กรด ด่างในร่างกาย, ปรับสมดุลกรด-ด่าง, ปรแกรม 5 เล็กของชีวจิต, ชีวจิต

โปรแกรม 5 เล็ก ชีวจิต สร้างสมดุล กรด ด่างในร่างกาย

2. นอน

คุณหมอสาริษฐา อธิบายถึงความสำคัญของการนอนหลับว่า ช่วยลดภาวะกรดที่คั่งค้างในร่างกายได้

“เมื่อคุณนอนน้อย ร่างกายไม่ได้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำให้เกิดกรดในร่างกายคั่งค้าง หาก ต้องการรักษาสมดุลกรด – ด่างในร่างกายให้ดี จึงต้องนอนให้พอ นอนถูกเวลา และต้องนอนให้ยาว ด้วย ไม่ใช่นอนไม่ต่อเนื่อง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนอนให้ได้อย่างต่ำ 6 – 8 ชั่วโมง”

คุณหมอสาริษฐาอธิบายเพิ่มเติมเรื่องวงจรการนอนหลับ (Sleep Cycle) ซึ่งใช้วัดคุณภาพ การนอนดังนี้ “แนวคิดหลักๆ คือ ต้องนอนให้ครบวงจรการนอนหลับ แต่ละคนจะมีวงจร การนอนหลับสั้น – ยาวไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น บางคนนอนเพียง 5 ชั่วโมงก็ได้ 1 รอบวงจร การนอนหลับแล้ว แม้ในช่วงต้นและช่วงท้ายของวงจรจะนอนดิ้นบ้างทำให้หลับไม่ลึก แต่ถ้า ช่วงกลางวงจรสามารถนอนหลับลึกได้ถึง 3 ชั่วโมงก็ถือว่าใช้ได้ ขณะที่บางคนต้องนอน 6 ชั่วโมง เพื่อให้ได้ 2 รอบวงจรการนอนหลับถึงจะรู้สึกสดชื่น แม้ช่วงต้นและช่วงท้ายของวงจรมีการนอนดิ้น บ้างสัก 2 ชั่วโมง แต่ถ้าช่วงกลางวงจรการนอนหลับสามารถนอนหลับลึกได้สัก 2 ครั้งก็เพียงพอ นี่แสดงให้เห็นว่าคนเรามีวงจรการนอนหลับที่ต่างกัน”

ผลดีของการนอนหลับอย่างมีคุณภาพและเพียงพอ คือ ลดภาวะกรดในร่างกาย เพราะขณะที่ หลับลึก กล้ามเนื้อจะผ่อนคลายจากการหดเกร็งในช่วงเวลาที่ตื่น

“ขณะที่เราตื่น ร่างกายต้องเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่าง ๆ กล้ามเนื้อจึงหดเกร็งและคลายตัว อย่างต่อเนื่องทำให้เกิดกรดแล็กติกสะสม ถ้าคืนนั้นได้นอนหลับลึก กล้ามเนื้อก็ผ่อนคลาย กรดแล็กติกจึงลดลงได้

“อีกกรณีหนึ่งคือ ช่วงที่เจ็บป่วยไม่สบาย หมอจึงแนะนำให้นอนพัก ซึ่งมีผลช่วยลดกรดที่ เกิดจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อนับร้อยในร่างกายนั่นเอง”

คุณหมอสาริษฐาฝากว่า ถ้าอยากให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น ต้องปรับปรุงท่านอนด้วย

“บางคนติดท่านอนซ้ำเดิม ทำให้กล้ามเนื้อติดอยู่ท่าเดียว ไม่ผ่อนคลาย บางคนนอนทับแขน ก็ทำให้แขนติดแขนล้า ยิ่งถ้ามีน้ำหนักตัวมาก อย่านอนในท่าที่ทับแขนทับขา แนะนำให้นอนหงาย อย่านอนตะแคง

“คราวนี้เริ่มใหม่ ถ้าคุณเป็นคนติดท่านอนตะแคงซ้าย เวลาเข้านอนให้นอนตะแคงขวาไว้ก่อน เลย ไม่อย่างนั้นกล้ามเนื้อจะติดอยู่ข้างเดียว พอหลับคราวนี้ร่างกายจะพลิกเองโดยอัตโนมัติ”

คุณหมอสาริษฐาชี้แจงเพิ่มเติมว่า วงจรการนอนหลับที่มีคุณภาพต้องประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ทำอย่างไรก็ได้ให้นอนอิ่ม คือ เข้าช่วงหลับไม่ลึก (Light Sleep) นำไปสู่ช่วงหลับลึก (Deep Sleep) และช่วงหลับแต่มีคลื่นไฟฟ้าสมองความถี่สูงคล้ายช่วงที่ตื่น (REM Sleep) หากสามารถ นอนได้ครบทั้ง 3 ส่วนโดยไม่ตื่นระหว่างวงจรการนอนหลับ จึงจะนับว่าเป็นการนอนที่มีคุณภาพ

หากต้องการทราบว่าตนเองมีวงจรการนอนหลับแบบไหน คุณหมอสาริษฐาอธิบายว่า วิธีที่ แม่นยำที่สุด คือ การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) ซึ่งมีให้บริการตามโรงพยาบาล ชั้นนำต่างๆ โดยวิเคราะห์การทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายขณะนอนหลับ เช่น การหายใจ ออกซิเจนในเลือด คลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจ กล้ามเนื้อ

นอนหลับ, กรด – ด่างในร่างกาย, ปรับสมดุลกรด-ด่าง, ปรแกรม 5 เล็กของชีวจิต, ชีวจิต
นอนหลับให้สนิทและเพียงพอ ช่วยลดภาวะกรดในร่างกาย

3. พักผ่อน

อีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้ร่างกาย เข้าสู่สภาวะสมดุลกรด – ด่างได้ คือ การพักผ่อน ซึ่งคุณหมอสาริษฐา แนะนำว่า

“เหตุผลที่เราควรให้ความสำคัญ กับการพักผ่อนหย่อนใจเพราะวิธีนี้ ช่วยลดความเครียดได้ อย่าลืมว่า ถ้าคุณเครียด ร่างกายจะเกิดการ หดเกร็ง ไล่ตั้งแต่กระหม่อม ขมับ คอ ดวงตา สังเกตดูนะว่า เวลาเรา เครียด ทุกส่วนจะเกร็งไปหมดเลย ตั้งแต่ใบหน้า คอ บ่า ไหล่ ปวด ไปหมด นอกจากนี้ความเครียด ยังทำให้กล้ามเนื้อในระบบลำไส้และ หัวใจบีบและคลายตัวผิดปกติ ส่งผลให้เกิดกรดที่เป็นพิษขึ้นมา”

คุณหมอสาริษฐา ชี้แจงว่า เมื่อเราพักผ่อนจะช่วยให้กล้ามเนื้อ เรียบที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม (Autonomic Muscle) คลายตัว กรดแล็กติกจึงไม่คั่งค้าง นอกจากนี้ ขณะที่กำลังพักผ่อนจิตใจก็ปลอดโปร่งผ่อนคลาย มีความสุข ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมน เช่น เอนดอร์ฟิน เซโรโทนิน โดพามีน ซึ่งมีส่วนช่วยปรับสมดุลกรด – ด่างใน ร่างกาย ส่งผลให้ระบบภูมิต้านทาน ทำงานได้ดี

“การพักผ่อน คือ การทำอะไร ก็ได้ที่ไม่เครียด ไม่ว่าจะเป็นนั่ง ฟังเพลง ท่องเที่ยว ชมธรรมชาติ ดูหนัง นั่งสมาธิ แช่น้ำอุ่น – น้ำแร่ อบซาวน่า สปา นวด โยคะ ให้กล้ามเนื้อคลายตัว ได้หมดเลย”

 

 

 

 

<< สูตร 4-5 อ่านต่อหน้าที่ 5 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.