โรคมะเร็ง
โรคมะเร็ง คืออะไร ?
โรคมะเร็ง หรือทางการแพทย์เรียกว่า “เนื้องอกที่เป็นเนื้อร้าย” เป็นกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของเซลล์ ที่มีความผิดปกติในร่างกาย การเจริญเติบของเซลล์เหล่านี้ มีลักณษะการแบ่งตัว และโตอย่างรวดเร็ว จนไม่สามารถควบคุมได้ ทำให้เซลล์สามารถลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียง โดยผ่านระบบน้ำเหลือง หรือผ่านกระแสเลือด ส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ล้มเหลว จนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
หลายคนยังมีความเข้าใจผิดระหว่างเรื่อง เนื้องอกกับโรคมะเร็ง … ไม่ใช่ว่าเนื้องอกทุกชนิด จะต้องเป็นมะเร็ง เนื่องจาก เนื้องอกแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1. เนื้องอกชนิดที่ไม่ร้ายแรง 2. เนื้องอกที่เป็นเนื้อราย ความแตกต่างของเนื้องอกทั้งสองประเภทนี้คือ เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง จะเจริญเติบโตช้า ไม่ค่อยลุกลามเข้าไปยังอวัยวะข้างเคียง และไม่มีการทำลายเซลล์ปกติที่อยู่ระแวกข้างเคียง จึงทำให้เนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง ไม่มีโอกาส ที่จะแพร่กระจาย หรือลุกลาม ไปยังอวัยวะส่วนอื่นได้ และที่สำคัญเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง สามารถรักษาได้ โดยการผ่าตัด
โรคมะเร็งมีกี่ระยะ ?
สำหรับโรคมะเร็งมีทั้งหมด 4 ระยะ คือ
- ระยะที่ 1 : ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็ง มีขนาดเล็ก และยังไม่ลุกลาม
- ระยะที่ 2 : ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่าระยะที่ 1 และเริ่มมีการลุกลามภายในเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะ
- ระยะที่ 3 : ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดใหญ่กว่าระยะที่ 2 และเริ่มมีการลุกลามภายในเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียง และเริ่มลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลือง ที่อยู่ใกล้เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะที่เป็นมะเร็ง
- ระยะที่ 4 ก้อนเนื้อ หรือแผลมะเร็งมีขนาดโตมาก และ/หรือ ลุกลามเข้าเนื้อเยื่อ หรืออวัยวะข้างเคียงจนทะลุ และ/หรือ เข้าต่อมน้ำเหลืองที่อยู่ใกล้ก้อนมะเร็ง โดยพบต่อมน้ำเหลืองโตคลำได้ และ/หรือ มีหลายต่อม และ/หรือ แพร่กระจายเข้ากระแสโลหิต และ/หรือ หลอดน้ำเหลืองหรือกระแสน้ำเหลือง ไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะที่อยู่ไกลออกไป เช่น ปอด ตับ สมอง กระดูก ไขกระดูก ต่อมหมวกไต ต่อมน้ำเหลืองในช่องท้อง ในช่องอก และ/หรือ ต่อมน้ำเหลืองเหนือกระดูกไหปลาร้า
สำหรับประเภท และชนิดของโรคมะเร็ง ที่พบมากในคนไทยได้แก่
- มะเร็งปากมดลูก : พบมากในผู้หญิงอายุระหว่าง 35 – 50 ปี
- มะเร็งรังไข่ : พบมากในผู้หญิงอายุระหว่าง 40-60 ปี และในเด็กก่อนหรือหลังวัย 10 ปี
- มะเร็งเต้านม : พบมากในผู้หญิงอายุระหว่าง 45 – 50 ปี
- มะเร็งปอด : มีโอกาสเกิดได้ทั้งผู้หญิง และผู้ชาย
- มะเร็งตับ : พบมากในคนไทยที่มีความเกี่ยวข้อง กับการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และซี รวมทั้งเป็นโรคตับแข็ง
- มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ : พบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิงได้ถึงประมาณ 3 เท่า สำหรับผู้ชายพบได้สูงในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และในผู้หญิงพบได้สูงในช่วงอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
- 7. มะเร็งในช่องปาก : 90 % ของผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก เป็นผู้ที่สูบบุหรี่ ดื่มสุรา
- 8. มะเร็งในกล่องเสียง : พบได้มากในผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60 – 70 ปี
- 9. มะเร็งกระเพาะอาหาร : มักพบในผู้ชายมากกว่าในผู้หญิงประมาณ 3 เท่า และมักพบในช่วงอายุ 60-70 ปี
- 10. มะเร็งลำไส้ใหญ่ : พบมากทั้งผู้หญิง และผู้ชาย อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป แต่อาจพบในเด็กโตได้
- 11. มะเร็งต่อมน้ำเหลือง : เป็นมะเร็งที่เกิดจากเม็ดเลือดขาว ชนิดลิมโฟไซด์
รู้หรือไม่ ?
ปู เป็นสัญลักษณ์ของโรคมะเร็ง เนื่องจากคำว่า มะเร็ง (Cancer) มาจากภาษากรีก คือ Carcinos ที่แปลว่า ปู ซึ่งก้อนมะเร็งนั้นมีลักษณะแพร่กระจายออกไป เหมือนขาปูที่ออกไปจากตัวปู โดยบุคคลแรกที่ใช้ศัพท์นี้คือ บิดาแห่งการแพทย์ตะวันตก ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) นั่นเอง
เชื้อ H.Pylori ต้นเหตุแผลในกระเพาะอาหาร สู่ มะเร็งกระเพาะอาหาร
มะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุอาจมาจากเชื้อตัวเดียว สาเหตุการเกิด “โรคกระเพาะอาหาร” ที่หลายคนทราบดี คือการทานอาหารไม่ตรงเวลา ปล่อยให้ท้องว่างจนกระเพาะอาหารเสียสมดุลของกรดภายในกระเพาะอาหารนำไปสู่การทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร แต่อีกสาเหตุหลักที่เป็นตัวการให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ทั้งยังสามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้ นั่นก็คือ “เชื้อเอชไพโลไร หรือ H.Pylori (Helicobacter Pylori) ” ที่อาจนำไปสู่ มะเร็งกระเพาะอาหารได้ รู้จักแบคทีเรียตัวร้าย H.Pylori เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือ เอชไพโลไร (H.Pylori) คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ จากการใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกัน การบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อน และการปรุงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบโดยเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้นเหตุให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย อาการของผู้ติดเชื้อ H.Pylori โดยปกติแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อ H.Pylori มักจะไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้ ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องบริเวณเหนือสะดือ ปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน จุกเสียดลิ้นปี่ ท้องอืด […]
หาก คลำเต้านม เจอไว จะยับยั้งมะเร็งกระจายได้ทันควัน
คลำเต้านม เจอไว ชะลอมะเร็งกระจายทันควัน การ คลำเต้านม เพื่อตรวจหามะเร็งเต้านมด้วยตัวเองที่บ้าน เป็นหนึ่งในวิธีพื้นฐานที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้หญิงทุกคนหมั่นตรวจเป็นประจำสม่ำเสมอ ข้อดีของการคลำเต้าเป็นประจำคือเราจะสามารถสังเกตความผิดปกติของเต้านมได้รวดเร็ว และสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาได้ทันท่วงที หากเจอมะเร็งในระยะต้น ๆ โอกาสรักษาหายก็ยิ่งมากขึ้น มาลองอ่านประสบการณ์ของคุณไอรีลกันเลยค่ะ บังเอิญคลำเจอก้อน คุณไอรีล ไตรสารศรี อายุ 32 ปี เล่าว่า ตัวเองเป็นมะเร็งเต้านมเมื่ออายุ27 ปี จากการคลำเจอก้อนเนื้อบริเวณหน้าอกด้านขวาขณะกำลังเรียนอยู่ต่างประเทศ “ก่อนหน้านี้ไม่เคยคิดเลยว่าตัวเองจะเป็นมะเร็งเต้านม และไม่เคยตรวจคลำด้วยตัวเองเลย เพราะคิดว่าอายุยังน้อยจะเป็นมะเร็งเต้านมได้อย่างไร และเคยทราบมาว่า ผู้หญิงอายุ35 ปีขึ้นไปจึงจำเป็นต้องตรวจมะเร็งเต้านม” แต่ด้วยความบังเอิญ ครั้งหนึ่งขณะที่เธอคลำเต้านมก็พบว่ามีก้อนเนื้อเป็นไตแข็งๆบริเวณลานนมด้านขวา แต่ไม่ได้สนใจ กระทั่งหลังมีประจำเดือนจึงลองคลำอีกครั้ง พบเนื้องอกมีลักษณะเป็นก้อนชัดเจนมากขึ้น ตรวจอย่างละเอียด เมื่อกลับมาเมืองไทยแล้ว เธอจึงเข้ารับการตรวจในโรงพยาบาล โดยคุณหมอวินิจฉัยว่าเป็นเพียงถุงน้ำธรรมดา (Cyst) เท่านั้น ซึ่งเป็นลักษณะปกติของร่างกาย คุณไอรีลเล่าว่า “ตอนนั้นรู้สึกโล่งใจ แต่ในใจก็รู้สึกสงสัยเหมือนกันว่าตัวเองเป็นอะไรกันแน่ รวมถึงพี่สาวก็ไม่แน่ใจในอาการของเรา จึงตัดสินใจไปหาหมอท่านอื่นเพื่อยืนยันผลการตรวจ” ก่อนเดินทางกลับต่างประเทศ 1 สัปดาห์ คุณไอรีลจึงไปตรวจวินิจฉัยซ้ำที่อีกโรงพยาบาลหนึ่ง “ตอนนั้นได้นำผลการตรวจอัลตราซาวนด์จากโรงพยาบาลเก่าติดตัวไปด้วย ซึ่งจากการดูฟิล์มอัลตราซาวนด์ในเบื้องต้น คุณหมอก็สงสัยว่าน่าจะเป็นก้อนเนื้อมากกว่าเป็นถุงน้ำ จึงได้ส่งตรวจแมมโมแกรม (Mammogram) เพื่อยืนยันผล […]
ประสบการณ์สาวออฟฟิศ ตรวจหาความเสี่ยง เพราะคุณแม่ เป็นมะเร็ง
ตรวจหาความเสี่ยง เพราะคุณแม่ เป็นมะเร็ง เชื่อว่าตอนนี้ โรคมะเร็งเต้านม เกิดขึ้นในผู้หญิงที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ และด้วยเป็นโรคที่อาจเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรม พฤติกรรม และการใช้ชีวิต สาว ๆ จึงไม่ควรประมาท ควรตรวจเช็กเต้านมสม่ำเสมอ และตรวจสุขภาพอย่างละเอียดทุกปี เพื่อที่ว่า หาก เป็นมะเร็ง ขึ้นมา จะได้รับมือได้ง่ายขึ้นค่ะ มาอ่านประสบการณ์การตรวจความเสี่ยงมะเร็งเต้านมของสาวออฟฟิศท่านหนึ่งที่มาแชร์ให้เราได้รับทราบกันดีกว่า เริ่มจากคุณแม่เสียด้วยมะเร็งเต้านม คุณนิสา (ขอสงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี เป็นสาวออฟฟิศทั่ว ๆ ไป ที่แม้อายุยังน้อย แต่เธอไม่เคยประมาทภัยร้ายที่เรียกว่า “มะเร็งเต้านม” ด้วยความที่คุณแม่ของเธอเสียชีวิตจากโรคร้ายนี้ รวมถึงในครอบครัวยังมีประวัติเป็นโรคมะเร็งอีกหลายคน เธอจึงเลือกที่จะตรวจเช็กสุขภาพอย่างละเอียดทุกปี “ปกติเป็นคนไม่ใส่ใจสุขภาพค่ะ จนกระทั่งคุณแม่เสียด้วยโรคมะเร็งเต้านม คนรอบข้างจึงแนะนำให้หาเวลาไปตรวจสุขภาพบ้าง จึงลองไปพบแพทย์เพื่อขอคำปรึกษาดู” คุณนิสาเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่เธอจะเข้ารับการตรวจสุขภาพตามปกติ ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณหมอและพยาบาลที่แนะนำการตรวจเพิ่มเติมต่าง ๆ เพราะคนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งเต้านม ทางโรงพยาบาลจึงแนะนำให้เธอตรวจเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง (Tumor Marker) “นอกจากจะตรวจสุขภาพประจำปีแล้ว คุณหมอได้แนะนำให้ตรวจสารบ่งชี้มะเร็งประเภทซีเอ 15-3 (CA 15-3) เพราะด้วยความที่ไม่ได้ตรวจสุขภาพมานานและไม่เคยตรวจเช็กเต้านมด้วยตนเองมาก่อน การตรวจในลักษณะนี้จะช่วยคัดกรองความเสี่ยงหรือระยะของโรคมะเร็งได้ในระดับหนึ่งค่ะ” […]
อายุเท่าไร ถึงควร ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก เมื่อไรดี คำถามจากทางบ้าน : คุณแม่ของดิฉันอายุ 75 ปีแล้ว อยากทราบว่ายังจำเป็นต้องไป ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อยู่อีกหรือไม่ แพทย์ตอบ เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา มีคุณป้าชื่อสมศรี(นามสมมุติ) อายุ 65 ปีมาตรวจภายในและตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกหรือแปปสเมียร์(Pap Smear)ตามนัดทุกปี คุณป้าถามฉันว่า “คุณหมอ ป้าจะเลิกตรวจภายในได้หรือยัง ปกติเขาจะเลิกตรวจหามะเร็งปากมดลูกตอนอายุเท่าไรกัน” ฉันคุ้นเคยกับป้าสมศรีมาก เพราะตรวจกันมานานกว่า 20 ปี จึงพูดกับป้าว่า “เลิกตรวจภายในเมื่อป้าเบื่อชีวิต” ป้าสมศรีหัวเราะ ตอบว่า “ป้าคงไม่เบื่อชีวิตง่ายๆหรอกหมอ” สำหรับการตอบคำถามที่ว่า… เมื่อไรจึงจะเลิกตรวจแปปสเมียร์ ก่อนอื่นขออธิบายเรื่องการตรวจภายในกับการตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูก(แปปสเมียร์)ก่อนนะคะ การตรวจภายในคือการตรวจอวัยวะสืบพันธุ์ โดยแพทย์จะตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก แล้วใส่เครื่องมือที่เรียกว่าสเป็คคูลัม ซึ่งมีลักษณะเหมือนปากเป็ด เข้าไปตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายใน ได้แก่ ช่องคลอดปากมดลูก และคลำดูขนาดมดลูกรวมถึงคลำตรวจปีกมดลูกด้วยส่วนแปปสเมียร์คือการตรวจคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกผ่านการตรวจภายใน โดยใช้ไม้ง่ามหรือพู่กันป้ายเอาเซลล์ที่ปากมดลูกไปตรวจทางเซลล์วิทยา ดังนั้นคุณสามารถตรวจภายในได้โดยไม่ต้องตรวจแปปสเมียร์ แต่คุณไม่สามารถตรวจแปปสเมียร์โดยไม่ตรวจภายในได้แปปสเมียร์นั้นมีประโยชน์ เพราะสามารถตรวจพบมะเร็งปากมดลูกได้ ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที ลดการเกิดมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม ลดอัตราการตายและอัตราทุพพลภาพจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกาที่ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกไม่ติดอันดับการเสียชีวิต 1 ใน 5 ของการเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง พบว่าเพราะมีการรณรงค์ให้ทำแปปสเมียร์ในปีค.ศ.1950 […]
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าตัวเอง ” เป็นมะเร็ง “
เป็นมะเร็ง รู้แล้วทำอย่างไรต่อ ปัจจุบันสถิติผู้ป่วยมะเร็งทียังมีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงขึ้นในทุกๆ ปี ในแต่ละวัน และ “มะเร็ง” ยังคงเป็น 1 ใน 10 อันดับโรคร้ายที่เป็นภัยคร่าชีวิตคนไทยและผู้คนทั่วโลก โดยมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี มะเร็ง เป็นโรคร้ายที่ผู้คนทั่วโลกหวาดกลัว ด้วยอัตราการเสียชีวิตสูง และถือเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก อีกทั้งคนไทยยังมีความเชื่อว่าการ เป็นมะเร็ง ถือเป็น “โชคร้าย” และเป็นสัญญาณนับถอยหลังเวลาชีวิต เมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลายคนเกิดอาการช็อคทำอะไรไม่ถูก ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่พลาดโอกาสที่ดีที่สุดจากความสิ้นหวัง หมดกำลังใจ ไม่รู้จะเริ่มดูแลตนเองอย่างไรต่อไป จนบางครั้งเครียดจนปล่อยร่างกายโทรม เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งที่ปัจจุบันมีวิวัฒนาการด้านการรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตรวจพบเร็ว และรีบตั้งหลักวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายเป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดระยะเวลารักษา รับมือมะเร็งอย่างไร ปัจจุบันวงการแพทย์พยายามแสวงหาหนทางในการปฏิบัติตัวและการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก ผสมผสานกับแนวทางการรักษาแผนทางเลือกทั้งแผนไทย แผนจีนแผนสมุนไพร ควบคู่ไปกับหัวใจสำคัญของการรักษา คือ “กำลังใจและความร่วมมือดีที่ของผู้ป่วย” รวมทั้งของญาติผู้ดูแล นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แนะแนวทางการตั้งรับสำหรับผู้ที่พบตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ดังนี้ “ตั้งสติ”และยอมรับความจริง การมีสติจะช่วยให้ผู้ป่วยมองทุกอย่างอย่างตรงไปตรงมา และรู้ว่าตนเองจะต้องทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้หายจากมะเร็ง แน่นอนว่าผู้ป่วยมักมีคำถามมากมายเกี่ยวกับโรคนี้ ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาคุณหมอเมื่อสงสัย ไม่คิดไปเอง ไม่วิตกเกินกว่าเหตุ ควรสอบถามและปรึกษาคุณหมอทุกอย่างเพื่อจะได้มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเอง ให้สามารถปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง และรักษามะเร็งให้หายขาด “รู้จักชนิดมะเร็งที่เป็น”ต้องรู้ว่าเป็นมะเร็งชนิดอะไร อยู่ในระยะไหน มีการแพร่กระจายไปที่ไหนหรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยหาข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างถูกต้อง […]
น้ำเอนไซม์ สับปะรด ต้านมะเร็งระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
น้ำเอนไซม์ สับปะรด ต้านมะเร็งระบบสืบพันธุ์เพศหญิง น้ำเอนไซม์ ถือเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพของชาวชีวจิตอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้น้ำอาร์ซี ซึ่งการจำได้เครื่องดื่มแสนดีนี้ เราต้องคั้นเอาน้ำสดๆ ด้วยวิธีที่ถูกต้องเท่านั้น เพราะเอนไซม์จะเปลี่ยนสภาพหรือถูกทำลายเมื่อได้รับความร้อนจัด กระแสไฟฟ้า กระแสแม่เหล็ก หรืออาจถูกเอนไซม์ตัวอื่นๆ ทำลาย ดังนั้น หากนำผักผลไม้ไปใส่เครื่องปั่นก็จะถูกกระแสไฟฟ้าทำลาย หากเคี้ยวสดๆ เอนไซม์ในผักผลไม้ก็จะถูกเอนไซม์ในปากทำลาย สับปะรดเป็นผลไม้ที่มีให้กินได้ตลอดปี ราคาไม่แพง หาซื้อได้ทั่วไปตามแผงขายผลไม้ แต่มีน้อยคนที่รู้ว่าผลไม้ชนิดนี้มีคุณสมบัติต้านมะเร็งระบบสืบพันธุ์ในเพศหญิงได้ เภสัชกรหญิงกฤติยา ไชยนอก สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า สับปะรด 100 กรัมให้พลังงานประมาณ 50 กิโลแคลอรี สารสำคัญที่พบในสับปะรดคือสารในกลุ่มไฟโตเอสโทรเจน, ไอโซฟลาโวน, ลิกแนน, ฟิโนลิก, กรดซิตริก, กรดมาลิก, วิตามินต่างๆ และเอนไซม์ชื่อโบรมีเลน การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า น้ำคั้นจากสับปะรดมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระอย่างอ่อน มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ต้านการอักเสบ และยับยั้งการเกิดมะเร็ง อีกทั้งมีเอนไซม์โบรมีเลนซึ่งมีฤทธิ์ย่อยโปรตีนและช่วยเพิ่มภูมิต้านทานมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ช่วยย่อยอาหาร และมีฤทธิ์ลดอาการบวมและการอักเสบได้อีกด้วย COOKING TIPS นำสับปะรดสดมาล้างให้สะอาดและหั่นให้ได้ 200 […]
เพศชายเชื้อสายจีน ต้องระวัง มะเร็งหลังโพรงจมูก
เพศชายเชื้อสายจีน ต้องระวัง มะเร็งหลังโพรงจมูก มะเร็งหลังโพรงจมูก พบในผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ เพศชาย ร้อยละ 3.6 โดย นายแพทย์ประเสริฐ เลิศสงวนสินชัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า มะเร็งชนิดนี้อยู่ในตำแหน่งที่เป็นจุดอับ ตรวจพบได้ยากสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วๆ ไป เพราะมีจุดกำเนิดที่เยื่อบุผิวรอบ Rosenmuller Fossa ซึ่งอยู่ด้านหลังของโพรงจมูก ทำให้ผู้ป่วยมาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามไปมาก และส่วนใหญ่จะแพร่กระจายลุกลามเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองแล้ว บางรายก็แพร่กระจายไปทางเส้นเลือดดำ ไปสู่กระดูก ปอด และตับ ในระยะแรกมีอาการน้อยมากหรือไม่มีเลย ถ้ามีอาการคือโรคลุกลามไปมากแล้ว โดยคลำพบก้อนที่คอโต หูอื้อ ได้ยิน เสียงดังหรือปวดหูมากผิดปกติ แน่นคัดจมูก มีเลือดออก มองเห็นภาพไม่ชัดหรือเห็นภาพช้อน หนังตาตก การกลอกตาผิดปกติ กล้ามเนื้อตาเป็นอัมพาต บางรายมีอาการผิดปกติของเส้นประสาทสมอง และอาการอื่นๆ เช่น ปวดหัว งง วิงเวียน ปัจจัยเสี่ยงโรคดังกล่าวมี 7 ข้อ โดย นายแพทย์ธนเดช เดชาพันธุ์กุล ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระบุไว้ดังนี้ […]
ลิ้นเป็นแผลบ่อยๆ เตือนไว้เลย โปรดระวัง มะเร็งลิ้น
ลิ้นเป็นแผลบ่อยๆ เตือนไว้เลย โปรดระวัง มะเร็งลิ้น โรคมะเร็งลิ้น เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งช่องปากที่มีความรุนแรง และมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยค่อนข้างมาก โดยสาเหตุหลักของการเกิดโรคมาจากพฤติกรรมสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาถึงพฤติกรรมการเคี้ยวหมาก และการมีแผลบริเวณลิ้นเรื้อรัง ซึ่งอาจจะมีส่วนทำให้เกิดโรคมะเร็งลิ้นได้ แพทย์เฉพาะทางด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา อนุสาขาด้านศัลยกรรมโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ โรงพยาบาลเวชธานี อธิบาย “ลิ้น” เป็นอวัยวะสำคัญในการรับรสชาติ การรับประทานอาหารและการพูด และเป็นอวัยวะที่สามารถเกิดมะเร็งได้เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ หรือที่เรียกว่า “มะเร็งลิ้น” โดยโรคมะเร็งลิ้น จัดเป็นโรคมะเร็งในช่องปากที่พบบ่อยที่สุด หากไม่ได้รับการรักษาอาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างรุนแรง อาการแสดงที่ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคมะเร็งลิ้น ได้แก่ มีก้อน เจ็บ หรือมีแผลที่ลิ้นเรื้อรังนานประมาณ 2–4 สัปดาห์ขึ้นไป หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที เนื่องจากหากพบว่าเป็นโรคมะเร็งลิ้นตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โอกาสในการรักษาหายมีมากกว่า หลักการวินิจฉัยของโรคมะเร็งลิ้น เบื้องต้นแพทย์จะตรวจดูลักษณะและขนาดของก้อนหรือแผล และตัดตัวอย่างชิ้นเนื้อตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อให้ได้ผลตรวจยืนยันอย่างทางการ รวมถึงอาจมีการทำ CT Scan หรือ MRI ร่วมด้วย เพื่อดูขนาดของก้อนเพิ่มเติม การรักษาโรคมะเร็งลิ้น จะขึ้นกับระยะของตัวโรคและสุขภาพของผู้ป่วย โดยส่วนใหญ่จะเริ่มด้วยการผ่าตัดเป็นหลัก จากนั้นจะดูความรุนแรงของโรคจากผลชิ้นเนื้อหลังการผ่าตัดประกอบว่าผู้ป่วยควรได้รับรังสีรักษา […]
มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบที่หลายคนมองข้าม
มะเร็งกระเพาะอาหาร ภัยร้ายที่แฝงตัวเงียบที่หลายคนมองข้าม พฤติกรรมของคนเริ่มมีการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์มากขึ้นในปัจจุบันนี้ เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าอาหารที่ไม่ได้ผ่านการทำด้วยตนเองมีคุณภาพดีพอ เพราะในยุคที่เร่งรีบในการใช้ชีวิตทำให้เราลืมนึกถึงเรื่องคุณภาพของการรับประทานไป ประทานอาหารปิ้งย่าง รมควัน หมักดอง อาหารเค็มจัด หรืออาหารที่ไม่สะอาด เมื่อทานเป็นประจำและติดต่อเป็นเวลายาวนาน คุณอาจคาดไม่ถึงว่ากำลังเพิ่มพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อมะเร็ง โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร(Gastric cancer ) เป็นโรคที่ไม่มีอาการในระยะแรก กว่าจะทราบก็เกิดอาการรุนแรงและลุกลามไปตามอวัยวะใกล้เคียง เป็นมะเร็งที่พบไม่บ่อยในคนไทยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากวิถีชีวิตที่เร่งรีบและการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกหลักอนามัย จากสถิติโรคมะเร็งทั่วโลก ในปัจจุบัน โรคมะเร็งกระเพาะอาหารพบได้บ่อยเป็นลำดับที่ 6 พบว่าเพศชายเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าเพศหญิง ประเทศที่มีอุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารสูง ได้แก่ ประเทศจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และประเทศในแถบเอเชีย ซึ่งตรงข้ามกับประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา และในทวีปยุโรป ที่มีอุบัติการณ์ของโรคนี้ค่อนข้างต่าง สำหรับในประเทศไทย อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารพบได้เท่ากับ 4.1 ราย และ 2.5 ราย ต่อประชากรแสนราย ในเพศชายและเพศหญิง ตามลำดับ ซึ่งมะเร็งกระเพาะอาหาร เกิดจากการเจริญเติบโตผิดปกติและไม่สามารถควบคุมได้ของเซลล์เยื่อบุกระเพาะอาหาร จนแพร่กระจายไปสู่อวัยวะข้างเคียง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกบริเวณของกระเพาะอาหาร ซึ่งมีบางตำแหน่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหาร สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคมะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนสารก่อมะเร็ง เช่น อาหารแปรรูป และอาหารปิ้งย่าง รวมถึงมีปัจจัยส่งเสริมความเสี่ยงของการเกิดโรค […]
ดูแลผิวหนังอย่างไรดี หลังเข้ารับการ ฉายรังสี รักษาโรคมะเร็ง
ดูแลผิวหนังอย่างไรดี หลังเข้ารับการ ฉายรังสี รักษาโรคมะเร็ง การรักษาโรคมะเร็งในปัจจุบัน ใช้การผสมผสานกันหลายวิธี ทำให้การรักษาด้วยการ ฉายรังสี เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการรักษาโรคมะเร็งมากขึ้น โดยอาศัยหลักการที่ว่าการฉายรังสีไปยังเนื้อเยื่อของเนื้องอกหรืออวัยวะใดๆ ก็ตามซึ่งเป็น เนื้อเยื่อที่มีชีวิต รังสีจะทำให้เกิดการทำลายดีเอ็นเอ (DNA) ของเซลล์เนื้องอกโดยตรงทำให้เกิดการตายและการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและสรีระวิทยาของเซลล์เนื้องอกนั้น การดูแลผิวหนังบริเวณที่ได้รับการฉายรังสี 1. ห้ามลบเส้นบริเวณที่ฉายรังสีที่แพทย์ขีดไว้ เพราะถ้าเส้นลบแพทย์จะต้องขีดใหม่ ทำให้เสียเวลาในการรักษา อย่าขีดเส้นที่ลบเลือนด้วยตัวเอง 2. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะ อาจมีอาการผมร่วง ไม่ควรสระผม ให้ขอคำแนะนำจากพยาบาล ก่อนห้ามใช้น้ำมันใส่ผม หรือผลิตภัณฑ์ทาผมหรือแว็กซ์ทาบริเวณที่ฉายรังสี ถ้ารู้สึกคันศีรษะ อาจใช้น้ำมันมะกอกทา ส่วน อาการผมร่วง ผมจะขึ้นใหม่ได้ภายหลังการรักษาสิ้นสุดแล้ว 2-3 เดือน 3. หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดจัด หรือการสัมผัสบริเวณที่ฉายรังสีโดยตรงกับความร้อนหรือความเย็น ควรสวมหมวกหลวมๆ หรือกางร่ม 4. ผู้ป่วยที่ได้รับการฉายรังสีบริเวณลำคอ ผิวหนังอาจมีสีแดง แห้งตึง เกิดอาการคัน ดำคล้ำ และตกสะเก็ด หรือแตกเป็นแผล ห้ามถู แกะ เกา ควรสวมเสื้อหลวมๆ นุ่มๆ ที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติ […]
เทคนิค กินต้านมะเร็ง 5 ชนิด
เทคนิค กินต้านมะเร็ง 5 ชนิด มะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ และ มะเร็งหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร แค่เลือกกิน เราก็ลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งได้ ซึ่งวิธี กินต้านมะเร็ง องค์กรการวิจัยโรคมะเร็งและ American Cancer Society ได้แนะนำการกินอาหารและกิจกรรมที่ช่วย ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง ดังนี้ กินอาหารที่เป็นผักผลไม้อย่างน้อย 5 จานต่อวัน และเพิ่มอาหารจำพวกถั่วและธัญพืชในอาหารแต่ละมื้อ กินอาหารที่มีไขมันและเกลือต่ำ รักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาทีเป็นประจำทุกวัน จำกัดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เก็บรักษาและเตรียมอาหารอย่างปลอดภัย ไม่ใช้ยาสูบในทุกรูปแบบ การดูแลตัวเมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งและการป้องกันการลุกลามของโรคมะเร็ง จากการศึกษาพบว่าสารอาหารต้านมะเร็งสามารถช่วยป้องกันการลุกลามของมะเร็งได้ด้วยโดยการศึกษาพบ ถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและโรคมะเร็งดังต่อไปนี้ มะเร็งปอด การกินอาหารที่เป็นผักผลไม้อย่างน้อย 5 จานต่อวันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งปอด การกินอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนจะเพิ่มโอกาสการเป็นโรคมะเร็งปอดในกลุ่มผู้ชายที่สูบบุหรี่ มะเร็งต่อมลูกหมาก การกินอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว/ไขมันจากสัตว์สูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการลุกลามของมะเร็งต่อมลูกหมาก การกินอาหารที่มีวิตามินอีสูงจะช่วยลดความเสี่ยงในการตายด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก โดยทั่วไปการกินอาหารที่มีสารเบต้าแคโรทีนจะช่วยลดความเสี่ยงในการตายด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากแต่อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนจะเพิ่มโอกาสและความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งใน กลุ่มผู้ชายที่สูบบุหรี่ มะเร็งเต้านม การกินอาหารที่ให้พลังงานและมีไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งซ้ำ การดื่มเบียร์จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งซ้ำ และการตาย การมีไขมันส่วนเกินมากจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งซ้ำ การขาดการออกกำลังกายจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งซ้ำ ความสัมพันธ์ระหว่างถั่วเหลืองกับโรคมะเร็งเต้านมกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา มะเร็งลำไส้ใหญ่ การกินอาหารจำพวกธัญพืชสูงเป็นประจำเป็นระยะเวลานานจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็น […]
กินให้เป็น เพื่อความแข็งแรง หลังจาก ฉายแสงและให้เคมีบำบัด
กินให้เป็น เพื่อความแข็งแรง หลังจาก ฉายแสงและให้เคมีบำบัด หลังจาก ฉายแสงและให้เคมีบำบัด ผู้ป่วยจะต้องกินอย่างไร คงเป็นเรื่องที่ผู้ดูแลและผู้ป่วยสงสัย วันนี้ เรามีวิธีกินที่จะช่วยฟื้นฟูจากการรักษามะเร็งมากบอกต่อ ผู้ป่วยมะเร็งควรมีความรู้ในการกินอาหารเพื่อช่วยให้แข็งแรง ช่วยให้เคมีบำบัดออกฤทธิ์ฆ่ามะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ รักษาได้ต่อเนื่อง ช่วงนี้ผู้ป่วยอาจได้รับคำบอกให้งดเนื้อสัตว์ทุกชนิดงดน้ำตาล รู้สึกสับสน คู่มือนี้จะคลายความสับสนให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจจริงๆ ว่า กินอย่างไรช่วยให้สู้มะเร็งได้อย่างแท้จริง อาการที่เกิดขึ้นในช่วงรับเคมีบำบัดหรือฉายแสงจะบรรเทาได้ อาหารมีส่วนสำคัญช่วยฟื้นฟูร่างกาย ดังคำแนะนำต่อไปนี้ 1. ทำอย่างไร..เมื่อไม่อยากกิน ถ้าเบื่ออาหาร กินไม่ลง กินอะไรก็ไม่อร่อย หากไม่กินจะมีสุขภาพแย่ลงจนแพทย์ไม่สามารถให้เคมีบำบัดต่อเนื่องได้ ดังนั้นผู้ป่วยควรลองปรับการกินเป็นกินครั้งละน้อย แต่บ่อยครั้งแทน หรือลองจัดจานอาหารให้ดูน่ากิน จัดสิ่งแวดล้อมที่สร้างบรรยากาศให้น่ากินมากขึ้น กินไม่ลง กินอะไรก็ไม่อร่อย อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้ รับรสชาดเพี้ยน – เมื่อรับเคมีบำบัดอาจทำให้ลิ้นรับรสเพี้ยน จมูกรับกลิ่นเปลี่ยนไป บางทีก็รู้สึกอาหารมีรสเค็มจัด หวานจัด หรือบางทีก็ไม่รู้รสเลย จะเป็นแค่ชั่วคราวอย่าเพิ่งหงุดหงิด คำแนะนำ ให้ลองปรุงรสด้วยมะนาวหรือผักสมุนไพรจะช่วยชูรสชาดให้ดีขึ้นได้ อิ่มเร็ว – คำแนะนำ ต้องกินอาหารที่มีคุณค่าโภชนาการครบถ้วน 1. กินครั้งละน้อย แต่บ่อยขึ้นเป็น 5-6 มื้อ 2. กินอาหารที่มีโปรตีนสูง […]
หนุ่มเล็ก หนุ่มใหญ่ต้องรู้ การตรวจคัดกรอง มะเร็งในผู้ชาย นั้นเป็นอย่างไร
หนุ่มเล็ก หนุ่มใหญ่ต้องรู้ การตรวจคัดกรอง มะเร็งในผู้ชาย นั้นเป็นอย่างไร การตรวจคัดกรอง มะเร็งในผู้ชาย นั้นมีความสำคัญมาก โดยมะเร็งที่เจอบ่อยในผู้ชาย ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งลำไส้ มะเร็งปอด ดังนั้น การตรวจสุขภาพก็จะเป็นตามแนวทางนี้ มะเร็งต่อมลูกหมาก จริงๆ การตรวจคัดกรองในโรคนี้ก็ยังมีการถกเถียงกันเพราะมีหลายการศึกษาที่ระบุว่าการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากนั้น ไม่ได้ช่วยเพิ่มการมีชีวิตอยู่รอด แถมเมื่อตรวจค่าผิดปกติและต้องไปเจาะตรวจชิ้นเนื้อ พบว่าประมาณ 75% พบว่าไม่ได้เป็นมะเร็ง ผู้ป่วยก็จะเจ็บตัวเปล่าๆ แต่ถ้าอยากตรวจก็สามารถทำได้โดยการตรวจหาค่า PSA และการพบแพทย์เพื่อตรวจขนาดต่อมลูกหมากทางทวาร (rectal examination) โดยมักแนะนำในคนที่มีความเสี่ยงเช่น อายุ 50 ปีขึ้นไป หรือมีประวัติการเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากในครอบครัว มะเร็งตับ เรามักจะตรวจในผู้ป่วยที่โรคตับอักเสบเรื้อรังจากเชื้อไวรัสตับอักเสบBและC ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง โดยการหาเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ (liver function test) ค่าของ AFP และการอัลตราซาวน์ตับ หรือถ้ามีการสงสัยอะไรก็อาจส่งตรวจเพิ่มเติมเช่นการทำMRI มะเร็งลำไส้ เริ่มตรวจที่อายุ 50 ปี แต่ถ้ามีภาวะบางอย่างที่อาจมีผลเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ ก็จะแนะนำตรวจก่อนอายุ 50 ปี เช่น […]
ภารกิจพิชิต มะเร็งตับ : ภัยเงียบอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตคนไทย
ท่ามกลางความรุนแรงของโรคระบาดโควิด-19 ประเทศไทยยังต้องเผชิญกับภาวะสุขภาพจากโรคมะเร็งที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งตับ ที่เป็นโรคร้ายที่คร่าชีวิตของคนไทยสูงเป็นอันดับ 1 ล่าสุด
รักษามะเร็ง ด้วยหลัก “ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและคุณภาพชีวิต
รักษามะเร็ง ด้วยหลัก “ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและคุณภาพชีวิต การ รักษามะเร็ง ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความพร้อมของ “สภาพจิตใจ” ของผู้ป่วยนำไปสู่ “ความร่วมมือ” ในการรักษาซึ่งเป็น “หัวใจ” สำคัญของการเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษา ส่วนใหญ่ผู้ป่วยที่ทราบว่าตนเองป่วยเป็นมะเร็งในทุกระยะมักเกิดอาการทางด้านจิตใจ และอารมณ์ได้หลากหลายพร้อม ๆ กัน อาการที่พบบ่อยคือ การกลัว การไม่เชื่อ การปฏิเสธ การโกรธ การสูญเสีย การรู้สึกผิด การวิตกกังวล การเศร้าหมอง หรือการซึมเศร้า โดยอาการเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยทุกราย ซึ่งนับเป็นเรื่องปกติที่ญาติผู้ป่วย และผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจ และดูแลเอาใจใส่ เพื่อก้าวสู่ภาวะการณ์ปรับตัว แต่หากผู้ป่วยไม่สามารถปรับตัวได้ อาการต่าง ๆ เหล่านี้ อาจส่งผลกระทบต่อความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ กลายเป็นอุปสรรคในการรักษา ดูแลทั้ง 5 มิติ การสร้างพื้นฐานการดูแลสุขภาพองค์รวม พร้อมกับกระบวนการรักษามะเร็ง “การดูแลสุขภาพองค์รวม” ที่ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงการไม่มีโรคหรือการไม่เจ็บป่วย แต่หมายถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วย ซึ่งพวกเขาจะต้องสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข โดยนายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า เน้นแนวทางการรักษาแบบ “ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง” จากมิติภายในไปสู่มิติภาพนอก สู่ความเข้าใจความต้องการของผู้ป่วยอย่างแท้จริง เพื่อการมีสุขภาพจิตใจที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง พร้อมเข้าสู่กระบวนการรักษา ภายใต้การดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ใน 5 มิติ ซึ่งประกอบด้วย จิตวิญญาณ การมีความสุขที่เกิดจากความเข้าใจความเป็นจริงของชีวิต ความเชื่อต่าง […]
ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งเต้านม เกี่ยวข้องกันจริงหรือ
ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งเต้านม เกี่ยวข้องกันจริงหรือ เรามีคำตอบมาบอก ยาคุมกำเนิด หากกินมากๆ จะทำให้เป็นมะเร็งเต้านม หลายๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้าง ซึ่งผศ. พญ.อาบอรุณ เลิศขจรสุข มีข้อเท็จจริงที่อยากเฉลย ผศ. พญ.อาบอรุณ เลิศขจรสุข ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การกินยาเม็ดคุมกําเนิด พบว่า เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมแต่น้อยมากค่ะ ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในผู้ที่เริ่มใช้ตั้งแต่วัยรุ่น แต่พบว่าความเสี่ยงจะลดลงเรื่อยๆ หลังหยุดกิน จนเท่าคนปกติเมื่อหยุดกินเกิน 10 ปี ดังนั้น ผู้ที่กินยาเม็ดคุมกําเนิดอยู่ ควรตรวจเต้านมเป็นอย่างน้อยด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ หากพบก้อนเนื้อหรือถุงน้ำควรปรึกษาแพทย์ หากเป็นถุงน้ำหรือเนื้องอกธรรมดาที่ไม่ใช่มะเร็งก็ยังสามารถใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนต่ำได้ ภายใต้การดูแลของแพทย์ค่ะ จริงๆ แล้วข้อดี คือแม้จะเสี่ยงมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ช่วยป้องกันมะเร็งรังไข่กับมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ดีมากๆ นอกจากจะช่วยคุมกําเนิดแล้ว ประโยชน์ของยาเม็ดคุมกําเนิดยังมีอีกมากมาย ได้แก่ ลดอาการปวดประจําเดือน ลดปริมาณประจําเดือน ทําให้ประจําเดือนมาสม่ำเสมอ ลดอาการก่อนมีรอบเดือน และบางชนิดยังช่วยต้านสิว ต้านฝ้ารักษากลุ่มอาการ polycystic ovarian syndrome ที่ไข่ไม่ตกสิวผิวมันจะมีขนดก นอกจากนี้ ยังมีข้อดีอีกคือ เมื่อหยุดยาคุมแล้ว เดือนต่อไปโอกาสตั้งครรภ์เท่าคนปกติได้เลย ไม่ต้องรอฤทธิ์ยาหมดแบบยาฉีดค่ะ บทความอื่นที่น่าสนใจ UPDATE กฎเหล็กป้องกันมะเร็งเต้านม […]
รู้หรือไม่ มะเร็งตับ ดับชีวิตคนไทย 73 รายต่อวัน พุ่งสูงกว่าโควิด 26 เท่า
มะเร็งตับ ดับชีวิตคนไทย 73 รายต่อวัน ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เป็นวิกฤตสุขภาพที่ผู้คนทั่วโลกรวมถึงชาวไทยตื่นกลัวและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นทุกวัน ทว่าอีกหนึ่งวิกฤตสุขภาพที่ ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อชีวิตคนไทยและเศรษฐกิจของประเทศมานานอย่างต่อเนื่อง คือ โรค มะเร็งตับ ซึ่งถือเป็นปัญหาสุขภาพระดับชาติที่คร่าชีวิตชายไทยเป็นอันดับ 1 และหญิงไทยเป็นอันดับ 2 อีกทั้ง ประเทศไทยยังติดอันดับ 5 ของโลกที่พบผู้ป่วยมะเร็งตับสูงสุด โดยมีอัตราของการพบผู้ป่วยมะเร็งตับอยู่ที่ 21 รายต่อประชากร 100,000 คน ข้อเท็จจริงเรื่องโรคกับคนไทย จากความร้ายแรงของวิกฤตสุขภาพทั้งสองโรค เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันจะพบว่า ตลอดหนึ่งปีที่ผ่านมา (1 มิถุนายน 2563 – 1 มิถุนายน 2564) ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่จากไวรัสโควิด-19 อยู่ที่ 156,370 ราย และมีตัวเลขผู้เสียชีวิตที่ 1,012 ราย ในขณะที่ปี 2563 เพียงปีเดียว พบว่าตัวเลขผู้ป่วยมะเร็งตับรายใหม่อยู่ที่ 27,394 ราย แต่ทว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจากมะเร็งตับกลับอยู่ที่ 26,704 คน หรือคิดเป็น 73 คนต่อวัน โดยเฉลี่ย […]
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง หากรู้ก่อน รักษาหายขาดได้
โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รู้ก่อน รักษาหายขาดได้ โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ถือเป็นโรคที่พบได้มากเป็นอันดับหนึ่งในมะเร็งทางโลหิตวิทยา กับการพบจำนวนเคสใหม่กว่า 6,000 รายต่อปี คิดเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตกว่า 3,000 รายต่อปี ในประเทศไทย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็เช่นเดียวกับมะเร็งชนิดอื่นๆ อีกหลายประเภท ที่หากรู้เร็ว ก็มีสิทธิ์รักษาหาย รู้จักมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นมะเร็งเม็ดเลือดชนิดหนึ่ง เกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) ที่ทำหน้าที่สร้างระบบภูมิคุ้มกัน โดยเซลล์เหล่านี้พบได้ในต่อมน้ำเหลือง ม้าม ไธมัส ไขกระดูกและส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย มะเร็งต่อมน้ำเหลืองแบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ Hodgkin Lymphoma (HL) และ Non–Hodgkin Lymphoma (NHL) โดย NHL เป็นชนิดที่พบได้มากที่สุดในไทยและทั่วโลก ด้วยอุบัติการณ์ที่มากถึง 4 ใน 5 รายของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ปัจจัยเสี่ยงเกิดจาก นพ.ชวลิต หล้าคำมี แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโลหิตวิทยา โรงพยาบาลยันฮี กล่าวว่า “มะเร็งต่อมน้ำเหลืองเป็นโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม แต่ความเสี่ยงในการเกิดโรคอาจพบได้ หากผู้ป่วยมีประวัติสัมผัสกับสารเคมีเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตาม มะเร็งต่อมน้ำเหลืองนับเป็นมะเร็งที่มีโอกาสหายขาดสูง ดังนั้น การสังเกตอาการนับเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก เพราะการได้รับวินิจฉัยในระยะเริ่มต้นจะช่วยเพิ่มโอกาสในการหายขาดให้กับผู้ป่วยได้ โดยอาการที่ต้องสงสัยของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองคือ มีก้อนโตขึ้นตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ […]