วิตกกังวล, สุขภาพจิต, โรคจิต

รู้ทันโรค วิตกกังวล ก่อนจิตป่วย

โรควิตกกังวล…ความกลัวเกินเหตุ

คุณธีรศักดิ์ นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มักมีอาการตื่นเต้น ใจสั่น เหงื่อออก เมื่อถึงเวลาสอบหรือต้องนำเสนองานต่อสาธารณชนเนื่องจากเกิดจากความคิดล่วงหน้าเชิงลบ เช่น “เราต้องทำข้อสอบได้ไม่ดีอย่างแน่นอน” หรือ “ถ้าเราพูดผิดไปจะโดนคนอื่นตำหนิหรือเปล่า” โดยทั่วไปอาการวิตกกังวลเหล่านี้มักจะหายเป็นปลิดทิ้งเมื่อทำงานสำเร็จลุล่วงไปแล้ว

แต่เขากลับพบว่าความคิดซ้ำ ๆ เหล่านี้ไม่ได้หายไปเมื่อทำงานลุล่วงไปแล้ว และยิ่งเป็นมากขึ้นทุกขณะจนส่งผลต่อการทำงานและการใช้ชีวิต

ซึ่งคุณหมอไขข้อข้องใจให้ฟังว่า

“การวิตกกังวลในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากเกินไป ซึ่งมักเกิดความวิตกในเรื่องที่ทำให้ไม่สบายใจมาก่อนบางเรื่องผ่านไปสักพักอาจลืม แต่บางเรื่องอาจยังฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกจนเกิดความอึดอัดหรือหวาดกลัวอันตรายมากเกินไป คืออาการของโรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder)”

 

หวาดกลัวรุนแรง ส่อเค้าป่วย

เราคงเคยเห็นคนกลัวสิ่งแปลกๆ เช่น กลัวแตงโม กลัวใบไม้ หรือกลัวการอยู่ในที่แคบ ซึ่งอาจสร้างความฉงนให้คนที่พบเห็น ทั้งนี้เพราะว่าแต่ละคนอาจเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งที่ทำให้กลัวแตกต่าง

จากหนังสือ จิตเวชศาสตร์ รามาธิบดี ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ความรู้ไว้ว่า ความกลัวจะเกิดขึ้นได้ต้องมีปัจจัย 2 อย่างควบคู่กัน

  • อย่างแรกคือ ตัวกระตุ้นที่ชัดเจน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นวัตถุ
  • อย่างที่สองคือ ระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานรวดเร็ว ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เช่น เหงื่อแตก ใจสั่น ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น

โดยผู้ป่วยจะมีความกลัวรุนแรงเกินกว่าเหตุหรือไม่สมเหตุสมผลเกิดขึ้นซ้ำๆ และไม่สามารถระงับความกลัวนั้นได้ อาการหวาดกลัว จะเกิดขึ้นได้ทุกขณะและรวดเร็วกว่าคนปกติเมื่อตกอยู่ในเหตุการณ์หรือสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัว

โรคหวาดกลัว
โรคหวาดกลัว ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิต

 

โรคหวาดกลัวแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

“ความกลัวทางสังคม” ทำเสียบุคลิกภาพ

ความกลัวทางสังคม (Social Phobia) คือ อาการกลัวที่เกิดขึ้นในสภาวการณ์ทางสังคม หรืออยู่ในสถานที่ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น กลัวการพบปะคนแปลกหน้า กลัวการพูดต่อหน้าคนในที่สาธารณะ กลัวการเข้าร่วมกิจกรรม มีอาการคือ

  • หลีกเลี่ยงการเข้าสังคมเพราะรู้สึกประหม่า ไม่กล้าแสดงออก บางคนไม่สามารถไปไหนมาไหนได้โดยลำพังเพราะกลัวตัวเองจะแสดงอาการน่าขายหน้า
  • เครียดล่วงหน้าเป็นวันหรือเป็นสัปดาห์ เมื่อรู้ว่าต้องปรากฏตัวต่อหน้าสาธารณชนหรือต้องไปอยู่ในสถานการณ์ที่เจอคนเยอะ
  • อาการทางกาย คือ อาย หน้าแดง ไม่กล้าสบตาหายใจหอบถี่ ใจเต้นแรง เหงื่อออกมาก เสียงสั่น พูดติดขัด ปั่นป่วนในท้อง บางคนถึงกับอาเจียน

“ความกลัวจำเพาะ” อาการป่วยที่น่าขัน

ความกลัวแบบจำเพาะ (Specific Phobia) คือ ความกลัวอย่างรุนแรงต่อคน สัตว์ สิ่งของหรือแม้แต่สิ่งที่ระบุไม่ได้ เช่น กลัวความมืดกลัวหมอฟัน กลัวลูกโป่ง กลัวเข็มฉีดยา กลัวสัตว์ต่างๆ เป็นต้น

มีอาการคือ เมื่อพบสิ่งที่ทำให้กลัวจะมีอาการใจสั่น หายใจลำบาก วิงเวียนศีรษะอ่อนเพลีย คล้ายจะเป็นลม

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.