น้อมนำ ” เศรษฐกิจพอเพียง ” ประยุกต์ใช้ให้ชีวิต Good Life มากยิ่งขึ้น

น้อมนำ ” เศรษฐกิจพอเพียง “ ประยุกต์ใช้ให้ชีวิต Good Life มากยิ่งขึ้น เมื่อพูดถึงหลัก เศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่  9 เชื่อว่าสาวๆ หลายคนน่าจะรู้จักกันดี แต่อาจยังไม่เคยนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันแบบจริงจัง และยิ่งช่วงนี้เศรษฐกิจบ้านเรามีสภาพฝืดเคืองจนส่งผลกระทบรอบด้าน ฉะนั้น การพึ่งพาตัวเองด้วยวิถีชีวิตที่เพียงพอ จึงจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างยั่งยืนมากที่สุดนั่นเองค่ะ รู้จักคำนึงถึงความพอประมาณ ตอนนี้สาวๆ หลายคนอาจกำลังลงมือทำอะไรแบบสุดโต่งโดยที่ไม่รู้ตัวอยู่ ซึ่งในบางครั้งก็ดูมากเกินไปจนฟุ้งเฟ้อ หรือในบางครั้งก็ดูน้อยเกินไปจนกลายเป็นความลำบาก ฉะนั้น ลองเปลี่ยนตัวเองให้หันมาเดินทางสายกลาง ทำอะไรพอดีๆ อย่างไม่ต้องเบียดเบียนทั้งต่อตนเองและคนรอบข้างดู อาทิเช่น เรื่องของการกิน การใช้ ที่ไม่จำเป็นต้องมัธยัสถ์เสียจนร่างกายขาดสารอาหาร หรือใช้เงินอย่างประหยัดมากเสียจนเดินทางไปไหนมาไหนไม่สะดวก หัดใช้เหตุและผล มีสาวๆ อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะ ที่อาจยังติดนิสัยใช้จ่ายจนมือเติบ แล้วต้องกลับมานั่งกลุ้มใจภายหลัง เพราะฉะนั้น ก่อนจะคิดหรือตัดสินใจซื้ออะไร ให้รู้จักคำนึงถึงเหตุผลและความจำเป็นในการมีสิ่งเหล่านั้นเสียก่อน ซึ่งก็เพื่อเป็นการค่อยๆ ฝึกนิสัย เมื่อทำไปนานๆ จนชินแล้ว ก็จะสามารถเข้าใจได้เองว่า สิ่งไหนกันแน่ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของเราอย่างแท้จริง สร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง แม้โลกจะหมุนไปอย่างช้าๆ แต่ความเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและฉับไวจนในบางครั้งเราเองก็ไม่ทันได้ตั้งตัว ดังนั้น การหัดสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเอง โดยการวางแผนรองรับความเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น […]

ความพิเศษของ มโนห์ราบัลเล่ต์ กับ พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ที่คุณอาจไม่เคยรู้

เมื่อพูดถึงบัลเล่ต์ หลายคนคงจะมี ภาพจำอยู่ในหัวเป็น สาวน้อยสวมชุดรัดรูป และกระโปรงฟูฟ่อง เต้นรำอยู่บนปลายเท้า และภาพจำนั้น คงจะห่างไกลกับความเป็นไทยเหลือเกิน แต่จริงๆ แล้ว ยังมีบัลเล่ต์สัญชาติไทย เพียงหนึ่งเดียว ที่ชื่อว่า มโนห์ราบัลเล่ต์ อยู่ อีกทั้งการแสดงชุดนี้ ยังถือกำเนิดมาจาก พระอัจฉริยภาพด้านดนตรี ของในหลวงรัชกาลที่ 9 อัครศิลปิน ผู้ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งบทเพลง และบทละคร ให้กับการแสดงชุดนี้ อีกด้วย   ความเป็นมาจากสากลบัลเล่ต์ สู่ความเป็นไทยที่ผสมผสานได้อย่างลงตัว ด้วยพระอัจฉริยภาพของ ในหลวงรัชกาลที่ 9 Timeline บัลเล่ต์สากล คือการแสดงเต้นรำบนปลายเท้า ที่เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศตะวันตก กำเนิดช่วงศตวรรษที่ 15 ในประเทศฝรั่งเศส ปีพ.ศ.2481 การแสดงบัลเล่ต์เป็นที่รู้จักในประเทศไทยโดยมีมาดามสวัสดิ์ ธนบาล ชาวต่างชาติเป็นผู้ทำการสอนในวิทยาลัยนาฏศิลป์ กรมศิลปากร ปีพ.ศ.2502 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทอดพระเนตรการแสดงโนห์ราของคณะ พุ่ม เทวา และสนพระทัยในละครพื้นบ้านชุด สุธนชาตชาดก ปีพ.ศ.2504 ทรงพระราชนิพนธ์ บทเพลง กินรีสวีท (Kinari Suite) […]

พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๙ ผู้ทรงนำสิ่งที่รักมาช่วยพัฒนาประเทศ

ภาพที่เราเห็นกันจนคุ้นตาเวลาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปเยี่ยมเยียนราษฎร หรือเสด็จไปยังที่ใดก็ตาม พระองค์จะสะพายกล้อง

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นเอก กษัตริย์นักจิตรกรรม

“ความเป็นศิลปิน หมายถึง ความสามารถตามธรรมชาติที่จะเห็นความงามและคิดถึงความงาม เมื่อเกิดความคิดแล้ว ก็ต้องอาศัยวิชาความรู้หรือเทคนิค เช่น วิชาช่าง เป็นต้น

ในหลวงรัชกาลที่๙ พระมหากษัตริย์ผู้อ่อนน้อมและไม่ถือพระองค์

ในหลวงรัชกาลที่๙ พระมหากษัตริย์ผู้อ่อนน้อมและไม่ถือพระองค์ เมื่อเอ่ยถึงพระมหากษัตริย์ เราจะต้องคิดถึงชนชั้นสูงที่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง แต่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ใกล้ชิดกับราษฎรที่สุด และยังทรงเป็นต้นแบบของความอ่อนน้อม อ่อนโยน ไม่ถือพระองค์ไม่ว่ากับราษฎรหรือใครก็ตาม ในหนังสือสองธรรมราชา สัมภาษณ์และรวบรวมโดย อัครวัฒน์ โอสถานุเคราะห์ กล่าวถึง ปาฏกถาจากศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ว่า “พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิบัติต่อพระภิกษุสงฆ์ด้วยความคารวะนอบน้อมยิ่งกว่าคนธรรมดาเสียอีก เช่น เวลาบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนพระองค์ ท่านก็ทรงนั่งพับเพียบต่อหน้าพระ เมื่อทรงเข้าไปทักสมณะผู้ใหญ่ ท่านก็ทรงคุกพระชงฆ์ลงไปกับพื้นเพื่อพูดกับพระ  “ครั้งหนึ่งมีภิกษุชราที่ท่านอาราธนามาเดินไม่ไหว พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเข้าไปประคองแขน และไปส่งจนถึงรถ ทรงทำเองแท้ๆ ไม่ได้ใช้มหาดเล็กเลย” พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ไม่เพียงแต่มีพระราชจริยวัตรอันงดงามกับพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น กับราษฎรก็ไม่ต่างกัน เรื่องนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระราชดำรัสแก่คณะบุคคลที่มาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2534 ว่า “…ทรงคุยกับราษฎรนี่ไม่โปรดยืน ทรงถือขนบธรรมเนียมไทยที่ไม่ยืนค้ำผู้เฒ่าผู้แก่ จะประทับลงรับสั่งกับราษฎรเสมอมา แม้จะเป็นตอนเที่ยง แดดร้อน ซึ่งข้าพเจ้าก็เห็นพระราชจริยวัตรนี้ มาตั้งแต่ต้นรัชกาลแล้ว… “…ข้อสำคัญรับสั่งว่า ต้องเป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของราษฎร ให้เขามีความสนิทสนมพอที่จะเอ่ยปากเล่าความทุกข์ของเขาให้ฟังได้…”     สายใยความผูกพันของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชกับราษฎรนั้น […]

10 คำสอนของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 ในการดำเนินชีวิต ที่ควรยึดเป็นแบบอย่าง

วันนี้ Health&Cuisine ขอนำเสนอ คำสอนของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 เพื่อเป็นหลักในการสร้างความสุขในการดำเนินชีวิต ซึ่งนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตได้จริงที่ควรยึดถือ

หวนรำลึกพระราชดำรัสของพ่อหลวง รัชกาลที่ 9 พระมหากษัตริย์นักพัฒนา

พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (รัชกาลที่ 9) แห่งแผ่นดิน พระมหากษัตริย์นักพัฒนา จากวันนั้นจนถึงวันนี้

ฝนหลวง หยาดน้ำพระราชหฤทัยจากฟ้าสู่ผืนดิน

ฝนหลวง ทฤษฎีการพัฒนาทรัพยากรแหล่งน้ำในบรรยากาศ โครงการพระราชดำริที่เกิดขึ้น จากทรงมุ่งมั่นจะแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและความยากจนของประชาชนเกิดจากความแห้งแล้ง

ด้วยรักและคิดถึงพ่อ

ภาพจากนิตยสารเฮลท์แอนด์ควิซีนฉบับแห่งความทรงจำ พฤศจิกายน 2559 ทีมงานได้เลือกภาพในหลวงรัชกาลที่9 ในวิถีชีวิตการกินอยู่ของประชาชน

บันทึกเรื่องราวของ “ในหลวงรัชกาลที่9” กับต้นกาแฟพลิกฟื้นผืนดินไทย

เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ทรงเสด็จไปเยี่ยมราษฎรชาวไทยภูเขาทางภาคเหนือของประเทศไทยและเสด็จพระราชดำเนินไปยังหมู่บ้านชาวม้ง

keyboard_arrow_up