ไตรลักษณ์
อุบายการพิจารณาด้วยปัญญา ธรรมะโดย หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
อุบายการพิจารณาด้วยปัญญา ธรรมะโดย หลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ – ขอทำความเข้าใจกับนักปฏิบัติดังนี้ การพิจารณาด้วยปัญญานั้น จะพิจารณาได้ทุกอิริยาบถ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน ก็ใช้ปัญญาพิจารณาได้ทั้งนั้น และก็เป็นอุบายการพิจารณาอย่างเดียวกัน ส่วนอุบายที่นำมาพิจารณานั้นต้องอาศัยเหตุการณ์ที่เป็นหลักความจริงและพิจารณาให้ลงสู่ไตรลักษณ์ทุกครั้งไป การพิจารณากายต้องยกเอาธาตุ 4 ขันธ์ 5 มาเป็นต้นเหตุ และอาศัยสัญญา สมมติเป็นแนวทางของปัญญาไปก่อน ถ้าไม่อาศัยสัญญาและสมมติเป็นเหตุแล้ว การใช้ปัญญาก็จะขยายออกไปไม่ได้ เหมือนกันกับเด็ก ถ้าไม่มีที่เกาะพอพยุงตัวช่วยแล้ว การยืน การเดิน ก็จะล้มตัวได้ง่าย ถ้ามีที่เกาะพอพยุงช่วยตัวเองได้ เด็กก็จะค่อย ๆ ฝึกตัวเองให้ยืนเดินไปได้จนกว่ากำลังกายและความชำนาญพร้อมแล้ว ถึงจะไม่มีสิ่งอื่นช่วยก็ลุกเดินไปได้โดยกำลังตัวเองอย่างคล่องตัวนี้ฉันใด การฝึกปัญญาในช่วงแรกนั้น ก็ต้องอาศัยสัญญาและสมมติมาเป็นหลัก เพื่อเป็นสนามฝึกให้ปัญญาเกิดความเคยชินและชำนาญในการค้นคิดให้ถูกกับความเป็นจริง เรียกว่าจริงสมมติฉันนั้น ถึงจิตยังไม่ยอมรับความจริงตามปัญญาก็ตาม การพิจารณาก็ต้องค้นคิดกันไปอย่างต่อเนื่อง เหมือนเด็กที่เรียนหนังสือในขั้นต้น เด็กยังไม่เข้าใจในหลักการและยังไม่เข้าใจในการสอนของครู แต่ครูก็ต้องสอน อธิบายวิชาต่าง ๆ ให้เด็กฟังอย่างซ้ำ ๆ ซาก ๆ หลายครั้งหลายหนจนเด็กเกิดความเคยชิน ความรู้และวิชานั้น ๆ ครูสอนไปอย่างไร ความเข้าใจของเด็กก็จะค่อยซาบซึ้งเข้าไปในหัวใจเด็กได้นี้ฉันใด การใช้ปัญญาสอนจิตก็ต้องอาศัยความหมั่น […]
“อนัตตา” สภาวธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เราทั้งหลายไม่ควรยึดติด
” อนัตตา ” สภาวธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เราทั้งหลายไม่ควรยึดติด พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าไม่มีสิ่งใดหนีพ้นไปจากไตรลักษณ์ได้ หมายความว่าทุกสิ่งล้วนตกอยู่ในสามัญลักษณะ 3 ประการ ได้แก่ อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องนี้เป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ หลายท่านอาจสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนเรื่องธัมมจักกัปปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์มิใช่หรือ โกณฑัญญะยังเกิดมีดวงตาเห็นธรรม และบวชเป็นพระภิกษุในที่สุดเลย ขอรับรองว่าข้อมูลเหล่านี้ถูกจริง แต่ตั้งข้อสังเกตบ้างไหมว่า ธัมมจักกัปปวัตนสูตรกล่าวเพียงว่าโกณฑัญญะบรรลุธรรม แล้วปัญจวัคคีย์ที่เหลือจะบรรลุธรรมตอนไหน ซึ่งคำตอบมีอยู่ใน “อนัตตลักขณสูตร” พระพุทธเจ้าตรัสเรื่องขันธ์ 5 เป็นอนัตตา (ขันธ์ 5 อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ) คำสอนนี้ทำให้ปัญวัคคีย์ที่เหลือบรรลุธรรม ทำไมพระองค์จึงตรัสเช่นนั้น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) แสดงความหมายของอนัตตาไว้ว่า “ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน” หมายความว่า อนัตตา เป็นสิ่งตรงข้ามกับคำว่า “อัตตา” ซึ่งหมายถึง ตัวตน หรือที่ท่านพุทธทาสภิกขุมักเรียกว่า “ตัวกูของกู” อนัตตาจึงหมายถึง “ไม่ใช่สิ่งที่เป็นของเรา” สุนทร ณ […]
ศิลปะของการเรียนรู้ตนเอง โดย หลวงพ่อโพธินันทะ
ศิลปะของการเรียนรู้ตนเอง โดย หลวงพ่อโพธินันทะ เป้าหมายของการปฏิบัติภาวนาคือ การบรรลุถึงบรมธรรมสูงสุด ทั้งในความมืดและสว่าง ทั้งความสับสนวุ่นวายและความสงบศานติ จะต้องรู้ชัดต่อบรมธรรมให้ชัดเจนอยู่เสมอ และถ้าปรารถนาให้สัจธรรมแสดงตนอยู่ยาวนานก็จะต้องคอยเฝ้ารักษาจิตประภัสสรของตนเองอยู่เสมอ ๆ “จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี” ปราชญ์ย่อมตามรักษาจิตของตน ศิลปะของการเรียนรู้ตนเอง พระพุทธองค์มุ่งชี้แนะให้มนุษย์บรรลุถึงความหลุดพ้นจากความยึดถือทั้งปวง สำเร็จมรรคผล เข้าถึงบรมธรรมอันสมบูรณ์ รู้แจ้งในความสมบูรณ์แห่งการดำเนินชีวิตด้วยศีล สมาธิ ปัญญา ถึงพร้อมในความบริบูรณ์แห่งสัจธรรมในการดำเนินชีวิตในชีวิตประจำวัน “วันนี้อากาศร้อนจัง” ปรมาจารย์ตั๊กม้อบอกว่า “อยากเห็นปลาให้มองน้ำ อยากเป็นพุทธะให้เฝ้ามองจิตใจ” เป็นการชี้แนะในการปฏิบัติที่ดีมาก แต่อย่าแสวงหาความเป็นอนัตตาด้วยการรับรู้อย่างแบ่งแยกแล้วใช้ความคิดระดับเหตุผลพิจารณาหาสิ่งที่ตรงข้ามกับความมีตัวตน จิตเดิมที่ยังไม่ได้ปรุงแต่งมันปกติอยู่แล้ว เป็นไปได้ไหมที่เราจะคอยรักษาจิตที่ปกติของเราไว้ ดังนั้นการฝึกฝนหรือปฏิบัติภาวนาก็เพื่อการดำรงอยู่บนวิถีของจิตที่ปกตินี้แหละ มันเป็นการฝึกฝนที่มหัศจรรย์และมีศิลปะอย่างยิ่ง ถ้าเรามีความศรัทธาต่อจิตประภัสสรของเราอย่างแรงกล้า แล้วใช้จิตประภัสสรเป็นฐานของการปฏิบัติภาวนา จึงจะเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องและจะเกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ปัญญาญาณก็จะหยั่งลงสู่ก้นบึ้งของจิตใจ เข้าถึงความเป็นเองแล้วแสดงออกร่วมกับกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอันเป็นวิถีของธรรมชาติแห่งพุทธะ แล้วรู้ชัดในความเป็นองค์รวมของสรรพสิ่งในทุกขณะของการดำรงอยู่ นี่คือ “เอกายนมรรค” นี่คือวิถีของความเป็นเอกภาพของโพธิจิตแห่งพุทธะ เราไม่อาจเข้าถึงความเป็นศิลปะของการดำรงอยู่ได้เลย หากเรายังดำเนินชีวิตด้วยความรู้สึกว่า มีตัวเราเป็นศูนย์กลางของการรับรู้อย่างแบ่งแยก แล้วเห็นสรรพสิ่งแตกต่างกัน นี่คือประเด็นที่สำคัญยิ่งที่เราจะต้องขจัดหรือไปให้พ้นมัน (ผู้รู้-สิ่งที่ถูกรู้ : นามรูป) การศึกษาที่แท้จริง การศึกษาที่แท้จริงจะทำให้เราเข้าใจตัวเองและทำให้เกิดปัญญาญาณ เข้าใจโลกจากประสบการณ์จริง ด้วยการรู้แจ้งชัดว่าสิ่งที่เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตของสรรพสัตว์คือสุญญตา […]
ชมพู่ – ภัทราวรรณ พานิชชา กับการมองตามความเป็นจริงด้วยไตรลักษณ์
ชมพู่ – ภัทราวรรณ พานิชชา กับการมองตามความเป็นจริงด้วยไตรลักษณ์ เธอคือพิธีกรรายการ 7 สีช่วยชาวบ้าน ที่มีดีกรีเป็นถึงมิสวีลแชร์ ชมพู่ – ภัทราวรรณ พานิชชา เธอบอกว่าชีวิตนี้ของเธอโชคดีถึงสองครั้งด้วยกัน และได้ทำในสิ่งที่เธอรักคือการเป็นพิธีกร เธอบอกกับเราว่า เธอจะไม่รอให้โอกาสเข้ามาหาเธอ แต่เธอเป็นฝ่ายเข้าไปหาโอกาสเสมอ ในวิกฤตชีวิตก็ยังมีความโชคดี “ หลังจากชมพู่ถูกรถชน พอตื่นลืมตาขึ้นมารู้สึกว่า เราโชคดีแล้วนะที่มีชีวิตรอดมาได้ ได้กลับมาเจอหน้าครอบครัวของเราอีกครั้ง อันนี้คือความโชคดีแรก พอรู้ว่าตัวเองต้องพิการ แน่นอนความรู้สึกที่ตามมาคือความเสียใจ ตอนนั้นไม่ต่างจากฟ้าถล่มลงมา สิ่งที่รู้สึกว่าเป็นความโชคดีอันดับสองคือ เรากลายเป็นคนที่มีหัวใจแข็งแกร่งมาก หัวใจดวงนี้ไม่ได้เกิดขึ้นได้เพียงชั่วข้ามคืน แต่เกิดจากการเรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไป เราไม่เคยพูดกับตัวเองว่า “ต่อไปนี้ฉันจะเดินไม่ได้” กลับคิดแต่ว่า “วันหนึ่งฉันจะหาย และฉันจะดีขึ้น “ ที่จริงครอบครัวของชมพู่สอนให้เป็นคนที่เข้มแข็ง คุณย่าและคุณยายเป็นคนที่เลี้ยงดูชมพู่มา เพราะคุณพ่อคุณแม่แยกทางกัน เพราะต้องดูแลตัวเองมาตั้งแต่เด็กเลยกลายเป็นคนที่เข้มแข็ง และรู้สึกว่าพอเราเผชิญกับเหตุการณ์ที่เลวร้ายก็สามารถผ่านพ้นมาได้ด้วยตัวเอง หลังจากประสบอุบัติเหตุมาเราสามารถดูแลตัวเองได้ ตอนเรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เราก็อยู่หอคนเดียว ไปเรียน และทำอะไรด้วยตัวเอง แม้แต่ตอนนี้ชมพู่ก็ขับรถไปทำงานเอง ไปเที่ยว และกินข้าวคนเดียวได้ไม่ต่างจากคนทั่วไป ” […]
การทำงานของไตรสิกขา โดย พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)
การทำงานของไตรสิกขา โดย พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ) ไตรสิกขา ประกอบด้วยองค์ธรรม 3 ประการคือ ศีล สมาธิ และปัญญา การปฏิบัติตามคำสอนนี้ต้องเริ่มต้นจากศีล ไปสมาธิ และปัญญาหรือไม่ วันนี้พระราชญาณกวีจะมาไขความกระจ่างเรื่อง การทำงานของไตรสิกขา ปุจฉา : ไตรสิกขา ประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา องค์ธรรมที่ 2 และ 3 (สมาธิและปัญญา) เป็นองค์ธรรมที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน เพราะทำสมาธิย่อมทำให้เกิดปัญญา แต่ทำไมศีลจึงเป็นองค์ธรรมแรก หรือบันไดขั้นแรกของไตรสิกขา ซึ่งศีลไม่น่าจะทำให้เกิดสมาธิและปัญญาได้เลย วิสัชชนา : สังคมไทยเป็นเมืองพุทธ ศึกษาและรู้จักไตรสิกขามาอย่างยาวนาน พระพุทธศาสนายกย่องไตรสิกขาว่าเป็นคำสอนที่มีความสำคัญมาก ไตรสิกขาเริ่มต้นที่ ศีล สมาธิ และปัญญา จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าไตรสิกขานี้ทำงานแบบขั้นบันได เริ่มจากศีล กลายเป็นสมาธิ พอเป็นสมาธิแล้วจึงเกิดปัญญาตามมา แต่ที่จริงแล้วองค์ธรรมทั้ง 3 นี้ทำงานพร้อมกัน ไม่มีอะไรเริ่มก่อนกัน แต่เป็นการทำงานที่เกิดขึ้นพร้อมกัน ขาดอันใดอันหนึ่งไปก็จะทำงานไม่ได้ จะเปรียบก็เหมือนคอมพิวเตอร์ที่จะต้องมีฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ หรือโทรศัพท์มือถือที่ต้องมีซิมการ์ด […]
เห็นไตรลักษณ์ = เห็นโทษ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
เห็นไตรลักษณ์ = เห็นโทษ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ จิตมีความผูกพันกับกายและใจมากเพียงไร จึงทำให้การปล่อยวางกาย-ใจเป็นไปได้ยากยิ่งนัก เรื่องนี้พระอาจารย์นวลจันทร์เปรียบเทียบไว้อย่างน่าฟังว่า… เห็นไตรลักษณ์ เราอยู่กับกายใจนี้ก็เหมือนว่าเราได้แต่งงานกับกายกับใจแล้ว เรายึดว่ากายนี้เป็นของเรา ใจนี้เป็นของเรา เราจึงต้องดูแลรับผิดชอบเหมือนสามี-ภรรยาที่ต้องรับผิดชอบดูแลกันอย่างดีที่สุด เต็มที่ที่สุดจริงไหม แต่พออยู่มาอยู่ไป เมื่อเราเริ่มเห็นโทษ เห็นภัย เห็นความไม่ดีไม่งามของกาย-ใจ เช่น เห็นไตรลักษณ์ บ่อยขึ้น ๆ เราก็เริ่มรู้สึกว่าชักจะยังไง ๆ อยู่ สุดท้ายจึงเซ็นใบหย่าเสียเลย ไม่เอาแล้วสามีคนนี้ ไม่เอาแล้วภรรยาคนนี้ เมื่อเซ็นใบหย่าเสร็จก็คือเป็นอิสระแล้ว เป็นอิสระจากกาย-ใจ เป็นอิสระจากธาตุขันธ์ แต่จู่ ๆ จะให้จิตเซ็นใบหย่า วางธาตุขันธ์เลยย่อมเป็นไปไม่ได้ จิตต้องเห็นโทษเห็นภัยของขันธ์นี้ก่อน เห็นโทษเห็นภัยของการยึดก่อน เพราะธรรมชาติของการที่เราจะวางสิ่งไหนหรือจะไปจากสิ่งไหน กฎง่าย ๆ คือเราต้องเห็นโทษของสิ่งนั้นก่อน ถ้ายังไม่เห็นโทษก็จะยังไม่ไป ยังอยากจะกำเอาไว้อยู่อย่างนั้น คนเรามักจะกำสิ่งต่าง ๆ ไว้อย่างเหนียวแน่น เช่น ถ้าจะให้ไปจากสามี เราก็ต้องเห็นโทษของสามีก่อน ถ้าไม่เห็นโทษของสามี เราย่อมต้องการจะอยู่กับสามีไปตลอดกาลนานเทอญ อยู่กับสามีไปจนสามีอยู่กับเราไม่ได้ สามีทนไม่ได้ สามีก็ไปเสียเอง […]
เพราะ ” ปล่อยวาง ” ได้จึงจากโลกไปด้วยใจที่ดี เรื่องเล่าจากพระไพศาล วิสาโล
ปล่อยวาง ไม่ได้หมายถึงการละทิ้งไม่ไยดีหรือไม่รับผิดชอบ หากหมายถึงการมีจิตใจเป็นอิสระจากสิ่งเหล่านั้น แม้ยังเกี่ยวข้องอยู่ แต่ก็ไม่สยบมัวเมาในสิ่งเหล่านั้น
ทนได้ก็ทน ทนไม่ได้ก็พ่ายแพ้ไป – สัจธรรมในโลกแห่งการแข่งขัน
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นกติกาของการอดทน ทนได้ก็ทน ทนไม่ได้ ก็พ่ายแพ้ไป ปัญหาหลายอย่าง เป็นเหมือนเครื่องทดลองใจ หรือเป็นแบบฝึกหัดให้เราก้าวข้าม
ไตรลักษณ์ ประตูสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น
ไตรลักษณ์ ประตูสู่หนทางแห่งความหลุดพ้น ไตรลักษณ์ คือ ลักษณะสามประการที่พระพุทธเจ้าทรงสังเกตการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ หลักธรรมนี้จึงเรียกได้ว่าเป็นกฎแห่งธรรมชาติ ผู้พิจารณา อนิจจัง ควรน้อมจิตที่สงบไปดูอารมณ์ที่ปรากฎชัดขณะนั้น ผู้ที่เห็นลมหายใจเข้า-ออกได้ชัดเจนก็จับลมหายใจเป็นสิ่งพิจารณา ส่วนผู้เห็นนามธรรมอื่น ๆ ได้ชัดเจนก็จับลมหายใจเป็นสิ่งพิจารณา ส่วนผู้เห็นนามธรรมอื่น ๆ ได้ชัดก็จับนามธรรมชนิดนั้น ๆ ขึ้นพิจารณา เคยพูดมาแล้วว่า ผู้สำเร็จอานาปานสติจะเป็นผู้มีกำลังจิตมาก มีกำลังความสงบสูง เรียกว่า “สมถยานิก” ผู้ปฏิบัติกลุ่มนี้จะพิจารณาเห็นนามธรรมได้ชัดเจน ควรเริ่มจับนามธรรมที่ปรากฏชัดขณะนั้น มองดูอาการเปลี่ยนแปลงและอาการเกิด-ดับของนามธรรมชนิดนั้น ๆ เช่น เกิดความรู้สึกเอิบอิ่ม เบากาย เบาใจ อย่าปล่อยให้จิตหลงเตลิดไปกับความรู้สึกเอิบอิ่ม ทรงจิตเป็นกลาง ๆ มองดูอาการเอิบอิ่มขณะนั้นอย่างมีสติและปัญญา จะเห็นอาการเอิบอิ่มตามเป็นจริง คือ อาการเปลี่ยนแปลงและเกิด-ดับ เหมือนกระแสน้ำหรือกระแสลม เมื่อเข้าใจธรรมชาติความเอิบอิ่มตามที่เป็นแล้ว ก็จะเข้าใจอารมณ์ต่าง ๆ เหมือนกัน ไม่ว่าอารมณ์ความรู้สึกนั้นจะดีวิเศษขนาดไหนก็มีธรรมชาติเหมือนกัน อดีต – ปัจจุบัน – อนาคตก็เป็นอย่างเดียวกัน พระพุทธองค์จะทรงอุบัติหรือไม่ก็ตาม ธรรมชาติรูปและนามทั้งหมดก็เป็นอย่างนี้คือ อนิจจัง ไม่แน่นอน เกิดขึ้นแล้วก็แตกดับไปทันที ผู้ปฏิบัติที่พิจารณาอย่างนี้ซ้ำแล้วซ้ำอีกก็จะสงสัย […]
ชีวิตคือความไม่แน่นอน โอ๋ - เพชรลดา เทียมเพ็ชร
สมัยเรียนมัธยม โอ๋(เพชรลดา เทียมเพ็ชร เป็น “เด็กกิจกรรม” ตัวยงของโรงเรียนไม่ว่าดรัมเมเยอร์ ถือป้าย แสดงความสามารถพิเศษ ฯลฯ โอ๋ทำหมด