เทคนิค 6+3 ป้องกัน+ดูแล ต้านโรคมะเร็งตับ

เทคนิคป้องกัน+ดูแล ต้านโรคมะเร็งตับ เมื่อพูดถึงโรคมะเร็งตับหรือมะเร็งชนิดไหน ๆ ก็ตาม คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง แต่รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยเฉพาะการกินอยู่ มีผลใหญ่หลวงต่อการ ต้านโรคมะเร็งตับ ค่ะ โรคมะเร็งตับป้องกันได้ มีหลายวิธีที่ช่วยให้เราห่างไกลจากโรคมะเร็งตับได้ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะการกินอยู่เป็นเรื่องสำคัญที่สุดและเป็นสิ่งที่เราทุกคนสามารถทำได้ เพื่อสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาวอย่างมีความสุข มีคำแนะนำดังนี้ 1. เลิกใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น รวมทั้งไม่กินอาหารและดื่มน้ำในภาชนะเดียวกัน ควรคำนึงถึงอนามัยพื้นฐานง่ายๆข้อนี้ไว้เสมอ 2. ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ ซึ่งวัคซีนไวรัสตับอักเสบบีมักจะได้รับการฉีดตั้งแต่เป็นทารกแรกเกิด 3. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากเป็นสาเหตุของโรคตับแข็งที่นำไปสู่มะเร็งตับ 4. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป คนอ้วนมักมีระดับไขมันในเลือดสูงซึ่งจะชักนำไปสู่มะเร็งตับได้ง่ายกว่าคนรูปร่างปกติ จึงควรออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 5. ควรกินอาหารสะอาด ปรุงสุกใหม่ๆ ข้อมูลจากหนังสือแนวทางป้องกันโรคมะเร็งสำหรับประชาชน โดยนายแพทย์บุญเติม แสงดิษฐ แนะนำว่า ไม่ควรกินอาหารที่เกิดเชื้อราได้ง่าย อาหารที่ปรุงไว้ค้างคืน อาหารใส่สารกันบูด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ 6. ผู้ป่วยโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือเป็นพาหะโรคไวรัสตับอักเสบบีหรือซี ต้องงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ข้อมูลจากหนังสือ จับเข่าคุยกันเรื่องไวรัสตับอักเสบบี ภัยเงียบที่ป้องกันและรักษาได้ โดย นายแพทย์ยง ภู่วรวรรณ และนายแพทย์ดร.ปิยะวัฒน์ โกมลมิศร์ แนะนำว่า […]

7 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจ รักษามะเร็ง ด้วยแพทย์ทางเลือก

ก่อนตัดสินใจใช้ วิธีรักษาโรคมะเร็ง ด้วยแพทย์ทางเลือก ควรรู้อะไรบ้าง มีผู้ป่วยมะเร็งไม่น้อย ที่ตัดสินใจใช้ วิธีรักษาโรคมะเร็ง ด้วยแพทย์ทางเลือก ร่วมกับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งบางวิธีก็ส่งเสริมการรักษา บางวิธีก็อาจไร้ประโยชน์ วันนี้เราจึงนำคำแนะนำจากนายแพทย์แอนดรูว์ ไวล์ มาฝาก มุมมองจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ป่วยหลายคนเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นมะเร็งแล้วก็เกิดความกังวล ไม่รู้ว่าควรเข้ารับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์ทางเลือกดี นายแพทย์แอนดรูว์  ไวล์  ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น พ่อมดด้านการแพทย์ทางเลือกชาวอเมริกัน (ผู้ก่อตั้งศูนย์การแพทย์ผสมผสานแอริโซนา แห่งมหาวิทยาลัยแอริโซนา ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นนักเขียนด้านการแพทย์ผสมผสานที่ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า หนังสือที่นำมาแปลเป็นภาษาไทยแล้ว ได้แก่ กินดีอยู่ดี,  พลังบำบัด) เขาได้แนะนำแนวคิดในการเข้ารับการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือกไว้ในหนังสือ พลังบำบัด  สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ผู้ป่วยทุกท่าน สามารถนำไปปรับใช้ประกอบการตัดสินใจเข้ารับการรักษาได้เป็นอย่างดี เราจึงสรุปข้อมูลมาฝากกันดังนี้       << อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

ประสบการณ์สุขภาพ : เมื่อฉันเป็นมะเร็งเต้านมชนิดรุนแรง

จากคำบอกเล่าของผู้ป่วย มะเร็งเต้านมชนิดรุนแรง วันนี้เราขอหยิบยกเอาประสบการณ์สุขภาพของผู้หญิงแกร่งคนหนึ่ง ซึ่งพบว่าตัวเองป่วยเป็นโรค มะเร็งเต้านมชนิดรุนแรง แต่ด้วยกำลังใจที่มีทำให้เธอไม่ย่อท้อ และตัดสินใจสู้กับมัน เธอคนนี้ได้เล่าเรื่องราวของตนเองไว้ในนิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 442 มาอ่านเรื่องของเธอกันค่ะ ในวันที่ฉันเป็นมะเร็ง คุณติ๊ก – พิริยาอร จุไรรัตนาภรณ์ วัย 54 ปี เล่าย้อนไปเมื่อกว่า 10 ปีก่อน ตอนที่เธอเริ่มมีอาการเป็นหวัดและปวดท้องบ่อยครั้ง แต่เพราะเคยชินกับสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรงมาตั้งแต่เด็กจึงไม่คิดอะไรมาก พอนานวันเข้าอาการปวดท้องก็เริ่มรุนแรง จนหมอที่รักษาถึงกับขอผ่าตัดเปิดหน้าท้องเพื่อตรวจหาสาเหตุ แต่ท้ายที่สุดก็ไม่พบ “วันหนึ่งฉันคลำพบก้อนเนื้อที่เต้านมขวาเข้าโดยบังเอิญ พอไปตรวจที่โรงพยาบาลอีกครั้งคุณหมอได้คลำก้อน สันนิษฐานทันทีว่าน่าจะเป็นก้อนมะเร็ง และขอตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ “…แต่ตอนนั้นไม่รับรู้แล้วค่ะ พอได้ยินคำว่า ‘มะเร็ง’ สมองก็ชาทันทีเหมือนหยุดทำงาน” ไม่ผิดอย่างที่คาด ผลตรวจที่ออกมาระบุว่า เธอป่วยเป็นมะเร็งเต้านมชนิดรุนแรงเรียกว่าเฮอร์ทู (Human Epidermal Growth Factor Receptor : HER2 Positive) เข้าสู่ระยะที่ 3 ต้องเลือกว่าจะตัดเต้านมข้างขวาทั้งหมด หรือเพียงคว้านเนื้อบริเวณนั้นออกเมื่อคุณติ๊กคิดอะไรไม่ออก สามีของเธอจึงช่วยตัดสินใจ “ตั้งแต่มีอาการผิดปกติ สามีก็ไปพบหมอด้วยเสมอ เขาจึงตอบโดยไม่ลังเลว่าให้ตัดเต้านม เพราะเชื่อว่าวิธีนี้รักษาชีวิตเราได้ […]

ข้อควรรู้ก่อน ตรวจมะเร็งเต้านม เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้หญิงทุกคน

ตรวจมะเร็งเต้านม ต้องรู้อะไรบ้าง โรคมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่คร่าชีวิตเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งทั้งหมด มีสาเหตุและปัจจัยการเกิดโรคหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย รวมไปถึงพันธุกรรม บางคนมีญาติสนิทที่ใกล้ชิดป่วย ทำให้กังวลใจว่าจะป่วยเป็นโรคนี้ไปกับเขาด้วย วันนี้เราเลยมาแนะนำข้อควรรู้ก่อน ตรวจมะเร็งเต้านม ค่ะ   คำถามจากทางบ้าน ก่อนตรวจหายีนมะเร็งเต้านม ต้องรู้อะไรบ้าง ดิฉันมีกรรมพันธุ์เป็นโรคมะเร็งเต้านม  แม่และยายเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านม  ทำให้มีความกังวลมาก  นอกจากตรวจแมมโมแกรมแล้ว  ทางโรงพยาบาลมีการตรวจยีนมะเร็งเต้านมด้วย  แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง  จึงขอเรียนถามคุณหมอว่า ดิฉันควรตรวจหรือไม่  เพื่อให้ตัวเองปลอดภัยจากโรคมะเร็ง   แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข มีข้อแนะนำดังนี้ ว่าด้วยมะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่น่ากลัวสำหรับผู้หญิงทุกคน ในประเทศด้อยพัฒนา แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่จำนวน 1.8 ล้านคน มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านม 464,000 ราย และประมาณร้อยละ 60 ของจำนวนนี้เสียชีวิตส่วนในประเทศไทย แต่ละปีมีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่ประมาณ 15,000 คน มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านมประมาณ 3,000 ราย ถือว่าเป็นโรคมะเร็งที่พบมากที่สุด และเป็นโรคร้ายที่เป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้หญิง แม้ในปัจจุบันยังไม่สามารถป้องกันการเกิดโรคนี้ได้ แต่พบว่าสถิติของโรคเริ่มลดลงอย่างช้าๆตั้งแต่ปีพ.ศ. 2543 ซึ่งเชื่อว่าเกิดจาก […]

มาทำความรู้จักกับ มูลนิธิบ้านปันรัก เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง

มูลนิธิบ้านปันรัก เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง วันนี้เราชวนผู้อ่านมาทำความรู้จักกับ มูลนิธิบ้านปันรัก เพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง มูลนิธิที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อแบ่งปันความรักความห่วงใยในเพื่อนมนุษย์ระหว่างกันและกัน ส่งต่อไปถึงผู้ป่วยโรคมะเร็ง ที่มาของมูลนิธิบ้านปันรัก จากสถิติของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์  สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข  ปีพ.ศ.2553  ระบุว่า  โรคมะเร็งขึ้นชาร์ตอันดับหนึ่งของสาเหตุการตายของประชากรไทย โดยจำนวนประชากรที่สำรวจ 411,331 คน  พบว่า  มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งสูงถึง 58,076 คน  เพิ่มขึ้นจาก 4 ปีที่แล้วกว่า 6,014 คน และเมื่อต้องเห็นสภาพความทุกข์ยากของเพื่อนผู้ป่วยมะเร็งบางคนที่ต้องเดินทางมากกว่า 4 ชั่วโมง  ระยะทางกว่า 300 กิโลเมตร  เพื่อมารักษา  มูลนิธิบ้านปันรักเพื่อผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงถือกำเนิดขึ้นมาในปีพ.ศ. 2555 แต่การเดินทางของมูลนิธิมาตลอดหนึ่งปีนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย  ปักษ์นี้ชีวจิตได้มีโอกาสคุยแบบเปิดอกกับคุณอ้อยดอกเตอร์พัชรพร สกุลพงศ์  อายุ 56 ปี (ในขณะนั้น)  เลขานุการมูลนิธิบ้านปันรัก  เพื่อให้รู้จักกับมูลนิธินี้มากขึ้น จากผู้ป่วยสู่ผู้ให้ จุดเริ่มต้นของการทำงานกับมูลนิธิมาจากคุณอ้อยเองก็เป็นผู้ป่วยมะเร็งเช่นกัน  โดยเธอป่วยเป็นมะเร็งไทรอยด์และต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม พ.ศ. 2542 ย้อนกลับไปเมื่อ 11 ปีที่แล้ว  ชีวจิตเคยได้มีโอกาสบันทึกเรื่องราวการต่อสู้โรคร้ายของเธอ  ในคอลัมน์สู้ชีวิต  ฉบับที่ 99 […]

กินสารเร่งเนื้อเเดง (ตลาดเขียง) เสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่คร่าชีวิตคนไทยพุ่ง ร่วมรณรงค์ครั้งใหญ่ “กิน–อยู่–รู้เท่าทันโรค“ โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำคนไทยเสียชีวิตปีละ 3,000 คนต่อปี โดยเฉพาะคนที่ชอบกินเนื้อ มีสารเร่งเนื้อเเดง        เวที สช. เจาะประเด็นห่วงแนวโน้ม ‘มะเร็งลำไส้ใหญ่’ คร่าชีวิตคนไทยปีละกว่า 3,000 คน ผอ.สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เผยปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะการรับประทานเนื้อแดง เนื้อแปรรูป อาหารปิ้งย่าง ย้ำเร่งคุมเข้มฟาร์มปศุสัตว์และเจ้าของเขียง หลังตรวจพบสารเร่งเนื้อแดงบ่อยครั้ง เพจสุขภาพชวนปรับไลฟ์สไตล์ชีวิต ด้าน สช. ระบุต้องรู้เท่าทันจึงป้องกันโรคได้ พร้อมเตรียมนำประเด็นความรู้เท่าทันด้านสุขภาพเข้าสู่เวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 11 ปลายปีนี้         สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จัด เวที สช.เจาะประเด็น ครั้งที่ 3/2561 เรื่อง “กินเปลี่ยนชีวิต หยุดวิกฤตมะเร็งลำไส้ใหญ่” เมื่อวันอังคารที่ 11 กันยายน 2561 ณ ห้องประชุมบองมาร์เช่ มาร์เก็ต ประชานิเวศน์ 1 นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กล่าวว่า […]

พลูคาว รักษามะเร็งได้จริงหรือ มาฟังความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ

พลูคาว รักษามะเร็ง ในมุมมองของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พูดถึงโรคมะเร็ง ใครก็ไม่อยากเป็น พอเป็นแล้วก็สร้างความกังวลใจเป็นอย่างมาก ลำบากต้องไปหาสารพัดวิธีมารักษา ทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก รวมไปถึงยาสมุนไพร วันนี้เราจะมาพูดถึงประเด็น พลูคาว รักษามะเร็ง ในมุมมองของแพทย์หญิงดวงรัตน์  เชี่ยวชาญวิทย์ คอลัมนิสต์ประจำนิตยสารชีวจิตกันค่ะ โรคมะเร็งร้ายที่มาไม่บอกไม่กล่าว สภาพแวดล้อมของโลกเราทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงไปมากมาย มีทั้งมลพิษจากสารเคมีและรังสี อีกทั้งการดำรงชีวิตประจำวันก็เร่งรีบ ส่งผลให้เกิดความเครียดมากจนมีผลต่อสุขภาพของเราและก่อให้เกิดโรคมากมาย โรคที่นับวันจะพบมากขึ้นเรื่อยๆคือ โรคมะเร็ง สาเหตุการเกิดโรคจริงๆนั้นยังไม่ทราบ แต่มีการวิเคราะห์ว่าเกิดจากปัจจัยดังกล่าวข้างต้นเป็นตัวกระตุ้น รวมถึงเรื่องการบริโภคอาหารด้วย เมื่อไม่นานมานี้ผู้เขียนได้รับข่าวเศร้าติดๆกัน ข่าวแรกคือ เพื่อนสมัยเรียนมัธยมด้วยกันเสียชีวิตแล้ว ข่าวต่อมาคือ การเสียชีวิตของน้องแพทย์ที่เรียนด้วยกันที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทั้งสองท่านเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอด อาการของเพื่อนที่ผู้เขียนไปตรวจคือ สายตาพร่ามัว ปวดศีรษะเป็นบางครั้ง ทีแรกจะไปตรวจตาเพราะคาดว่าตาน่าจะมีปัญหาเนื่องจากอายุมากขึ้น ประกอบกับใช้สายตามาก แต่เมื่อแก้ไขด้วยการใช้แว่นสายตายาวแล้วอาการก็ไม่หาย จึงไปพบจักษุแพทย์และไม่คาดคิดว่ตนเองเป็นโรคร้ายแรงอะไร กลายเป็นว่าตรวจพบมะเร็งปอดในระยะสุดท้ายเพราะลามไปที่สมองเรียบร้อยแล้ว เพื่อนคงรู้สึกช็อก เนื่องจากไม่มีอาการทางปอดแสดงให้เห็นเลย ถ้ามีคงไม่สายอย่างนี้(เพื่อนเป็นพยาบาลค่ะ) เพื่อนร่วมรุ่นเมื่อได้ทราบข่าวต่างตกใจและไม่คิดว่าเพื่อนจะพบชะตาชีวิตอย่างนี้ อีกทั้งลูกสาวยังเรียนอยู่ ประกอบกับต้องเลี้ยงลูกคนเดียว เมื่อพบว่าตัวเองเป็นโรคซึ่งไม่มีทางหายเพื่อนก็ใช้สติตั้งรับและมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคร้ายนี้ โดยมีเพื่อนๆและลูกสาวคอยเป็นกำลังใจให้ ยอมรับว่ากำลังใจเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้ผู้ป่วยทุกท่านสามารถผ่านเรื่องร้ายๆได้ค่ะ เพื่อนผู้เขียนพยายามรักษาตนเองทุกทางทั้งแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือก แต่สุดท้ายเธอก็จากพวกเราไปอย่างสงบ ส่วนน้องที่เป็นแพทย์นั้นพยายามดูแลสุขภาพ แต่ก็ไม่มีเวลาดูแลตัวเองได้ดีเท่าที่ควร ประกอบกับมีความเครียดสะสมอยู่เพราะต้องรับผิดชอบชีวิตผู้ป่วยทุกวัน สุดท้ายตรวจพบว่าน้องป่วยเป็นมะเร็งปอดระยะสุดท้ายน้องใช้วิธีรักษาทั้งโดยแพทย์แผนปัจจุบันและแพทย์ทางเลือกซึ่งเน้นการกินอาหารโดยเฉพาะผักผลไม้ งดเนื้อสัตว์ มีการออกกำลังกายและการพักผ่อน […]

1 วินาทีที่ใจลืมป่วย ความสุขที่เกิดขึ้นในเวลาอันสั้นของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

1 วินาทีที่ใจลืมป่วย ความสุขที่เกิดขึ้นในเวลาอันสั้นของ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เราลองมาดูกันว่า ความสุขในเวลาอันสั้นนี้ ช่วยให้ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีหัวใจแข็งแรงขึ้นมาขนาดไหน 0 “รู้ไหม สิ่งที่ฉันคิดถึงมากที่สุดคืออะไร…ใจที่สบายไร้กังวลไงล่ะ” 0 สำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ต้องเข้ารับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีหรือเคมีบําบัดแล้วเส้นผมสลวยที่ค่อย ๆ ร่วงทีละเส้นหรือทีละหลาย ๆ เส้น ผิวหนังที่อ่อนแอแพ้ง่าย ใจที่ต้องพะวักพะวนกับความทุกข์ทางกายจน ไม่อาจหาความสุขได้แม้เพียงชั่วครู่ชั่วคราว 0 ความคิดนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นของโครงการ “If Only for a Second” โดย Mimi foundation มูลนิธิซึ่งจัดบริการดูแลบํารุงความงามทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจให้ผู้เข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง 0 จากการแปลงโฉมให้ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ 20 คน ด้วยการแต่งหน้า ทําผม ใส่วิกที่ดูเก๋ไก๋แปลกตา โดยไม่ให้พวกเขาเห็นภาพตัวเองระหว่างนั้น พอเสร็จสิ้นจึงมีเสียงบอกให้พวกเขาลืมตามองดูตัวเองในกระจก หลายคนแทบจําตัวเองไม่ได้เลยทีเดียว บางคนถึงกับช็อก อึ้ง เซอร์ไพร้ส์ และหลุดขําในลุคสุดเหวี่ยงของตัวเองจนลืมความเจ็บป่วยที่เป็นอยู่ไปได้ชั่วครู่ 0 จากสิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่รู้คือ ช่างภาพชื่อดัง วินเซนต์ ดิกซัน (Vincent Dixon) ได้แอบถ่ายภาพวินาทีที่สวยงามที่สุดเหล่านี้จากอีกฝั่งหนึ่งของกระจกสองหน้า เมื่อพวกเขาเห็นภาพถ่ายของตนเองและเพื่อน […]

เมนูก่อมะเร็ง 6 จานเด็ด ที่ควรรู้ อร่อยนะแต่ร้ายมาก

เมนูก่อมะเร็ง 6 จานเด็ด แสนอร่อย แต่รู้ไหม เป็นภัยเงียบกระตุ้นเซลล์มะเร็ง เมนูก่อมะเร็ง มีอะไรบ้าง บางคนอาจบอกว่า รู้แล้ว! แต่เชื่อเถอะว่า ยังมีอีกหลายอย่างที่คุณไม่รู้ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร วิธีการปรุง การถนอมอาหาร ก็อาจกระตุ้นเซลล์มะเร็งได้ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า โรคมะเร็ง  เป็นโรคของเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายเจริญเติบโตผิดปกติ เรียกว่า “เนื้องอก” และพัฒนาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนมะเร็ง ปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่มาของการเกิดโรคมะเร็งได้อย่างแน่นอน มะเร็ง อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ฮอร์โมนในร่างกาย การได้รับสารเคมีผ่านระบบทางเดินหายใจ หรือปัจจัยร่วมอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดแนวโน้มของการเกิดโรคได้ และเราปฎิเสธไม่ได้ว่า การเลือกรับประทานอาหาร และพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดก้อนมะเร็งในร่างกาย จากสถิติของสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งโลกพบว่า “มากกว่าร้อยละ 50 ของผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็ง สัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้อง ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังขาดความเข้าใจและไม่ได้ตระหนักถึงอันตรายของสารก่อมะเร็งที่อาจปนเปื้อนมาในอาหาร” ลองมาดูกันว่า 6 เมนูอาหารแสนอร่อย แต่กระตุ้นให้เกิดการทำงานที่ผิดปรกติของเซลล์ในร่างกาย มีอะไรบ้าง 1. อาหารที่ปรุงด้วยความร้อนสูง เนื้อสัตว์ที่ได้รับความร้อนสูงจากการนำมาปิ้ง  ย่าง  รมควัน  จนไหม้เกรียม จะพบสารก่อมะเร็งชนิดหนึ่งที่เรียกว่า  PAH (Polycyclic Aromatic Hydrocarbons) เกิดจากการเผาไหม้ของไขมันในเนื้อสัตว์ ที่หยดลงไปโดนถ่านไฟ จนทำให้เกิดเป็นควันที่มีพิษเป็นสารก่อมะเร็งและลอยกลับขึ้นมาจับที่เนื้อสัตว์บนเตา เมื่อรับประทานเข้าไปในปริมาณมาก […]

10 สัญญาณ “เสี่ยงมะเร็ง” ตรวจพบไว รักษาได้

10 สัญญาณ “เสี่ยงมะเร็ง” ตรวจพบไว รักษาได้ “โรคมะเร็ง” โรคที่ใครๆ ต่างก็หวาดกลัว และไม่อยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง มาดูแลรักษาสุขภาพของเราให้แข็งแรงเพื่อป้องกันโรคมะเร็ง พร้อมสังเกต 10 สัญญาณที่อาจ เสี่ยงมะเร็ง เพื่อที่จะสามารถตรวจรักษาได้อย่างรวดเร็วที่สุดกันค่ะ ข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงสถานการณ์มะเร็งในปัจจุบันว่า ประเทศไทยมีอัตราการเกิดโรคมะเร็งเพิ่มสูงขึ้น โดยมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่มากถึงประมาณ 120,000 คนต่อปี และมีจำนวนที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี โรคมะเร็งจึงยังก้าวขึ้นมาเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของประเทศไทย เรียกได้ว่า มีคนไทยที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งมากถึง 8 รายต่อชั่วโมง เลยทีเดียว   5 อันดับ โรคมะเร็งของผู้ชายไทย อันดับ 1 มะเร็งตับและท่อน้ำดี อันดับ 2 มะเร็งปอด อันดับ 3 มะเร็งลำไส้ใหญ่ อันดับ 4 มะเร็งต่อมลูกหมาก อันดับ 5 มะเร็งต่อมน้ำเหลือง   5 อันดับโรคมะเร็งของผู้หญิงไทย อันดับ 1 มะเร็งเต้านม […]

เตือนภัย ไขมันทรานส์ในโดนัท เกินมาตรฐาน WHO

ไขมันทรานส์ในโดนัท เกินมาตรฐาน WHO ไขมันทรานส์ ไขมันตัวร้ายในวงการอาหาร กินเยอะรับรองว่าเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง แน่นอน ล่าสุด นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เผยผลทดสอบ ไขมันทรานส์ และพลังงาน ในโดนัทรสช็อกโกแลต พบ 8 ยี่ห้อมีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ WHO ที่ควรจะรับได้ โดนัท 8 ยี่ห้อ ไขมันทรานส์สูงเกินเกณฑ์ จากการสุ่มตราวจของนิตยสารฉลาดซื้อ พบว่า โดนัทรสช็อกโกแลตที่นำมาทดสอบทั้งหมดจำนวน 13 ตัวอย่างพบว่า มี 8 ยี่ห้อที่มีปริมาณไขมันทรานส์สูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนดไว้ คือ ควรพบ ไขมันทรานส์ ในอาหารได้สูงสุดไม่เกิน 0.5 กรัม/ หน่วยบริโภค โดนัท 5 ยี่ห้อ ไขมันทรานส์ อยู่ในเกณฑ์ ส่วนอีก 5 ยี่ห้อที่เหลือมีปริมาณ ไขมันทรานส์ อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด คือ 1. คริสปี้ครีม (Krispy Kreme […]

” ตรวจภายใน ” อย่างไร ให้ห่างไกลโรค มะเร็งรังไข่ ภัยเงียบที่ป้องกันได้

มะเร็งรังไข่ เป็นภัยเงียบ ควรใส่ใจตรวจภายในทุกปี ร่วมเป็นหนึ่งพลังรณรงค์ในโครงการ ‘Whisper of Ovary’ เนื่องในวันมะเร็งรังไข่สากล สร้างความเข้าใจและเสริมเกราะป้องกันภัยจากโรค มะเร็งรังไข่ ที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มมะเร็งนรีเวช พร้อมรับฟังข้อมูลและเรียนรู้วิธีการรับมือจากภัยเงียบของมะเร็งรังไข่โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ มะเร็งรังไข่เป็นภัยเงียบ รู้ไว้รักใครให้บอกต่อ อาการของมะเร้งรังไข่มักไม่เฉพาะเจาะจง โดยสัญญาณและอาการหลายอย่างมักพบในสตรีที่มะเร็งมีการแพร่กระจายออกนอกรังไข่แล้ว มะเร็งรังไข่ในระยะแรกเริ่มมักไม่มีอาการผิดปกติ   สัญญาณและอาการที่ควรสังเกต เราสามารถสังเกตอาการผิดปกติของร่างหายด้บ้าง หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันนานเกิน 2 สัปดาห์หรือรู้สึกว่าผิดปกติจากเดิม ควรปรึกษาแพทย์ทันที ท้องอืดท้องเฟ้อ ปวดในอุ้งเชิงกราน หรือ ปวดท้อง แน่นท้อง รู้สึกอิ่มเร็วขึ้นหลังรับประทานอาหาร ท้องผูกเรื้อรัง ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่หรือลำบาก ท้องโตขึ้น คลำได้ก้อนในช่องท้อง การตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งรังไข่ เนื่องจากอาการนำของโรคมะเร็งรังไข่ไม่เฉพาะเจาะจง จึงทำให้ตรวจวินิจฉัยได้ล่าช้า และมักตรวจพบเมื่อมีอาการลุกลามออกไปมากจนทำให้ผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร จึงควรหมั่นตรวจเป็นประจำเพื่อเฝ้าระวังโรคร้ายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว ตรวจภายในหรือตรวจทางทวารหนัก เป็นการตรวจหารอยโรคตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม เพื่อให้แพทย์สามารถวางแผนการรักษาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มได้ สามารถลดความเสี่ยงที่มะเร็งจะลุกลามออกไปได้ ตรวจอัลตราซาวน์ (Ultrasound) มีความไวในการตรวจพบก้อน จึงมีประโยชน์ในการวินิจฉัยมะเร็งรังไข่ในระยะแรก ตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) เป็นการตรวจร่วมกับการอัลตราซาวน์เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจคัดกรอง ตรวจด้วยรังสีวินิจฉัย ช่วยในการวินิจฉัยและดูการแพร่กระจายของโรค   […]

กินของทอดอย่างไร ไม่ให้สุขภาพแย่ เรามีคำตอบ

กินของทอดอย่างไร ไม่ให้ ” เป็นมะเร็ง “ รู้ทั้งรู้ว่าอาหารทอดไม่ดีต่อสุขภาพ อุดมไปด้วยไขมัน เผลอๆแถมสารก่อมะเร็งจากน้ำมันทอดซ้ำ มีโอกาสทำให้ เป็นมะเร็ง เอาได้  ส่วนวิตามินและแร่ธาตุยิ่งไม่ต้องพูดถึงใหญ่ เพราะสลายหายไปกับน้ำมันทอดในกระทะเสียเกือบหมดแล้ว แต่เชื่อว่าบรรดาของทอดก็ยังคงเป็นของโปรดของหลายๆ คน แล้วเราจะมีวิธีกินอย่างไรให้ไม่ป่วยกันล่ะ กินอาหารทอดอย่างไรห่างไกลโรค เมื่อพูดถึงอาหารไขมันสูงมักนึกถึงอาหารทอดก่อนเสมอ เพราะในขั้นตอนการทำอาหารเราเห็นกันจะจะว่าอาหารสุกเพราะน้ำมันที่บรรจุอยู่เกือบเต็มกระทะ หรือบางอย่างก็ใส่น้ำมันในปริมาณมากเพื่อให้อาหารฟูกรอบ ในขณะที่อาหารประเภทอื่นปรุงด้วยน้ำมันน้อยกว่าหรือไม่ใช้น้ำมันเลย อาหารทอดจะมีปริมาณน้ำมันคงค้างอยู่ในอาหารมากกว่าอาหารที่ผ่านการปรุงด้วยวิธีอื่นโดยเฉลี่ยตั้งแต่ 1 ช้อนชาขึ้นไป ซึ่งถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพง่ายๆจากไข่ต้ม ไข่ดาว และไข่เจียว จะพบว่าน้ำมันที่คงค้างในอาหารจะเท่ากับ 0, 1 และ 4 ช้อนชา ตามลำดับ ฉะนั้น เราจึงควรรู้ว่าอาหารทอดและอาหารชนิดอื่นๆมีปริมาณน้ำมันอยู่มากน้อยแค่ไหน มาดูตารางแสดงปริมาณน้ำมันในอาหารกันดีกว่า เมื่อดูปริมาณไขมันในอาหารจากตารางแล้ว หลายคนคงกำลังคิดคำนวณอยู่ในใจว่า เรากินน้ำมันมากน้อยแค่ไหนในหนึ่งวัน และเมื่อนำข้อมูลปริมาณไขมันในอาหารแต่ละประเภท มาเปรียบเทียบกับปริมาณไขมันที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวันแล้ว อาจช่วยผู้อ่านกะปริมาณอาหารในแบบฉบับของตนเองได้ หากใครกำลังสับสนกับตัวเลขและไม่อยากคิดคำนวณให้วุ่นวายลองหันมาฟังคำแนะนำง่ายๆในการกินอาหารทอดให้ได้ไขมันไม่เกินปริมาณที่ร่างกายต้องการทางนี้ค่ะ วิธีกินของทอด ของคนสุขภาพแข็งแรง VS คนป่วย ให้ปลอดภัย อ่านหน้าต่อไป

ประสบการณ์สุขภาพ หักดิบชีวิต ใช้ชีวจิตสู้ มะเร็งลำไส้ หายขาด

มะเร็งลำไส้ หมอยืนยันกับเธอถึงอาการของคู่ชีวิตที่ร่วมเรียงเคียงหมอนกันมายาวนาน ผู้ชายที่มากไปด้วยมุกตลก ไม่เคยเจ็บไข้ได้ป่วยมาก่อน

เทคนิคกินหวาน ต้านโรคเบาหวาน ชะงัด

เทคนิคกินหวาน กับโรคเบาหวาน ของแถมที่ตามมาคือ ภาวะหัวใจวาย เป็นโรคอ้วนลงพุง แถมก่อมะเร็งมดลูกได้อย่างไม่ทันตั้งตัว ต้องควบคุมปริมาณน้ำตาลที่กินเพื่อลดโรค

3 เรื่องเล่า : โศกนาฏกรรมหลัง มะเร็งเต้านม

หลังการผ่าตัดเอาก้อน มะเร็งเต้านม ร้ายออกจากทรวงอก (เมื่อ 8 ปีที่แล้ว) ฉัน (อรวรรณ โอวรารินท์) คิดว่าตัวเองจะดีขึ้น แต่เหตุการณ์กลับตาลปัตร

ถึงเวลาเปิดช่อง ปาก …เล่าเรื่องปากป่วย

หลายครั้งที่กลิ่น ” ปาก ” อันไม่พึงประสงค์ มักจะปรากฏออกมาบั่นทอนความมั่นใจของเรา ดังนั้น…ต้องรีบหาสาเหตุและกำจัดมันออกไปโดยเร็ว

5 Tips ใช้กระทะปลอดภัย ไร้สารก่อมะเร็ง

มาหาทางปรุงอาหารให้ปลอด สารก่อมะเร็ง และสุขภาพดีตลอดกาลกันดีกว่า เพราะจะกินอาหารที่ไม่ก่อโรคทั้งที กรรมวิธีในการทำอาหารก็ต้องปราศจากสารพิษตั้งแต่ขั้นตอนแรกด้วย

keyboard_arrow_up