โรคซึมเศร้า

ชนะเครียดหยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

MINDFUL THINKING  รู้เท่าทันความคิด รับมือปัญหาได้ดีกว่า

คุณหมอทานตะวันชี้แจงว่า การฝึกรู้เท่าทันความคิด ของตนเองเป็นคุณสมบัติพื้นฐานที่จะช่วยสร้างความสงบสุข ในจิตใจ และนำไปสู่การรับมือกับปัญหาที่ถูกต้อง ไม่จมอยู่กับ อารมณ์เชิงลบนานๆ โดยไม่จำเป็น

“ในเวลาที่เราพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ถ้าเห็นว่าเพื่อนกังวลมากไป เรายังเตือนเขาได้ว่า เธอคิดมาก ไปรึเปล่า แต่จะมีใครหันกลับมาถามตัวเอง ให้กลับมาสำรวจ ใจแบบที่เราไปเตือนคนอื่นได้บ้าง

“เนื่องจากความคิดเกิดขึ้นทุกๆ เสี้ยววินาที เราจึงต้องฝึก รู้ทันความคิดอยู่เสมอ เปรียบเทียบง่าย ๆ ว่า เหมือนเราปัดกวาด ทำความสะอาดบ้าน ถ้าทำบ่อยๆ บ้านเราก็จะสะอาด แต่ถ้า ปล่อยปละละเลย บ้านก็จะรก เดินไม่สะดวก เรื่องการฝึก รู้เท่าทันความคิดก็เช่นกัน ยิ่งฝึกก็จะยิ่งเข้าใจกระบวนการคิด ของตนเองและมองเห็นความขุ่นมัวของอารมณ์ว่าก่อตัวขึ้น เมื่อไหร่และด้วยเหตุผลใด

“ดังนั้น ทุกครั้งที่เกิดความรู้สึกเชิงลบ ให้กลับมาถาม ตัวเองว่า เรามองเรื่องที่เกิดขึ้นในแง่ลบมากไปหรือไม่ เพราะ ในความเป็นจริงทุกๆ เหตุการณ์มีความเป็นไปได้อีกมากมาย การที่เราคิดแบบนี้ อาจไม่ตรงกับสาเหตุที่แท้จริงของเรื่องนี้ ก็ได้ ฝึกได้บ่อยเท่าไหร่ยิ่งดีค่ะ”

รู้เท่าทันความคิด ลดอารมณ์เชิงลบ
การฝึกให้รู้ทันความคิดอย่างสม่ำเสมอ ช่วยสร้างความสงบสุขในจิตใจ ลดอารมณ์เชิงลบ

HOW – TO ฝึกรู้ทันความคิด ลดอารมณ์เชิงลบ

คุณหมอทานตะวันสรุปวิธีฝึกให้รู้ทันความคิดไว้ดังนี้

  • เช็กอารมณ์ ขั้นตอนแรกควรมีสติระลึกรู้ว่า ขณะนี้ตนเองรู้สึก อย่างไร เช่น โกรธ กังวล หงุดหงิด น้อยใจ เบื่อหน่าย เศร้าใจ ฯลฯ ขอเพียงรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆ ก็จะเห็นว่าอารมณ์ไม่ว่าจะร้ายหรือดี มีวงจรเหมือนกัน คือ เกิดขึ้น – ตั้งอยู่ – ดับไป ไม่มีอารมณ์ประเภทใด ที่อยู่คงทนถาวร
  • ไม่ปฏิเสธหรือผลักไสอารมณ์เชิงลบ ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า เราเป็น ปุถุชนคนธรรมดา ย่อมมีได้ทั้งอารมณ์เชิงบวกและลบ การปฏิเสธความ รู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดอารมณ์เชิงลบสะสม
  • รู้เท่าทันการตีความ เช่น ในเหตุการณ์เดียวกัน ถ้ารับรู้ผ่านอารมณ์ที่ แตกต่างกัน ย่อมเกิดการปรุงแต่ง หรือตีความต่างกัน ดังนั้น ถ้าเรามีสติ ระลึกรู้ตั้งแต่ต้นทางว่า ณ ขณะนี้เรารู้สึกโกรธ การตีความสถานการณ์ ที่เกิดขึ้นย่อมเป็นการปรุงแต่งผ่านอารมณ์โกรธตามไปด้วย
  • ฝึกได้ทุกที่ทุกเวลา การฝึกรู้เท่าทันอารมณ์สามารถทำได้ไม่จำกัด สถานที่และเวลา ยิ่งฝึกจะยิ่งเข้าใจที่มาที่ไปของการปรุงแต่งหรือที่มาของ การตีความสถานการณ์ให้เกิดความขุ่นมัวใจ

 

CHRONIC ILLNESS  ป่วยโรคเรื้อรัง เพิ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า

คุณหมอทานตะวันระบุว่า การป่วยด้วยโรคเรื้อรังเพิ่มความเสี่ยง ให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

“โรคเรื้อรังหลายๆ โรค เช่น มะเร็ง หรือโรคที่ทำให้เกิดภาวะ พิการ มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ยากลำบาก หรือกลายเป็นผู้ป่วยที่ต้องการผู้ดูแล ทำให้เกิดภาวะ เครียดเรื้อรัง

“เมื่อการใช้ชีวิตเปลี่ยนไป ดูแลตนเองไม่ได้อย่างเดิม ผู้ป่วย จะรู้สึกเป็นภาระกับคนอื่น ทำให้ความภาคภูมิใจของตนเองลดลง ความมั่นคงในชี วิ ตหายไป การยอมรั บตนเอง การเห็นคุณค่าตนเอง ลดลง อาจมีปัญหาด้านความสัมพันธ์กับคนอื่นๆ เกิดความกังวลใจ คุณภาพการนอนหลับลดลง และเพิ่มความเสี่ยงโรคซึมเศร้าได้”

กรณีที่ในครอบครัวมีผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ควรตระหนักถึงความ เสี่ยงดังกล่าว ช่วยกันสังเกต เฝ้าระวังอาการของผู้ป่วย และรายงานอาการให้แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยทราบเป็นระยะ

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.