โรคซึมเศร้า

ชนะเครียดหยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

ONE PIECE OF PAPER  เทคนิคแยกแยะปัญหา ลดความทุกข์ใจ

คุณหมอทานตะวันแนะนำวิธีแยกแยะปัญหาซึ่งช่วยลดความทุกข์ใจได้ โดยใช้ อุปกรณ์เพียงปากกา 1 ด้ามกับกระดาษ 1 แผ่น และปฏิบัติตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

“นำกระดาษเปล่า 1 แผ่นมาแบ่งหน้ากระดาษเป็น 2 ฝั่ง โดยฝั่งซ้ายเขียนถึง ปัญหาที่แก้ได้ และต้องระบุให้ชัดเจนว่า เราจะแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างไร และ ลงมือทำตามวิธีการที่เขียนลงไปด้วย

“ส่วนฝั่งขวาเป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้ กรณีที่พบบ่อยๆ มักเป็นปัญหาที่เกิดขึ้น ในอดีต แต่ยังเก็บมาคิดและเป็นกังวลอยู่จนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุที่เป็นสิ่งที่จบลง ไปแล้วจึงไม่สามารถย้อนเวลากลับไปแก้ไขได้

“กรณีที่พบบ่อยเช่นกัน คือ ปัญหาที่เกิดจากบุคคลอื่น กรณีนี้นับเป็นปัจจัย ภายนอกที่ตัวเราเองแก้ไขไม่ได้แน่นอน”

คุณหมอทานตะวันอธิบายเพิ่มเติมว่า การเขียนแยกแยะปัญหาอย่างชัดเจนเช่นนี้ จะช่วยชี้ให้เห็นว่าที่ผ่านมาเราอาจกำลังเสียเวลากังวลหรือทุกข์ใจกับปัญหาที่แก้ไขไม่ได้

โดยแนวทางรับมือที่ถูกต้อง คือ ลงมือแก้ไขปัญหาที่แก้ได้โดยเร็วที่สุด ไม่ปล่อยให้สะสมไว้จนแก้ไขได้ยาก และรู้จักปล่อยวางปัญหาที่แก้ไขไม่ได้ พร้อมกับ ระลึกรู้อยู่เสมอว่าไม่ควรเก็บปัญหามาคิดให้ทุกข์ใจต่อไป

ไขมันทรานส์ มีผลต่อโรคซึมเศร้า
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีส่วนผสมของไขมันทราส์

AVOID TRANS FAT  ไขมันทรานส์ตัวร้าย ซ้ำเติมโรคซึมเศร้า

คุณหมอทานตะวันอธิบายว่า อาหารบางประเภทมีผล ต่อโรคซึมเศร้า ดังนี้

“สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคนี้คือ สารเคมีในสมอง 3 ชนิด เสียสมดุล กรณีที่เป็นโรคซึมเศร้าแล้วไปกินอาหารที่ไม่ดีต่อ สุขภาพ จะยิ่งทำให้อาการแย่ลง เพราะเซลล์สมองและเซลล์อื่นๆ ในร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น เดิมมีอาการที่ระดับ 8 ถ้ากิน อาหารไม่ดี อาการอาจจะแย่ลงเป็นระดับ 10”

โดยประเภทของอาหารที่คุณหมอทานตะวันอยากให้ใส่ใจ เป็นพิเศษ คือ ไขมัน และให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เฉพาะไขมันทรานส์ ซึ่งคุณหมออธิบายว่า

“ด้วยเหตุที่หลอดเลือดสมองบางส่วนมีผลต่อสารสื่อประสาท บางชนิด หากกินอาหารที่มีไขมันสูง ประกอบกับขาดการออก กำลังกาย จะทำให้เกิดภาวะไขมันในเลือดสูง ส่งผลให้เซลล์ สมองทำงานแย่ลง สมาธิและความจำก็แย่ลง หากมีภาวะไขมัน ในเลือดสูงติดต่อกันนานๆ จนเป็นโรคหลอดเลือดสมอง จะเพิ่ม ความเสี่ยงโรคซึมเศร้าและมีปัญหาด้านอารมณ์เชิงลบมากกว่า คนทั่วไป

“นอกจากนี้ ถ้าหากเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ ก็มี ความเสี่ยงโรคซึมเศร้าและมีปัญหาด้านอารมณ์เชิงลบเช่นกัน เพราะเมื่อหลอดเลือดหัวใจมีปัญหา ย่อมส่งผลต่อการสูบฉีด เลือดไปเลี้ยงเซลล์สมองตามมาด้วย”

ข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยโดย University of Las Palmas de Gran Canaria ประเทศสเปน ที่ระบุว่า ผู้ที่กิน อาหารที่มีไขมันทรานส์มีความเสี่ยงโรคซึมเศร้า มากกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 48 และยังพบว่า อาหารที่มีโอเมก้า – 3 และโอเมก้า – 6 สูง เช่น ปลาทะเล ถั่วเปลือกแข็งชนิดต่างๆ น้ำมัน มะกอก น้ำมันงา น้ำมันเมล็ดทานตะวัน มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้

ในตอนท้ายของงานวิจัยฉบับนี้มีข้อเสนอ แนะว่า การกินอาหารที่ช่วยลดความเสี่ยงโรค หลอดเลือดเป็นประจำก็มีผลช่วยลดความเสี่ยง โรคซึมเศร้า ได้เช่นกัน

ชีวจิต เชื่อว่า เมื่อดูแลกาย – ใจครบถ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงภาวะซึมเศร้าได้ในกรณี บุคคลทั่วไป และช่วยฟื้นฟูสุขภาพทำให้ได้ผล การรักษาที่ดีขึ้นในกรณีผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

 

จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 465


บทความน่าสนใจอื่นๆ

อาหารต้านโรคซึมเศร้าปรับอารมณ์ด้านลบสู่ด้านบวก

รับมือวัยทองผู้ชาย หยุดหงุดหงิด ซึมเศร้า ช่วยหลับสบาย

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.