ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, ป้องกันมะเร็ง

20 ผักและผลไม้ ต้านมะเร็ง จากห้องวิจัย

กินมะเขือเทศ สู้มะเร็งต่อมลูกหมาก

ตัวอย่างการศึกษาหนึ่งจากวารสาร Epidemiology Biomarkers & Prevention ซึ่งทำการศึกษาอาหารและการใช้ชีวิต ของผู้ชาย 1,806 คน อายุระหว่าง 50 – 69 ปี ที่เป็นโรคมะเร็ง ต่อมลูกหมาก เปรียบเทียบกับผู้ชายที่ไม่เป็นโรคมะเร็ง 12,005 คน

พบว่า มะเขือเทศและผลิตภัณฑ์จากมะเขือเทศ เช่น ถั่วขาวในซอสมะเขือเทศสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง ต่อมลูกหมากได้ถึง 18 เปอร์เซ็นต์ เมื่อกินมะเขือเทศและผลิตภัณฑ์ จากมะเขือเทศอย่างน้อยสัปดาห์ละ 10 ส่วน

โดยใน 1 ส่วนมีปริมาณโดยประมาณคือ น้ำซุปมะเขือเทศเข้มข้น 1 ช้อนโต๊ะ มะเขือเทศสด 1 ผลกลาง หรือมะเขือเทศเชอร์รี่ 7 ผล

นักวิจัยเชื่อว่า มะเขือเทศมีคุณสมบัติต้านมะเร็งต่อมลูกหมาก เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่มีชื่อว่าไลโคปีน (Lycopene) โดย ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารในกลุ่มแคโรทีนอยด์ ซึ่งมีรายงานว่า มีประโยชน์ต่อสุขภาพหลายประการ รวมถึงลดความเสี่ยงการเกิด มะเร็งที่อวัยวะต่าง ๆ เช่น ปอด กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ลำไส้ใหญ่ นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน โรคหัวใจ และหลอดเลือด มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความแก่ ต้านการ อักเสบ นอกจากนี้ยังช่วยปกป้องผิวจากแสงแดด ช่วยชะลอริ้วรอย ก่อนวัยอีกด้วย

HOW TO CHOOSE

มะเขือเทศอุดมด้วยวิตามินที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินอี วิตามินซี ควรเลือกผลที่มีเปลือกเต่งตึง เป็นมันวาว ก้านตั้งตรง

ถั่วลันเตา, ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, ป้องกันมะเร็ง
กินถั่วลันเตาสด หรือปรุงด้วยความร้อนต่ำ ลดความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่

ถั่วลันเตา กล้วยดิบ แหล่งแป้ง ต้านมะเร็ง

คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (St. Theresa International College) อธิบายไว้ในวารสารวิทยาศาสตร์บูรพา ว่าแป้งแบ่ง เป็น 2 ชนิด คือ แป้งที่ถูกย่อยได้เร็ว (Rapidly Digestible Starch) และแป้งที่ ถูกย่อยได้ช้า (Slowly Digestible Starch)

แป้งส่วนใหญ่จะถูกย่อยและดูดซึมผ่านลำไส้เล็ก แต่ มีแป้งส่วนน้อยประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ที่เรียกว่า แป้งต้านทาน การย่อย (Resistant Starch) ซึ่งสามารถทนต่อการย่อย โดยเอนไซม์ในกระเพาะอาหารและไม่ถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก แต่ สามารถผ่านเข้าไปสู่ลำไส้ใหญ่ ทำให้เกิดกระบวนการหมัก โดยจุลินทรีย์ที่ลำไส้ใหญ่ โดยพบว่ามีประโยชน์อย่างมาก ต่อร่างกายในการเป็นแหล่งอาหารสำหรับจุลินทรีย์สุขภาพ ซึ่งมีผลดีต่อระบบทางเดินอาหารโดยเฉพาะบริเวณลำไส้ใหญ่

วารสาร Current Opinion in Gastroenterology พบว่า แป้งต้านทานการย่อย (Resistant Starch) มีส่วนช่วยร่างกาย ต่อต้านมะเร็งลำไส้ผ่านกลไกต่าง ๆ รวมถึงลดการอักเสบและ ฆ่าเซลล์ที่อยู่ในระยะก่อนกลายเป็นมะเร็ง (Pre-cancerous) โดยพบว่า หนูทดลองที่กินแป้งต้านทานการย่อยมีจำนวนและ ขนาดของแผลที่มีโอกาสพัฒนาเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ลดลง นอกจากนี้ยังพบว่ามีจำนวนเซลล์ที่ช่วยควบคุมการตอบสนอง ต่อการอักเสบของร่างกายเพิ่มขึ้นอีกด้วย

ดร.จานีน ฮิกกินส์ (Janine Higgins) จากคณะ แพทย์ศาสตร์ วิทยาลัยการแพทย์โคโลราโด (The University of Colorado School of Medicine) ประเทศสหรัฐอเมริกา เพิ่มเติมว่า แป้งต้านทานการย่อยนี้รวมอยู่ในองค์ประกอบ ของแป้งส่วนใหญ่ โดยพบในกล้วยดิบ ถั่วลันเตา ถั่วฝักยาว ถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง พร้อมแนะนำว่าควรกิน สดหรือปรุงด้วยความร้อนต่ำจะดีที่สุด เพราะหากปรุงด้วย ความร้อนสูงอาจทำให้แป้งต้านทานการย่อยสลายหายไป

HOW TO CHOOSE

กล้วยมีคาร์โบไฮเดรตสูง อุดมด้วยฟรักโทส กลูโคส และซูโครส ควรเลือกที่ก้านหวีมีขนาดใหญ่และผลเป็นสีเหลือง ทั่ว หากเริ่มมีจุดสีน้ำตาลประปรายแสดงว่าสุกได้ที่

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 6 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.