบขับถ่าย, แบคทีเรีย

ภาวะต้องห้าม ทำลาย แบคทีเรียดี

ภาวะต้องห้าม ทำลาย แบคทีเรียดี

คนส่วนใหญ่ในปัจจุบันนี้มีภาวะ Dysbiosis หรือเชื้อราในลำไส้เติบโตผิดปกติ ทำให้จำนวน แบคทีเรียดี และร้ายเกิดความไม่สมดุล ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของสภาวะกรด – ด่างในเลือด กลายเป็นความเสื่อม หรือโรคต่างๆ การทำงานของเซลล์ต่างๆ ก็ไม่ปกติ สาเหตุหลักมาจากสิ่งเหล่านี้ค่ะ

 

1. การใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน

ยาปฏิชีวนะในที่นี้ไม่ได้หมายถึงยาฆ่าเชื้อเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงสิ่งที่ปนเปื้อนอยู่ในอาหารที่กินทุกวัน เช่น เนื้อสัตว์บางประเภท โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ที่มาจากแหล่งผลิตที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือบางรายไม่ได้บอกแหล่งที่มาชัดเจน จึงทำให้เราได้รับยาปฏิชีวนะที่สะสมอยู่ในเนื้อสัตว์

เนื่องจากโดยปกติการเลี้ยงสัตว์ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ผู้ผลิตจะต้องฉีดยาดังกล่าวเพื่อป้องกันโรคหรือฆ่าเชื้อ ให้สัตว์ทุกตัว ทุกปี หรือทุกหกเดือน ทั้งนี้เพื่อป้องกันการระบาดของโรคต่างๆ ในสัตว์ ทำให้ยาปฏิชีวนะเหล่านั้นสะสม อยู่ในเนื้อสัตว์ ในบางประเทศจะติดฉลากบอกไว้อย่างชัดเจนว่า “แอนไทไบโอติกฟรี” ตรงกันข้าม บ้านเรายังไม่มี

 

2. การแพ้อาหาร

ถ้าเราแพ้อาหารชนิดใดแล้วเราไม่รู้ ยังคงกินอาหารประเภทนั้น ต่อไปจะทำให้เกิดภาวะลำไส้ขี้เกียจที่จะทำลายสภาวะแวดล้อม ในระบบเผาผลาญ แบคทีเรียดีจึงถูกทำลาย ส่วนวิธีตรวจว่า เราแพ้อาหารชนิดไหนทำได้ 2 วิธี (ที่ได้รับการยอมรับและมี มาตรฐาน) นั่นคือ

Eliminate Diet เป็นวิธีที่เชื่อว่ามีมาตรฐานระดับโลก Gold Standard (โกลด์สแตนดาร์ด) วิธีนี้ใช้ระยะเวลาประมาณ 2 – 4 สัปดาห์ เป็นการทดสอบสารสำคัญที่เข้าสู่ร่างกายโดยการ กินและงดอาหารแต่ละประเภท เช่น แป้ง กลูเต็น ไข่ นมถั่วเหลือง ถั่วต่างๆ แล้วสังเกตอาการที่เกิดขึ้นหรือลดลง เช่น อาการท้องบวม เป็นสิว ผดผื่น

ข้อดีของวิธีนี้คือ สามารถทดสอบเองได้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ข้อเสียคือ ต้องใช้ระยะเวลานาน ต้องงดอาหารบางประเภท และหากทดสอบสารที่ไกลตัวหรือไม่เคยกินมาก่อน เราก็จะไม่ สามารถรู้ผลได้

ส่วนวิธีที่สองคือ การตรวจแบบเจาะเลือด วิธีนี้จะทำให้ ทราบว่าเราแพ้อาหารอะไรจากผลเลือด ข้อดีของวิธีนี้คือ ใช้เวลา ไม่นาน ส่วนข้อเสียคือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง และถ้าผล การตรวจเลือดออกมาพบค่าการแพ้สารบางประเภทที่ต้องสงสัย คุณหมออาจต้องให้เข้าโปรแกรม Eliminate Diet ต่อเนื่อง อีกด้วย เพราะถ้าสารตัวไหนที่เราไม่เคยกินแล้วเกิดอาการแพ้ ค่าการแพ้สารอาหารจะไม่ปรากฏเลย ไม่เกิดแอ๊คชั่นด้วย ถ้าจะ ให้ได้ผลดีที่สุดคือ กินสารอาหารทุกอย่างที่อยู่ในลิสต์ทดสอบ การแพ้อาหารให้ครบ แล้วค่อยไปเจาะเลือดตรวจอีกครั้งค่าการ ทดสอบจะชัดเจนขึ้น

แบคทีเรียดี, ลำไส้, ความเสื่อม, โพรไบโอติก, ระบบขับถ่าย, แบคทีเรีย

3. อาหารหวาน

สร้างสภาวะแวดล้อมไม่ดีสำหรับแบคทีเรียดีในร่างกาย โดยหาก เรากินของหวานมาก แบคทีเรียตัวร้ายก็จะเติบโตและขยายจำนวน ยิ่งถ้าในร่างกายเรามีเชื้อราหรือแบคทีเรียตัวร้ายอื่น ๆ จะยิ่งทำให้ แบคทีเรียดีถูกทำลายลงไปอย่างรวดเร็ว

น้ำตาลในที่นี้หมอหมายถึงกลูโคสกับน้ำตาลทรายขาว ส่วนน้ำตาล ฟรักโทสนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทที่อยู่ในผลไม้ที่มีรสหวาน ซึ่งฟรักโทสชนิดนี้ถ้าเรากินโดยมีการควบคุมปริมาณจะไม่ก่อให้เกิด อันตรายใด ๆ ตรงกันข้ามกับฟรักโทสไซรัปที่ใช้ผสมเครื่องดื่มรสหวาน ต่างๆ อันนี้จะก่อให้เกิดอันตรายต่อแบคทีเรียตัวดีค่ะ

ส่วนน้ำผึ้ง แม้ว่าจะเป็นน้ำผึ้งตามธรรมชาติก็คือน้ำตาลชนิดหนึ่ง ก่อผลเสียต่อสุขภาพเหมือนกัน เพียงแต่น้ำผึ้งมีคุณค่าสารอาหารเพิ่ม เข้ามา เช่น คาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุอื่น ๆ เพราะฉะนั้น แนะนำให้กินทดแทนน้ำตาลได้ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น ห้ามคิดว่า กินไปแล้วจะได้ประโยชน์มากมาย เครื่องดื่มรสหวานบางประเภท ที่มักระบุว่า มีส่วนผสมของน้ำผึ้งเกสรดอกไม้ซึ่งมีคุณค่าสารอาหาร หลากหลายนั้น ขอเตือนว่าเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้องค่ะ

เราต้องระวังและหลีกเลี่ยงความหวานทุกรูปแบบ

สำหรับแบคทีเรียดีตัวหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่ามีประโยชน์ต่อ ร่างกายมากที่สุด คือ “โพรไบโอติก” ซึ่งมีความหมายตามศัพท์ว่า “ส่งเสริมสิ่งมีชีวิต” โดย “โพรไบโอติก” สามารถรักษาอาการเจ็บป่วย และช่วยการทำงานของระบบย่อยอาหาร ระบบลำไส้ ระบบการดูดซึม แคลเซียม และช่วยให้ระบบภูมิต้านทานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

นอกจากนี้เราควรเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความเป็นกรด เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม ซึ่งจะเข้าไปทำลายสมดุลกรด – ด่างในกระแส เลือด ทำลายแบคทีเรียตัวดี และเพิ่มปริมาณแบคทีเรียตัวร้าย

 

จาก คอลัมน์กินเป็นลืมป่วย นิตยสารชีวจิต ฉบับ 475


บทความน่าสนใจอื่นๆ

6 โพรไบโอติกไทยๆ กินลดพุง หุ่นเพรียว สุขภาพแข็งแรง

ท้องผูก แน่นท้อง ลำไส้แปรปรวน โพรไบโอติกช่วยได้

รวมโพรไบโอติกในอาหารท้องถิ่นทั่วไทย อยู่ไหนก็หากินได้

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.