โรคซึมเศร้า

ชนะเครียดหยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

LIFE SKILLS ทักษะชีวิตเข้มแข็ง ลดเสี่ยงซึมเศร้า

คุณหมอทานตะวันอธิบายถึงแนวคิดเรื่อง “ทักษะชีวิต” ว่ามีความสัมพันธ์กับ โรคซึมเศร้า ดังนี้

“ลักษณะนิสัยของแต่ละคนจะสะท้อนได้ว่าคนคนนั้นมีทักษะชีวิตมากน้อยเพียงใด ในกรณีของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ถ้าเป็นคนที่มีทักษะชีวิตดี สามารถแก้ปัญหาชีวิตได้ ความรุนแรงของโรคก็จะน้อยกว่า ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มีทักษะชีวิตไม่ดี อาการของโรคก็จะมีโอกาสเป็นรุนแรงและเรื้อรังกว่า

“กรณีของคนทั่วไปที่มีทักษะชีวิตไม่ดี จะมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้มากกว่า คนทั่วไป”

แนวคิดเรื่องทักษะชีวิต หมายถึง การปรับตัวทางจิตสังคม (Psychosocial Skills) ที่ช่วยสร้างความสามารถขั้นพื้นฐานในการปรับตัวและเลือกการดำเนินชีวิต ได้อย่างเหมาะสม

แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงปี ค.ศ. 1980 โดยเริ่มนำมาใช้ในวงการการศึกษา ระดับสากลเพื่อป้องกันการท้องก่อนวัยอันควร การกลั่นแกล้งและความรุนแรง ในโรงเรียน การใช้ยาเสพติด ต่อมาจนถึงบรรดานักสังคมสงเคราะห์ ครู เจ้าหน้าที่ สาธารณสุขในหลายๆ ประเทศ

ต่อมาใน ค.ศ.1994 องค์การอนามัยโลกได้จัดทำคู่มือการเรียนการสอน เพื่อสร้างทักษะชีวิตชื่อ Life Skills Education for Children and Adolescent in Schools และคู่มือการจัดการศึกษาเพื่อป้องกันโรคเอดส์ มีเป้าหมายเพื่อให้ ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนบุคลิก เพื่อการดำเนินชีวิตได้อย่าง มีสุขภาพกาย-ใจที่ดี และใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างราบรื่น

ทักษะชีวิตประกอบด้วยทักษะต่างๆ เช่น การตัดสินใจ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การสื่อสาร การสร้างสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล ความเข้าใจตนเอง การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น การจัดการอารมณ์ การจัดการความเครียด

เมื่อขึ้นชื่อว่า ทักษะ ย่อมเป็นเรื่องที่ฝึกฝนกันได้ โดยเบื้องต้นต้องฝึก รู้เท่าทันความคิด ลดอคติ และวางใจเป็นกลาง จากนั้นจึงค่อยๆ เปิดใจเรียนรู้ การแก้ปัญหาด้วยตนเอง สะสมเป็นความรู้ในการจัดการกับปัญหาต่อไป

ฝึกสมาธิ ป้องกันโรคซึมเศร้า
ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจสงบ รู้เท่าทันความคิด ห่างไกลโรคซึมเศร้า

5 MINS DAILY TIP  ฝึกสงบนิ่ง ไม่ ‘จมดิ่ง’ ในอารมณ์เชิงลบ

คุณหมอทานตะวันกล่าวถึง ประโยชน์ของการฝึกสงบนิ่งวันละ 5 นาที ว่า

“ลองเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการนั่งสงบนิ่ง 5 นาที เราจะเห็นว่ามีความคิดผุดขึ้นมาเต็ม ไปหมดเลย เมื่อทำต่อเนื่องทุกวัน เราจะค่อยๆ มองเห็นความคิดที่ผุดขึ้นมาได้ชัดเจนและ เร็วขึ้นเรื่อยๆ แค่รับรู้ว่ามีความคิดเหล่านี้เกิดขึ้นก็จะช่วยให้ใจสงบนิ่งได้เร็วขึ้น

“ถ้าทำได้ทุกวัน เราจะเห็นว่าความคิดเกิดขึ้นเร็วมากในช่วงเวลาสั้นๆ แต่อาจมีความคิดลบ หลายๆ อย่างเกิดขึ้นพร้อมๆ กัน ธรรมชาติของความคิดย่อมมีเกิด – ดับตลอดเวลา หากไม่ฝึก ย่อมไม่อาจรู้เท่าทันความคิด จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน เมื่อฝึกก็จะช่วยให้คิดวิเคราะห์ มองการ เกิดดับของความคิดตามหลักการและเหตุผลมากขึ้น

“แม้ไม่อาจรู้เท่าทันความคิดได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็ช่วยลดโอกาสที่เราจะ ‘ตกร่อง’ และจมไปกับความคิดลบเป็นเวลานานๆ ยิ่งกลับมารู้เท่าทันความคิดได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะเกิดอารมณ์ลบน้อยลงเท่านั้น”

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.