ไอโซเมตริก, ออกกำลังกาย, ออกแรงดึงดัน, ชีวจิต

ไอโซเมตริก แรงดึงดันเพื่อสุขภาพ

ออกกำลังกายแบบ ไอโซเมตริก การดึงดันเพื่อสุขภาพ

ไอโซเมตริก อีกหนึ่งท่านวดกดจุดและนวดคู่ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อหลังรํากระบองเสร็จ ที่คนรักสุขภาพไม่ควรพลาด

สำหรับประโยชน์ของท่านี้ อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง กูรูต้นตํารับชีวจิต อธิบายว่า “ไอโซเมตริกเป็นการบริหารร่างกายรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นการออกแรงโดยไม่ต้องเคลื่อนไหว แต่ใช้แรงดันหรือแรงต้านระหว่างมือกับอวัยวะส่วนต่างๆ เข้าด้วยกัน ทําให้ส่วนที่ออกแรงดันเกิดการสั่น ซึ่งเราจะรู้สึกเหนื่อยมาก
“การฝึกออกแรงสู้กับตัวเอง ช่วยให้อวัยวะส่วนที่ออกแรงแข็งแรงขึ้น เช่น ท่าดันหน้าได้บริหารคอ ท่าดันเข่าได้บริหาร สะโพกและทวารหนัก เป็นต้น และหากต้องการบริหารส่วนไหนเป็นพิเศษ เราก็สามารถใช้มือไปดันกับร่างกายส่วนนั้นได้ตามต้องการ”

ท่าดันหน้า

นั่งตัวตรง ขาขวาทับขาซ้าย ใช้คอและหน้าสู้กับมือ โดยหันหน้าไปทางขวา ขณะเดียวกันใช้มือขวาออกแรงดันหน้ายันกัน(หน้าดันไม่ได้ มือก็ดันไม่ได้) นับ 1-10 จากนั้นเปลี่ยนหันหน้าไปทางซ้ายใช้มือซ้ายดันหน้า ทําเช่นเดียวกับด้านขวา ทําสลับข้างซ้ายและขวา นับเป็น 1 ครั้ง ทํา 3 ครั้ง
ไอโซเมตริก, ออกกำลังกาย, ออกแรงดึงดัน, ชีวจิต
ไอโซเมตริก ท่าบริหารร่างกาย เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

ท่าดันใน

นั่งชันเข่า กางขาออกกว้างกว่าลําตัวเล็กน้อย มือทั้งสองข้างจับหัวเข่าในลักษณะไขว้มือออกแรงดันเข่าด้านในออก ขณะเดียวกันก็ออกแรงหนีบเข่าทั้งสองข้างเข้ามา อย่าให้ส่วนไหนอ่อนแรง(เข่าหนีบเข้าไม่ได้มือก็ดันออกไม่ได้) นับ 1-10

ท่าดันนอก

นั่งเหมือนท่าดันใน ใช้มือทั้งสองข้างดันเข่าจากด้านนอกเข้ามา ขณะเดียวกันก็ออกแรงดันเข่าทั้งสองข้างออก อย่าให้ส่วนไหนอ่อนแรง(เข่าแยกออกไม่ได้ มือก็ดันเข่าเข้าไม่ได้) นับ 1-10

ประเภทการออกกำลังกาย

อาจารย์สาทิส อินทรกําแหง แบ่งการออกกําลังกายเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
1. ออกแรงแบบแอโรบิก (Aerobic) คือ การออกกําลังกายที่ต้องหายใจเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลา เพื่อลําเลียงออกซิเจนผ่านทางกระแสเลือดเข้าไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่กําลังออกแรงอยู่และก่อให้เกิดพลัง ซึ่งไม่ได้หมายถึงการเต้นแอโรบิกเท่านั้น แต่รวมไปถึงการวิ่ง เดิน หรือแม้กระทั่งการแข่งขันกีฬาประเภทต่างๆ เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล ก็ล้วนแต่เป็นการออกแรงแบบแอโรบิกทั้งสิ้น
2. แบบไอโซเมตริก (Isometric) คือ การออกแรงโดยไม่ต้องเคลื่อนไหว แต่ใช้แรงดันหรือแรงต้านกันเองจากอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย
3. ไอโซโทนิก (Isotonic) ใช้น้ําหนักของร่างกายเป็นตัวต้าน แล้วใช้มือหรือแขนยกร่างกายขึ้นจากพื้น เช่น การวิดพื้น
4. ไอโซคิเนติก (Isokinetic) คือ การรวมไอโซเมตริกและไอโซโทนิกเข้าไว้ด้วยกัน และต้องใช้เครื่องมือช่วย เช่น เครื่องยกน้ําหนัก เครื่องดึง เครื่องถ่วงในห้องยิม
5. ท่าเกร็งกําลังภายใน ซึ่งมักเป็นท่าการบริหารแบบจีน เป็นวิชาโบราณ ซึ่งมีมานานและได้ผลดีจนเป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น ไท้เก๊ก ชี่กง

บทความอื่นที่น่าสนใจ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.